SET อ่อนตัว เลือกเก็บ 17 หุ้นเทรนด์ดี

นักวิเคราะห์มองดัชนีหุ้นไทยวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงจากแรงกดดันของหุ้นกลุ่มพลังงานต่อเนื่องหลังราคาน้ำมันดิบร่วงหลุด 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นปัจจัยหนุนกระแสเงินทุนไหลออกต่อไป โดยความไม่แน่นอนส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงก่อนรู้ผลในสัปดาห์หน้า การลงทุนเน้นกลุ่มที่ได้ผลดีจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น แนวโน้มกำไรดี และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ รายงาน เช้านี้ ณ เวลา 9.22 น. ค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.33 บาทต่อเหรียญ ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสลับอยู่ในแดนบวกและลบ นักวิเคราะห์มองดัชนีหุ้นไทยวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงจากแรงกดดันของหุ้นกลุ่มพลังงานต่อเนื่องหลังราคาน้ำมันดิบร่วงหลุด 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นปัจจัยหนุนกระแสเงินทุนไหลออกต่อไป โดยความไม่แน่นอนส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงก่อนรู้ผลในสัปดาห์หน้า การลงทุนเน้นกลุ่มที่ได้ผลดีจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น แนวโน้มกำไรดี และมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว

หุ้นเด่นเลือก SCC-PTTGC-KBANK-KTB-TMB-KCE-HANA-CPF-GFPT-PSL-TTA-EPG-TASCO-BLA-KKP-SPRC และ GFPT

 

บล.แอพเพิล เวลธ์ ระบุในบทวิเคราะห์ (10 มี.ค.) ภาวะการซื้อขายวานนี้ถูกแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี หลังราคาน้ำมัน WTI ปรับลดลงสู่ระดับ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยเย็นนี้ยังต้องติดตามรายงานจำนวนแท่นขุดเจาะสหรัฐจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหรือไม่ ขณะที่ทิศทางค่าเงินบาทเข้านี้ยังอ่อนค่าอยู่ที่ระดับ 35.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

กลยุทธ์การลงทุน ประเมินดัชนี SET แกว่งตัวในกรอบแนวรับ 1,530 จุด แนวต้าน 1,560 จุด เพื่อรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐในการประชุมวันที่ 15 มี.ค. นี้ แนะนำซื้อ GFPT ( Consensus 17.40 บาท) คาดได้ปัจจัยบวกเกาหลีใต้ห้ามนำเข้าเนื้อไก่และไข่จากสหรัฐจากปัญหาไข้หวัดนก ส่งผลบวกต่อการส่งออกไก่ไทย

 

บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ (10 มี.ค.) ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลงต่อ -1.7% จากสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานต่อเนื่องวันนี้ ขณะที่แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย Fed ในการประชุมวันที่ 15 มี.ค.นี้ เป็นปัจจัยหนุนกระแสเงินทุนไหลออกต่อไป ประเมินกรอบที่ 1,542-1,556 จุด

การ “ปรับพอร์ต” รับดอกเบี้ยสหรัฐฯ ปรับขึ้นเร็วยังดำเนินต่อไป และเป็นปัจจัยกดดันภาพตลาดโดยรวม แต่ยังสามารถ “Selective” ได้ ดังนี้

1) “ซื้อ” กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ : ได้ผลดีจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นอย่าง KBANK KTB (นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นไม่มาก ทำให้ได้รับผลกระทบจากการปรับพอร์ตน้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ และคาดปันผล 4.5% และ TMB ขณะที่ธนาคารขนาดกลางที่ม และ 2) “ซื้อ” กลุ่มหุ้นกำไรไตรมาส 1/17 แข็งแกร่ง อย่าง SCC และ PTTGC ได้รับผลดีจาก spread ปิโตรฯ อย่าง LDPE LLDPE Butadiene สูง

 

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (10 มี.ค.) ว่า ปัจจัยบวกใหม่ไม่มีแต่ปัจจัยลบเก่ายังคงอยู่ทำให้ SET ยังมีโอกาสลดลง โดยปัจจัยลบที่กดดันตลาด คือ 1) ราคาน้ำมันดิบร่วงหลุด 50$/bbl เนื่องจากตลาดยังกังวลต่อภาวะ Over Supply เป็นลบต่อแนวโน้มผลประกอบการและ Sentiment การลงทุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน อาทิ PTT และ PTTEP 2) คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 15 มี.ค. และการเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ยังมีความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนยังชะลอการลงทุนและลดความเสี่ยงก่อนจะรู้ผลจริงในสัปดาห์หน้า

และ 3)Bond yield ปรับขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่า fundflow ต่างชาติยังไหลออก กดดันหุ้นกลุ่ม Big cap อื่นๆ อาทิ สื่อสาร ธนาคาร ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในระยะนี้จึงเน้น Selective Buy หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ 1)กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า คือ อิเล็กทรอนิกส์ (KCE HANA) และกลุ่มอาหาร (CPF GFPT), 2)กลุ่มเดินเรือ (PSL TTA) ดัชนีค่าระวางเรือ BDI เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 19 จุด ปิดที่ 1,064 จุด (+1.82%), 3)หุ้นที่ได้ผลบวกจากราคาน้ำมันดิบลดลง อาทิ EPG TASCO 4) BLA รับผลบวกอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มสูงขึ้น และ 5)หุ้นที่จ่ายปันผลสูง (KKP SPRC)

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : Selective Buy หุ้นเก็งกำไรระยะสั้น : EPG (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท) ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าและราคาน้ำมันดิบปรับลงหนุนความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น, TASCO (ซื้อ/เป้า Consensus 30.60 บาท) รับผลบวกราคาน้ำมันดิบลดลงแรง และคาดผลประกอบการไตรมาส 1/17 เติบโตต่อเนื่องรับอานิสงส์ยอดใช้ยางมะตอยเพิ่มขึ้นจากเหตุน้ำท่วมภาคใต้ ขณะที่ราคายางมะตอยในตลาดโลกเริ่มฟื้นตัวจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอินโดฯและจีน

 

Back to top button