6 โบรกฯดังคัด! 27 หุ้นเด่นเป้าทำ Window Dressing

เข้าสู่โค้งสุดท้ายไตรมาส 1/60 เชื่อว่าปรากฏการณ์ window dressing เป็นอีกเหตุการณ์นักลงทุนเฝ้าจับตาว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และรวมไปถึงหุ้นที่มีแนวโน้มถูกดันราคาก่อนปิดงบฯไตรมาส 1/60 ก็เป็นกลุ่มที่น่าจับตาด้วยเช่นกัน


เข้าสู่โค้งสุดท้ายไตรมาส 1/60 เชื่อว่าปรากฏการณ์ window dressing เป็นอีกเหตุการณ์นักลงทุนเฝ้าจับตาว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และรวมไปถึงหุ้นที่มีแนวโน้มถูกดันราคาก่อนปิดงบฯไตรมาส 1/60 ก็เป็นกลุ่มที่น่าจับตาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศดังกล่าว “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงทำการรวบรวมข้อมูลหุ้นที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายของการทำ window dressing มานำเสนอ โดยครั้งนี้นำข้อมูลมาจากบทวิเคราะห์ของ 6 โบรกเกอร์ชั้นนำของไทย

โดยหุ้นที่นักวิเคราะห์คัดเลือกให้เป็นเป้าหมายในการทำ window dressing  ครั้งนี้มีทั้งหมด 27 ตัว คือ BANPU, CPN, GPSC, KTC, MC, S, SC, SPALI, TPIPL, SCB, BBL, BJC, ROBINS, CPALL, CPF, TU, HANA, DELTA, CBG, CK, KCE, CENTEL, BDMS, MINT, THAI, UNIQ, STEC และ BCH โดยในจำนวนดังกล่าวคัดออกมาจากบทวิเคราะห์โบรกเกอร์ชั้นนำ 6 แห่งได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

 

บล.ซีไอเอ็มบี  (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลยุทธ์ สำหรับหุ้นที่เราแนะนำไปก่อนหน้านี้ว่ามีแนวโน้มที่อาจถูกทำราคาปิดประจางวดไตรมาส 1/60 หรือ window dressing ซึ่งเป็นหุ้นใน SET50 ที่มีราคาปรับลดลงแรงในระหว่างไตรมาสแรกอย่าง CBG (-23%) CK (-13%) KCE (-13%) CENTEL (-11%) และ BDMS (-9%) โดยยังเชื่อว่าในสัปดาห์ที่เหลือหุ้นทั้ง 5 บริษัทซึ่งเป็นหุ้นพื้นฐานดีที่เราแนะนำลงทุนในระยะยาวอยู่แล้วยังน่าจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ต่ออีก โดยให้ราคาเป้าหมาย CBG ที่ 74 บาท, CK ที่ 34 บาท, KCE ที่ 117 บาท, CENTEL ที่ 49 บาทและ BDMS ที่ 23 บาท

 

บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า นักลงทุนต่างประเทศเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะยาวต่อเนื่อง สะท้อนภาพ Fund Flow ไหลเข้าที่เสถียรมากขึ้น ขณะที่ต่างชาติมีการ Rollover สถานะ Long ใน SET50 Futures ถือเป็น Sentiment บวกต่อการลงทุนใน SET กลยุทธ์จึงยังคงเลือกกลุ่ม Big Cap เป็นหลักทั้ง BBL KTB SCB PTT PTTEP นอกนั้นยังถือหุ้นที่มีโอกาสเกิด Window Dressing CPF MINT CPN CPALL และกลุ่มหุ้นเติบโต KCE TKN MEGA CHG SAWAD

 

บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลุ่มเป้าหมายการทำ Window Dressing : ธนาคาร (SCB, BBL), ค้าปลีก (BJC, ROBINS, CPALL), เกษตร (CPF, TU), ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (HANA, DELTA)           

 

บล.โกลเบล็ก ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลุ่มที่คาดว่าเป็นเป้าหมายการทำ Window dressing เนื่องจาก Underperform ตลาด ได้แก่ BJC,THAI,UNIQ,STEC และ BCH

 

บล.ทิสโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Trading Picks BANPU – ได้อานิสงส์จากราคาถ่านหินที่เริ่มฟื้นตัวตามราคาน้ำมันและเรามองเป็นหุ้นที่เข้าข่าย Window Dressing, คาดกำไรปีนี้ฟื้นตัวก้าวกระโดดแตะ 1.1 หมื่นลบ.ดีสุดในรอบ 5 ปี, เป้าพื้นฐาน 23 บาท  ส่วนหุ้นเข้าข่าย Window Dressing ชอบ BANPU, CPN, GPSC, KTC, MCS, SC, SPALI, TPIPL

 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า จากประเด็น Window Dressing ซึ่งเราเชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวจะช่วยประคองภาพ SET INDEX ต่อเนื่องในช่วง 2 วันทำการ(30-31มี.ค.)ของสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินทุนต่างชาติที่เริ่มชะลอการสะสมหุ้นไทย อาจทำให้แรงส่งในการไต่ระดับสู่ด่าน 1,585-1,590 จุด เป็นไปได้อย่างจำกัด

อีกทั้งปัจจัยการลงทุนทั้งในและต่างประเทศขาดความโดดเด่น เพียงแต่ความเสี่ยงด้านการเมืองในสหรัฐฯ และขั้นตอนการ Brexit เริ่มต้นนับ 1 แล้วตั้งแต่วันที่ 29 มี.ค. เชื่อว่าเม็ดเงินทุนบางส่วนที่กระจายความเสี่ยงสู่ตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทย หาจังหวะการลงทุนเพิ่มเติม เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยจำกัด Downside risk ของตลาดหุ้นไทย

กลยุทธ์การลงทุน “ถือพอร์ตที่สะสมมาก่อนหน้านี้ และเก็งกำไรหุ้นรายตัวที่ผลการดำเนินงานใน 1Q60 เติบโตเด่น” เป็นทางเลือก และรอขายทำกำไรบริเวณ 1,590 จุด +/-

โดยคาดว่าหุ้น BJC จะได้อานิสงค์จาก Window Dressing สิ้นสุดไตรมาส1/60 เนื่องจากเป็นหุ้นที่สถาบันในประเทศถือครองเป็นจำนวนมาก และ YTD หุ้น BJC -5.5% เคลื่อนไหว Underperform SET Index +2.1% และ SET COMMERCE -3.9%

คาดกำไรจากการดำเนินงานปกติไตรมารส1/60 จะเติบโตสูง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวเทียบไตรมาสก่อนหน้า จากภาคบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คาดว่าจะดีขึ้นเทียบไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากไตรมาส 4/59 BIGC มีการปรับกลยุทธ์และล้างสต็อกสินค้าจึงทำให้ GPM ของ BIGC ลดลงต่ำผิดปกติ

คงมุมมองเชิงบวกต่อการเติบโตของกำไรปี 2560 ที่คาดว่าจะเติบโตถึง +115%  เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 6,753 ล้านบาท จากการรวมงบ BIGC เต็มปี, การขยายกำลังการผลิตขวดแก้ว และ Synergy ด้านต้นทุน ส่งผลให้เกิดแรงผนึกและประหยัดต้นทุนด้าน Logistic, IT และการเงิน  ซื้อขายที่ระดับ PEG2560 เพียง 0.25 เท่า เทียบกับกลุ่มค้าปลีกที่ 1.6 เท่า ให้ BJC เป็น Top pick ของกลุ่มค้าปลีก

 

*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button