แบงก์ลดดอกเบี้ย

จู่ๆ เหมือนเตี๊ยมไว้ล่วงหน้า ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 3 ราย เริ่มต้นโดยธนาคารกรุงเพท ตามด้วยสิกรไทย และกรุงไทย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจSMEs ลงไล่เลี่ยกัน คือ ลดลง 0.25% เหลือ 7.12-7.125% ตอนบ่ายวานนี้ (มีธนาคารกรุงเพทที่เติมอัตราดอกเบี้ย MOR เข้าไปด้วย)


พลวัตปี 2017 : วิษณุ โชลิตกุล

จู่ๆ เหมือนเตี๊ยมไว้ล่วงหน้า ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ 3 ราย เริ่มต้นโดยธนาคารกรุงเพท ตามด้วยสิกรไทย และกรุงไทย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจSMEs ลงไล่เลี่ยกัน คือ ลดลง 0.25% เหลือ 7.12-7.125% ตอนบ่ายวานนี้ (มีธนาคารกรุงเพทที่เติมอัตราดอกเบี้ย MOR เข้าไปด้วย)

ถัดมาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลับจะน้อยหน้า รีบประกาศลดอัตราดอกเบี้ยทุกระดับทั้ง MOR MLR และ MRR ลงทั้งหมด ซึ่งเท่ากับบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งทำตามธนาคารไทยพาณิชย์ทั้งหมดโดยปริยาย ด้วยคำอธิบายที่ปรุงแต่งสวยหรูตามจารีตที่ซ้ำซากว่าเป็นการที่ธนาคารทำเพื่อช่วยลูกหนี้และช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งหาคนเชื่อยาก

การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งนี้ ไม่มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากควบคู่กันไป นับว่าเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง และไม่ได้เป็นคำชี้แนะหรือส่งสัญญาณตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

เพื่อความข้าใจลงลึก ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่สำคัญๆ ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน มีสัดส่วน4% ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ
  • MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือมีลักษณะเหมือนสินเชื่อบัตรกดเงินสด ที่สามารถกดเงินเกินออกไปใช้ก่อน แล้วผ่อนชำระคืนภายหลัง
  • MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นดอกเบี้ยที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันเป็นที่สุดเลยทีเดียว

โดยข้อเท็จจริง การปรับลดดอกเบี้ยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ MLR จะไม่กระทบกับผลกำไรของธนาคารพาณิชย์มากนัก แต่ถ้าเป็น MLR การปรับลดลงเพียงแค่ 0.25% ก็มีผลทำให้กำไรของธนาคารหดหายไป 5-7% ส่งผลกระทบต่อกำไรมหาศาลเลยทีเดียว

ครั้งนี้ การปรับลดดอกเบี้ยเงิน ถือว่าสร้างความประหลาดใจและคาดไม่ถึงพอสมควร บางคนรีบเหมาสรุปเอาว่างานนี้เกิดจากคำสั่งของ รมว.คลัง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ที่กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ว่าอยากให้ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าสินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อยที่ยังสูงกว่าลูกค้าสินเชื่อภาคองค์กรธุรกิจมากเกินไปลง ทั้งที่ความจริงแล้ว รมว.คลังไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเรื่องอัตราดอกเบี้ยธนาคาร

การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งนี้ ถือว่าเป็นความจำเป็น เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยกำลังเผชิญแรงกดดันหลายด้าน จากทางการ และจากปัญหาภายในธุรกิจเอง

ตัวแปรแรก เกิดกระแสข่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมจะประกาศเกณฑ์เพื่อควบคุมการก่อหนี้ภาคครัวเรือน ผ่านการจำกัดจำนวนบัตรเครดิตและเพดานวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล โดยอาจปรับเพดานวงเงินสินเชื่อและวงเงินบัตรเครดิตลงเหลือ 3 เท่าของฐานรายได้ จากเดิมในปัจจุบัน 5 เท่า และจำกัดจำนวนบัตรเครดิตของผู้มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 3 หมื่นบาทได้ไม่เกิน 3 ใบ (จากปัจจุบันที่มีจำนวนบัตรเครดิตได้ไม่จำกัด)

ปัญหา NPL ทยอยย้อนกลับ อันเป็นผลพวงของการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นแบบ L-shape ผสมเข้ากับคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ด้อยลง จากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาหลังการรัฐประหาร 2557 ทำให้สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจากทั้งสินเชื่อธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และ SME ในบางอุตสาหกรรม และสินเชื่อธุรกิจ SME ในภาคพาณิชย์

หลังปี 2014 เป็นต้นมา แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่อยากลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงเพื่อช่วยเหลือลูกค้า SME แต่ใช้การปรับโครงสร้างหนี้/การเลื่อนการชำระหนี้แทน เพื่อให้ NIM ของอุตสาหกรรมแบงก์โดยรวมเป็นความหวังในการสนับสนุนมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ V-shape แต่สถานการณ์ที่ไม่เอื้อ ทำให้มีทางเลือกอื่นน้อยลง

เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2560 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 51.1 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) ทรงตัวอยู่ที่ 2.6% ขณะที่ระบบธนาคารพาณิชย์มีค่าใช้จ่ายจากการกันสำรองเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ 17.8% ซึ่งเป็นแรงกดดันที่สำคัญมากขึ้น

การปรับลดดอกเบี้ยเงินก็ขาเดียวของธนาคารพาณิชย์ที่จะมีผลตั้งแต่วันนี้ไป ถือว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับหุ้นกลุ่มแบงก์โดยตรง เพราะนักวิเคราะห์และนักลงทุนดูจะแตกตื่นนะนำให้ขายกันมากขึ้นเพราะคาดว่ากำไรจะลดลง

ผลข้างเคียงที่ไม่มีใครอยากพูดถึงกันคือ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงในระบบธนาคารไทย จะทำให้ฟันด์โฟลว์ต่างชาติไหลออกมาขึ้นโดยปริยาย เพราะส่งสัญญาณชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยจะเป็นขาลงอีกยาวนานหลายเดือน

แรงกดดันนี้ จะส่งผลลบต่อดัชนี SET ของตลาดหุ้นไทยด้วยอย่างเลี่ยงไม่พ้น อย่างน้อยก็ในระยะไตรมาสสองนี้

Back to top button