ฤาเป็นหายนะ ‘ปตท.’

“บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” (NOC) ที่ สนช.ลักไก่บรรจุในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และกำลังจะเข้าในที่ประชุม สนช.เพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 กำลังสร้างความ “หายนะ” ให้กับกิจการพลังงานไทย


ลูบคมตลาดทุน : ธนะชัย ณ นคร

 

บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” (NOC) ที่ สนช.ลักไก่บรรจุในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ  และกำลังจะเข้าในที่ประชุม สนช.เพื่อพิจารณาในวาระ 2 และ 3 กำลังสร้างความ “หายนะ” ให้กับกิจการพลังงานไทย

และรวมถึง ปตท. (PTT)

วันนี้จะสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปของ ปตท.อีกครั้ง

1.แผนการแปรรูปของ ปตท. จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เกิดขึ้นในสมัย “ชวน หลีกภัย” เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปี 2540–(ต้นปี) 2544

และมาประสบความสำเร็จเมื่อ (ปลายปี) 2554 ช่วง “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรี

2.การแปรรูป ปตท. ได้ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542

เป้าหมายก็เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน

ไม่ใช่ให้รัฐบาลเป็นเจ้าของ 100%

3.ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของของ ปตท. คือกระทรวงการคลัง ประมาณ 70% และที่เหลืออีก 30% ถือหุ้นโดยนักลงทุนทั้งประเภทสถาบัน และรายย่อย

ประชาชนคนไทยโดยทั่วๆ ไป ก็สามารถซื้อหุ้น ปตท. หรือ PTT ได้

ไม่จำเป็นต้องมีเงินถุง เงินถัง

และ ปตท.ไม่ถึงกับถือว่าเป็น “เอกชน”

เพราะอย่างที่บอกไว้ว่า กระทรวงการคลัง (ยัง) ถือหุ้นถึง 70%

4.การแปรรูปของ ปตท.เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และแข่งขันกับบริษัทด้านพลังงานข้ามชาติ รวมถึงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ต้องแข่งขันกับเอกชนรายอื่นๆ

ในอุตสาหกรรมด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

หาก ปตท. ไม่มีบริษัทลูกคือ PTTEP

และหาก PTTEP ไม่ได้มีบริษัทแม่ที่ผ่านการแปรรูป

ณ วันนี้ PTTEP ก็คงไม่ใช่เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมข้ามชาติ เป็นน้องๆ ยักษ์ระดับโลกและก็คงไปแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ไม่ได้

5.การแปรรูปของ ปตท. ไม่ใช่เป็นสาเหตุทำให้ราคาน้ำมัน (ขายปลีก) แพงขึ้น

ประเด็นเหล่านี้พวกกลุ่มเอ็นจีโอ และต่อต้าน ปตท.ชอบมั่วข้อมูล

หรือพยายามให้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อประชาชน เพื่อหาแนวร่วมมาอยู่กับฝั่งตนให้มากที่สุด

นอกจากนี้ การแปรรูปของปตท. ก็ทำให้ ปตท.ที่เคยเป็น “ลูกไล่” บริษัทน้ำมันข้ามชาติ พลิกขึ้นมาอยู่เหนือบริษัทระดับโลกเหล่านั้น

6.ปัจจุบัน “ปตท.” กับ (กลุ่ม) “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน

7.หาก ณ วันนี้ ปตท ยังไม่แปรรูป ก็คงมีสภาพไม่แตกต่างไปจาก ขสมก. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่เป็นองค์กรเน่าๆ อยู่ในปัจจุบัน

8.การแปรรูปของ ปตท. ทำให้มีบุคลากรคุณภาพสูง มีวิสัยทัศน์เข้ามาร่วมงานจำนวนมาก

และผู้บริหารระดับสูงหลายๆ คน เป็นบุคคลที่มีคุณภาพชั้นยอดด้านการบริหารระดับต้นๆ ของประเทศไทย

9.ปัจจุบัน ปตท. อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงพลังงาน

10.เมื่อมีกระทรวงพลังงานอยู่แล้ว และทำงานได้มีประสิทธิภาพ ทำให้กิจการด้านพลังงานของประเทศไทย ไม่เป็นรองบริษัทข้ามชาติ

และเพราะเหตุใด จึงต้องมี “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” ขึ้นมาทำงานทับซ้อนกับกระทรวงพลังงาน

11.ทราบหรือไม่ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ที่เคยถูกกลุ่มบุคคล (ที่ตามจองเวร ปตท.) เบรกแปรรูป ทำให้ ในวันนี้ ส่งผลต่อ กฟผ.อย่างไร

ทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบัน บริษัทผลิตไฟฟ้าของเอกชนรายต่างๆ นั้น

พวกเขามีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันมากกว่าของ กฟผ.แล้วนะ

หากวันนั้น กฟผ.แปรรูปได้ ก็จะเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าที่มีความเข้มแข็ง และแข่งขันกับเอกชนได้

กฟผ.อาจกำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย หากไม่มีการปรับ หรือแปรรูป หรือทำอะไร หรือทำให้ตนเองเกิดความคล่องตัวมากขึ้น

12.ปตท.เมื่อเข้าตลาดหุ้น จัดเป็นหุ้นที่มีธรรมาภิบาลสูงมาก และกลไกของตลาดหุ้นทั้งจากสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างต้องคอยตรวจสอบการทำงานอย่างเข้มงวดอยู่ตลอด

13.หุ้น ปตท. หรือ PTT มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือมาร์เก็ตแคป มากสุด คือ 1.16 ล้านล้านบาท

14.เป้าหมายของ “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” ตามโรดแมป จะต้องการกลุ่มเอ็นจีโอเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดด้วย

15.เป้าหมายของ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ การดึง ปตท.กลับไปสู่สถานะ การปิโตรเลียมฯ

และเมื่อถึงเวลานั้น

อยากให้ทุกคนนึกถึงภาพหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเน่าๆ ที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้

ปตท. กำลังดิ่งลงไปสู่หายนะแบบนั้น

Back to top button