3 หุ้นการบินตัวท็อปมาเหนือเมฆธุรกิจติดลมบน สยายปีกรับไฮซีซั่น

ถึงเวลาทองของหุ้นกลุ่มการบินหลังไตรมาส 3/59 เข้าช่วงhigh season ด้านยอดนักท่องเที่ยวยังเติบโตต่อเนื่อง คาดหนุนผลประกอบการไตรมาส 3/59 แข็งแกร่ง!


ถึงเวลาทองของหุ้นกลุ่มการบินหลังไตรมาส 3/59 เข้าช่วงhigh season ด้านยอดนักท่องเที่ยวยังเติบโตต่อเนื่อง คาดหนุนผลประกอบการไตรมาส 3/59 แข็งแกร่ง!

สำหรับหุ้นที่เป็น Top Picks ของกลุ่มการบินที่นักวิเคราะห์คัดเลือกมีดังนี้ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA, บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT

โดยนักวิเคราะห์ บล.เออีซี ระบุในบทวิเคราะห์ (30 ส.ค.) แนะนำให้เลือกเล่นหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทที่แข็งแรงทั้ง Business Model และยังฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ โดยมองว่าการท่องเที่ยวยังเป็นจุดแข็งหลักของไทย เลือก BA, AAV, AOT เป็น Top Picks

ขณะที่นักวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (30 ส.ค.) ว่าในไตรมาส 3/59 เป็นช่วง high season ของกลุ่มสายการบิน โดยเฉพาะเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวในฝั่งเกาะสมุย ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ BA (ราคาเป้าหมาย 30.70 บาท) ซึ่งมีฐานรายได้จากเส้นทางบินไปสู่เกาะสมุยสูงที่สุด

 

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) แนะนำ “ซื้อ” BA ราคาเป้าหมาย 28 บาท/หุ้น เริ่มเปิดบินเส้นทางดานังตั้งแต่ พ.ค.59 ในปัจจุบัน load factor อยู่ที่ 77% เพิ่มขึ้นจาก 2-3 เดือนก่อนที่ประมาณ  73% สะท้อนอุปสงค์ผู้โดยสารแข็งแกร่งมาก ดังนั้น บริษัทจึงมีแผนเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินเป็น 7 เที่ยวต่อสัปดาห์ภายในเดือน มี.ค.60 จาก 4 เที่ยวต่อสัปดาห์ในปัจจุบัน เชื่อเส้นทางนี้จะช่วยสร้างศักยภาพการเติบโตใน 2-3 ปีข้างหน้า

และแนะนำ “ซื้อ”  AAV ราคาเป้าหมาย 8.38 บาท/หุ้น หลังกำไรสุทธิโตถึง 101% จากปีก่อนในครึ่งปีแรกของปี 59 ด้านผลประกอบการไตรมาส 3/59 ยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อมองไปข้างหน้า คาดว่ากำไรของ AAV ในไตรมาส 3/59 ก็น่าจะยังดีขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนเนื่องจาก load factor ในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 86% (เพิ่มจาก 83% ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว)

ขณะที่ load factor ในช่วง 13 วันแรกของเดือนสิงหาคมก็แข็งแกร่งขึ้นอีกอยู่ที่ 87% แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าค่าตั๋วโดยสารเฉลี่ยในไตรมาส 3/59 จะทรงตัวจากปีก่อนดังนั้นจึงประเมินอย่างคร่าวๆ ว่า AAV น่าจะยังมีกำไรในไตรมาส 3/59 ซึ่งเป็นช่วงที่การท่องเที่ยวของไทยชะลอตัว

ทั้งนี้ถึงแม้ว่าในขณะนี้กลุ่ม King Power จะกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ AAV แล้ว แต่ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของนโยบายการบริษัทและกลยุทธ์ด้านการตลาดของ AAV แต่อย่างไรก็ตามยังคาดว่าจะเห็นความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง AAV และกลุ่ม King Power ในปีหน้า โดยส่วนที่น่าจะพัฒนาให้เป็นประโยชน์กับทั้งคู่ได้น่าจะมาจากรายได้ ancillary income ที่เพิ่มขึ้น (จาก 17% ของรายได้รวมในปัจจุบัน) จากความแข็งแกร่งของ King Power ในธุรกิจการขายสินค้าปลอดอากรจากความสามรถในการแข่งขันในด้านต้นทุน

ขณะที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 59-60 เพิ่มขึ้น 34% และ 30% เป็น 2.22 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 106% จากปีก่อน) และ 2.57 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น 15.6% จากปีก่อน) ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงอัตรากำไรขั้นต้นของ AAV ซึ่งออกมาดีเกินคาดในครึ่งปีแรกของปี 59และแนวโน้มกำไรที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังได้ขยับไปใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 60 ที่ 8.38 บาท (อิงจาก P/BV ที่ 1.7 เท่า) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายเส้นทางบินใหม่อย่างต่อเนื่อง (จีน, อินเดีย, อินโดจีน) จากกำไรมีคุณภาพดีขึ้นในช่วงสองสามปีหลังมานี้ และส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 30% (จาก 25% ในอดีต) ขณะที่ synergy ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับกลุ่ม King Power group และ v) ROE เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 7% (จากแค่ 1-5% ในอดีต) คิดว่าราคาหุ้น AAV น่าจะไปได้ดีเนื่องจากธุรกิจสายการบินกำลังเข้าสู่ช่วง high season ในอีกสองสามเดือนข้างหน้า

 

บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ (30 ส.ค.) แนะนำ “ซื้อ” AOT ราคาเป้าหมาย 490 บาท/หุ้น โดยมองว่าราคาหุ้น AOT ที่ปรับตัวด้อยสะท้อนในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนความกังวลจากผลกระทบของเหตุการณ์การระเบิดในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นเพียงระยะสั้นไปแล้ว จากสถิติจราจรทางอากาศในอดีตพบว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติในช่วง 1-3 เดือนหลังจากเหตุการณ์ไม่ปกติ

อย่างไรก็ตามช่วงโลว์ซีซั่นของการท่องเที่ยวได้ผ่านไปแล้ว และช่วงไฮซีซั่นที่กำลังจะมา รวมทั้งอัตราการเติบโตของกำไรหลักแข็งแกร่งที่ 15 % ในปี 2560 ซึ่งสูงกว่าตลาดโดยรวมซึ่งอยู่ที่ 10%จากปีก่อนหนุนโดยสถิติการจราจรทางอากาศที่ยังคงแข็งแกร่งและรายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นให้ปรับตัวสูงขึ้น

นอกจากนี้ AOT ยังวางแผนที่จะเปิดประมูลสำหรับงานก่อสร้างระบบขนส่งผู้โดยสาร (APM มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท) ภายในสิ้นปี 2559 โดยโครงการส่วนที่เหลืออีก 3 โครงการ ได้แก่ 1) อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น 2- 4), 2)ส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสาร, อาคารจอดรถ, อาคารสำนักงานของสายการบิน และ 3)  ระบบลำเลียงสัมภาระผู้โดยสาร และระบบตรวจวัตถุระเบิด ที่อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลในปี 2560 หากโครงการดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์จะทำให้ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารที่สนามบินสุวรรณภูมิเพิ่มขึ้น 33 % จาก 45 ล้านคน มาอยู่ที่ 60 ล้านคนต่อปี

ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนก.ค. โดยอ้างอิงจากตัวเลขของกรมการท่องเที่ยว แสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 2.9 ล้านคน ในเดือน ก.ค. โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินเข้าประเทศไทยระหว่างช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. 2559 อยู่ที่ 19.5ล้านคน เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน

อย่างไรก็ตาม AOT รายงานอัตราการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารที่แข็งแกร่งกว่า โดยอัตราการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารสูงถึง 13% จากปีก่อนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. หนุนโดยอุปสงค์การเดินทางทางอากาศในประเทศที่แข็งแกร่ง โดยจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศของ AOT เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกัน

Back to top button