TRC เตรียมโซ้ยรายได้สร้าง”เหมืองโปแตช”ขั้นต่ำ1.5หมื่นลบ.ภายในต้นปี63!

TRC เตรียมโซ้ยรายได้ก่อสร้าง "เหมืองแร่โปแตช" ขั้นต่ำ 1.5 หมื่นลบ. ภายในต้นปี 63 โดยมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 6 แสนตัน/ปี


สืบเนื่องจากกรณีที่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรงการคลังเพื่อเพิ่มทางเลือกในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) APOT ที่มีแผนเพิ่มทุนในระยะที่ 2 ที่จะระดมทุนอีกประมาณ 18,000 ล้านบาท

โดยมีมติเห็นชอบให้บริษัทลูกรัฐวิสาหกิจเข้าถือหุ้น APOT แทนกระทรวงการคลัง เพื่อความล่องตัวและลดภาระทางการเงินของรัฐบาล

ทั้งนี้การที่ครม.มีมติเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้มีการวิเคราะห์ว่าจะส่งผลดีต่อ บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) TRC เนื่องจาก TRC เป็น 1 ในผู้ถือหุ้นของ  APOT และอยู่ระหว่างการรอเซ็นสัญญารับเหมาก่อสร้างโครงการเหมืองแร่โปแตช

ล่าสุด นายสมัย ลี้สกุล ประธานกรรมการบริหาร TRC และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ APOT เปิดเผยผ่านรายการ ข่าวหุ้นเจาะตลาด ออนเรดิโอ ทาง FM 98.5 MHz สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ ช่วงเวลา 9.30-11.00 น. ถึงกรณีดังกล่าว ว่า ปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นใน APOT จำนวน 20% ดังนั้นนิติบุคคลซึ่งเป็นบริษัทลูกของรัฐวิสหกิจจะเข้ามาถือหุ้นแทนกระทรงการคลังทั้งหมด ในสัดส่วน 20% และอยู่ในกลุ่มที่ธุรกิจใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นการต่อยอดและผนึกกำลังทางธุรกิจ

โดยเบื้องต้น งานก่อสร้างเหมือนแร่โปแตชแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่ง TRC ได้รับงานส่วนแรก คือ งานออกแบบ ดีไซน์เหมือง และส่วนที่ 2 คือ บริษัท เบลารุสคาลิ (BELARUSKALI ประเทศเบลารุส) ได้รับงานพัฒนาพื้นที่เหมืองใต้ดิน

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างเหมืองแร่โปแตช มีมูลค่ากว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 30,000 ล้านบาท ซึ่งมีระยะเวลาก่อสร้างจำนวน 3 ปี โดยบริษัทตั้งเป้ากำลังการผลิตไว้ที่ 1.235 ล้านตันต่อปี และในต้นปี 2563 บริษัทตั้งเป้าจะมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 6 แสนตันต่อปี

ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่าในต้นปี 2563 เหมืองแร่โปแตชจะมีการก่อสร้างแล้วไม่ต่ำกว่า 50% เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตข้างต้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่า TRC อาจมีการบันทึกหรือรับรู้รายได้ไม่ต่ำกว่า 50% ในปี 2563

นอกจากนี้ บริษัท เบลารุสคาลิ อยู่ระหว่างเจรจาหาบริษัทพาร์ตเนอร์ในประเทศไทยรายใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนาก่อสร้างเหมืองแร่โปแตช โดยเบื้องต้นมี บริษัท สหกลอีควิปเมนท์ (เอ็นจีเนียริ่ง) จำกัด มหาชน หรือ SQ เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

อนึ่ง SQ เป็นบริษัทรับเหมาขุดเจาะเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดของไทย ให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และโรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว

Back to top button