KSAMเสนอขายกองทุนKFFAI6M9ประมาณการณ์ผลตอบแทน 2.45%

นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด หรือ KSAM เปิดเผยว่า บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M9 (KFFAI6M9) อายุประมาณ 6 เดือน มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เช่น เงินฝากธนาคาร China Construction Bank (สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง) สัดส่วนการลงทุน 12% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Akbank T.A.S. (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 22% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Isbank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23%


นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด หรือ KSAM เปิดเผยว่า บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M9 (KFFAI6M9) อายุประมาณ 6 เดือน มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เช่น เงินฝากธนาคาร China Construction Bank (สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง) สัดส่วนการลงทุน 12% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Akbank T.A.S. (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 22% ตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Isbank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 23%

ตราสารหนี้ EMTN ออกโดยธนาคาร Vakifbank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 22% และตราสารหนี้ GMTN ออกโดยธนาคาร Yapi Kredit bank (ตุรกี) สัดส่วนการลงทุน 22% ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติประมาณ 2.45% ต่อปี และหลังครบกำหนดอายุโครงการบริษัทจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงิน (KFCASH) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนต่อไป”

 

สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้โลกนั้น ราคาตราสารหนี้ภาครัฐของสหรัฐอเมริกาปรับขึ้นเนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาอ่อนแอ โดยอัตราผลตอบแทนปรับลดลงร้อยละ 0.02 – 0.15 โดยที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวลดลงมากกว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น ทางด้านสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ประกาศลดอันดับเครดิตของกรีซลงจาก B- สู่ CCC+ และให้มุมมอง “เชิงลบ” เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าในการเจรจาปัญหาหนี้สินระหว่างรัฐบาลกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ ซึ่งหากรัฐบาลกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปฏิรูปก่อนสิ้นเดือน มิ.ย. กรีซก็อาจจะผิดนัดชำระหนี้ได้

 

ทางด้านไอเอ็มเอฟคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.7% ในปี 2558 โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แต่ก็มีความเสี่ยงขาลงในระยะสั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่นโยบายการคลังและการเงินจะต้องช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่สภาพัฒน์คงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ที่ 3.5 – 4.5% พร้อมทั้งระบุว่า เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 3% โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุน

Back to top button