เงื้อมเงาสงครามใหญ่

ดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET วานนี้ เปิดแต่เช้าด้วยการรีบาวด์ทางเทคนิคกลบคืน หลังจากร่วงแรงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่เมื่อพยายามยืนปิดตลดาเช้าเหนือ 1,580 จุดไม่สำเร็จ เพราะแรงซื้อยังบางเบาเกินไป ก็มีแรงขายกลับออกมาในภาคบ่ายเพื่อทดสอบความแข้งแกร่งของแรงซื้อ ผลลัพธ์คือ ปรากฏการณ์เปิดบวกปิดลบ ก็เกิดขึ้น สะท้อนว่า การย่ำบานในช่วงเทศกาลประกาศงบไตรมาสแรกจะยังดำเนินต่อไปจนกว่าเทศกาลจะใกล้จบลง


พลวัต ปี 2017 : วิษณุ โชลิตกุล

 

ดัชนีตลาดหุ้นไทย หรือ SET วานนี้ เปิดแต่เช้าด้วยการรีบาวด์ทางเทคนิคกลบคืน หลังจากร่วงแรงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่เมื่อพยายามยืนปิดตลดาเช้าเหนือ 1,580 จุดไม่สำเร็จ เพราะแรงซื้อยังบางเบาเกินไป ก็มีแรงขายกลับออกมาในภาคบ่ายเพื่อทดสอบความแข้งแกร่งของแรงซื้อ ผลลัพธ์คือ ปรากฏการณ์เปิดบวกปิดลบ ก็เกิดขึ้น สะท้อนว่า การย่ำบานในช่วงเทศกาลประกาศงบไตรมาสแรกจะยังดำเนินต่อไปจนกว่าเทศกาลจะใกล้จบลง

มูลค่าซื้อขายที่เบาบางแค่ 3.1 มื่นล้านบาท นอกจากไม่เพียงพอต่อการดันดัชนีขึ้นไปสูงขึ้นเหนือแนวต้านใหม่ๆ แล้ว ยังมีคำอธิบายต่อท้ายที่น่าสมเพชจากบรรดานักวิเคราะห์ที่ทำตัวเป็นผู้ช่ำชองทางทหารระดับโลกอีกด้วยว่า ความตึงเครียดระว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือ จะนำไปสู่สงครามใหญ่ ถึงขั้นแปรเป็นสงครามโลกครั้งที่สามได้

คำอธิบายแบบ “ขวัญอ่อน” ดังกล่าว แม้จะไร้เดียงสา แต่ก็ดูมีน้ำหนักพอสมควร เพราะว่าบ่ายวานนี้ รมช.ต่างประเทศเกาหลีเหนือ กล่าวว่า เกาหลีเหนือจะยังคงทำการทดสอบขีปนาวุธ ถึงแม้ถูกประณามจากนานาชาติ และทำให้มีการท้าทายสหรัฐขึ้น โดยจะทำเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ให้ระวังวันที่ 25 เมษายนนี้ ที่จะมีการทดสอบยิงขีปนาวุธในโอกาสวันครบรอบ 85 ปีของการก่อตั้งกองทัพประชาชนเกาหลี

แถมยังสำทับแบบ “แมงป่อง”อีกว่า เกาหลีเหนือพร้อมจะทำสงครามอย่างเต็มรูปแบบ หากสหรัฐใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีเกาหลีเหนือ ซึ่งจะตอบโต้ด้วยการชิงโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์

ความกังวลต่ออนาคตในเรื่องของสงครามขนาดใหญ่ดูเหมือนจะเป็นเครื่องหมายคามมากพอสมควรว่าเข้าข่ายกระต่ายตื่นตูมหรือไม่ เพราะเค้าลางที่จะทำไปสู่สงครามใหญ่ของโลกนั้น ไม่ใช่จู่ๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ และไม่ควรจะเกิดขึ้นจากเรื่องของเกาหลีเหนือออย่างเดียว แต่เกิดจากความขัดแย้งในระบบโลกที่ไปต่อไม่ได้ด้วยวี “ปกติ” ทางการทูตหรืออื่นๆ  เท่านั้น

ในประวัติศาสตร์ของสงครามใหญ่ระดับโลกตามภูมิภาคสำคัญนั้น ตัวแปรหลักของสงครามที่นำไปสู่การ “บ่มเพาะ” ให้มีเงื่อนไขของการเตรียมความพร้อมละการลงมือทำสงครามต่อกัน มาจากมาอำนาจที่ปะทะกันจากสงครามตัวแทนและแพร่ขยายเป็นการปะทะกันโดยตรง

นับแต่ยุคของอเล็กวานเดอร์มหาราช จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามใหญ่ไม่ได้ปุบปับเกิดขึ้นมาด้วยเพียงแค่เจตจำนวนของมหาบุรุษนักรบ แต่ต้องใช้เวลาในการบ่มรหือสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งที่ไม่สามารถบรรเทาด้วยวิถีปกติได้ ซึ่งต้องการเวลาบ่มเพาะนานอยู่หลายปี กว่าจะเกิดจริง

ปัจจุบันความเสียหายของอาวุธที่ประดิษฐ์ขึ้นมาทำลายล้างกันและกันนั้น สร้างความรุนแรงกว่าในอดีตอย่างมาก ประเทศมหาอำนาจที่คิดจะเข้าสู่สงคราม ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังยิ่งขึ้น ลำพังปฏิบัติการทางทหารชนิด”สำแดงฤทธิ์เดช” ของสหรัฐฯภายใต้ยุคโดนัลด์ ทรัมป์ที่ซีเรีย อัฟกานิสถาน และคาบสมุทรเกาหลี ถือว่าเป็นการ “เขียนเสือให้วัวกลัว” ตามธรรมดาของชาติมหาอำนาจที่หลวังว่าจะหาทางหยุดยั้งการเสื่อมถอยของอำนาจและความมั่งคงของตน เพ่อให้มหาอำนาจอื่นๆ ที่แข้งแกร่งขึ้นระวังมากขึ้นเท่านั้น

เป้าหมายหลักของสหรัฐฯ  ไม่ใช่วีรเย เกาหลีเหนือ หรือ อัฟกานิสถานแน่นอน แต่มุ่งไปยังจีน รัสเซีย อิหร่าน หรือ อินเดีย เพื่อให้ชาติเหล่านั้นเริ่มระวังในการท้ายทายต่อสหรัฐฯ มากขึ้น และยมรับบานะอันยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ต่อไป

แล้วก็อย่างที่ทราบกันดี เจตนารมณ์ และผลลัพธ์ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นสอดรับกันเสมอไป การสร้างแรงกดดันให้รัสเซีย-จีน-อิหร่าน ยอมถอยร่น และอินเดียไม่กล้าหือกับชาติอย่างสหรัฐฯ ยังไม่ถือว่าเป็นการนำไปสู่สงคราม แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจจะทำให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบ่มเพาะสถานการณ์ขึ้นมาในอนาคต แต่ก็คงไม่ง่ายที่จะมีทางลัดไปสู่สงคราม

คำแถลงของหัวหน้าคณะที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ว่า ประธานาธิบดีทรัมป์จะยังไม่พิจารณาทางเลือกในการใช้ปฏิบัติการทางทหารตอบโต้เกาหลีเหนือในขณะนี้ แต่กำลังพิจารณาทางเลือกอื่นเช่น มาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือที่เข้มข้นขึ้น (เช่น การห้ามจำหน่ายน้ำมันแก่เกาหลีเหนือ,  การระงับสายการบินเกาหลีเหนือไปยังประเทศต่างๆ, การตรวจจับเรือสินค้าเกาหลีเหนือ และการลงโทษธนาคารของจีนที่ทำธุรกิจกับเกาหลีเหนือ) สะท้อนว่าสหรัฐฯ เองก็ไม่พร้อมสำหรับการทำสงครามใหญ่

เพียงแต่ความชัดเจนของสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ระบบโลกเริ่มทำงานไม่ได้ผลดีเหมือนเดิมในช่วงหลายทศวรรษมานี้ ทำให้การตัดสินใจในบรรยากาศของการลงทุนที่ชวนหวั่นไหวนี้ จำต้องพิจารณาเป็นวันๆ ไป ไม่สามารถมองไปยาวไกลได้

เหตุผลคือ แม้สงครามใหญ่ยังอีกยาวไกล แต่สงครามย่อยทุกเมื่อเชื่อวัน ก็ยังคงรบกวนไปต่อเนื่องไม่เคยขาดเช่นกัน

Back to top button