AAV ฉายซ้ำเกมเศรษฐี

กลางปีที่แล้ว ตอนที่กลุ่มคนในตระกูล ศรีวัฒนประภา เจ้าของกลุ่มคิง เพาเวอร์ ทุ่มเงินซื้อหุ้น จำนวน 1,931.59 ล้านหุ้น (39.82% ของทุนชำระของ AAV) จากมือของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ และครอบครัว ในราคาหุ้นละเฉลี่ย 4.20 บาท ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นราคาที่ต่ำกว่าบุ๊คแวลูที่อยู่ในระดับ 4.36 บาท ของ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

กลางปีที่แล้ว ตอนที่กลุ่มคนในตระกูล ศรีวัฒนประภา เจ้าของกลุ่มคิง เพาเวอร์ ทุ่มเงินซื้อหุ้น จำนวน 1,931.59 ล้านหุ้น (39.82% ของทุนชำระของ AAV) จากมือของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ และครอบครัว ในราคาหุ้นละเฉลี่ย 4.20 บาท ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นราคาที่ต่ำกว่าบุ๊คแวลูที่อยู่ในระดับ 4.36 บาท ของ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV

อีกทั้งราคาหุ้นที่ทำบิ๊กล็อตในครั้งนี้ยังต่ำกว่าราคาหุ้นในกระดานที่ปิดตลาดในระยะนั้น ที่ระดับ 6 บาท ถึงประมาณ 40%

ดีลซื้อขายกิจการครั้งนั้น ได้สร้างประวัติการณ์ทางธุรกิจไทยสำคัญ 2 ประการคือ

  • เป็นความฉลาดซื้อของตระกูลศรีวัฒนประภา เช่นเดียวกันกับที่เคยซื้อทีมฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ในอังกฤษมาแล้วหลายปีก่อน สมกับชื่อเสียงระดับโลกคนอย่าง วิชัย ศรีวัฒนประภา ที่ผ่านสังเวียนธุรกิจมาโชกโชนทั้งที่ฮ่องกง ไทย และอังกฤษ ย่อมไม่ซื้อของแพงเกินแน่นอน
  • ทำให้นายทรรศพลฐ์ แบเลเวลด์ และครอบครัว กลายเป็นครอบครัว มหาเศรษฐีพันล้านล่าสุดของไทย

ครังนั้น เราเคยเขียนตรงนี้ว่า นี่คือ เกมเศรษฐีที่ลงตัว คนที่ไม่รวยจริง…อย่าเลียนแบบ

ปีเศษผ่านไป สถานการณ์กลับขั้ว เพราะ….คนที่เคยซื้อ กลายสภาพเป็นคนขาย และ คนที่เคยขาย กลายเป็นคนซื้อ

การทำรายการซื้อขายบนกระดานรายใหญ่ (Big Lot) ของหุ้นบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV จำนวน 20 รายการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,761,588,286 หุ้น ในราคาเฉลี่ยหุ้นละ 4.70 บาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายรวม จำนวน 8,279.46 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม มีความชัดเจนเมื่อ นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV เปิดเผยว่า ตนเองได้เข้าซื้อ หุ้นจากกลุ่มสรีวัฒนประภา  จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. นายวิชัย ศรีวัฒนประภา 2. นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา 3. นางสางวรมาศ ศรีวัฒนประภา 4. นายอภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา และ 5.นางสาวอรุณรุ่ง  ศรีวัฒนประภา จำนวน 1,761,588,286 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 36.30% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท ซึ่งซื้อขายกันในราคาหุ้นละ 4.70 บาท

ข้อสังเกต คือ ราคาขายครั้งนี้ ต่ำกว่ากระดานที่ปิดในวันที่ 27 ธันวาคม 6.15 บาท แต่สูงกว่าบุ๊คแวลูที่อยู่ที่ 4.59 บาท

ผลลัพธ์จากดีลซื้อขายดังกล่าว นายทรรศพลฐ์ มีสัดส่วนการถือหุ้นในสัดส่วน 41.32% ของหุ้นทั้งหมด ซึ่งต้องทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ เสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดของบริษัท อีกประมาณ 58.70%  ที่ราคาเสนอซื้อที่ 4.70 บาทต่อหุ้น

นอกจากนั้น กลุ่มศรีวัฒนประภา ทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย 1.นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา 2.นายอภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา และ 3.นางชนัญญารักษ์ เพชร์รัตน์ ยังได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จำนวน 3 ราย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 27ธันวาคม 2560 ด้วยตามมารยาท

นายธรรศพลฐ์ ให้เหตุผลที่ดูดีว่า ตนเองมีความผูกพันกับธุรกิจสายการบินที่ได้ลงมือลงแรงตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งสายการบิน และการถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าว ทำให้กำหนดทิศทางบริษัทได้แน่นอนมาก …ซึ่งไม่มีใครสนใจนัก เพราะมุ่งความสนใจไปที่ราคาขายที่ทำให้กลุ่มศรีวัฒนประภามีกำไรต่อหุ้น (หักจากราคาต้นทุนที่ซื้อมา) มากถึง 0.50 บาท

นำมาคำนวณกับจำนวนหุ้นที่ซื้อขาย ทำให้กลุ่มศรีวัฒนประภา มีกำไรประมาณ 880 ล้านบาท…ในปีเศษๆ

เข้าตำราฉลาดขายอีกแล้ว…ครับท่าน

แล้วก็กรุณาลบความทรงจำเก่าเมื่อครั้งปีที่แล้วที่ เสี่ยวิชัย กับนายธรรศพลฐ์ ตั้งโต๊ะจัดแถลงข่าวถึงเจตนาในการซื้อขายกิจการ AAV อย่างเลิศหรูว่า ที่เสี่ยวิชัยเข้ามาซื้อเพราะ “…ต้องการเชื่อมธุรกิจดิวตี้ฟรี และการบินเพื่อผนึกธุรกิจลงตัว และ…เล็งให้ “ไทยแอร์เอเชีย” เพิ่มเที่ยวบินไปจีนหวังดึงนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยมาใช้บริการ คิง เพาเวอร์ มากขึ้น …ไม่คิดเพิกถอน AAV ออกจากตลาดหุ้นหลัง คิง เพาเวอร์ถือหุ้นใหญ่

ที่ต้องลืม และควรลืม เพราะนี่เป็นเรื่องส่วนตัวของมหาเศรษฐี …คนเดินดินกินข้าวแกงไม่เกี่ยว…และไม่มีสิทธิ์ตั้งคำถาม…

ที่อาจไม่ตรงกับคำตอบ

อิ อิ อิ

Back to top button