‘แบงก์’ การทำ M&A

มีบทวิเคราะห์ของ บล.ทิสโก้ เผยถึงโอกาสในการทำ M&A ของธนาคารต่างๆ ไว้น่าสนใจราคาหุ้น TMB และ TCAP ขยับขึ้นอย่างมากในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2560 การปรับขึ้นของราคาหุ้น ไม่แน่ใจว่า เกี่ยวกับข่าวที่กระทรวงการคลัง และ ธปท.ออกมาสนับสนุน ด้วยการที่จะมีแผนจูงใจให้แบงก์ทำ M&A กันหรือเปล่า


ลูบคมตลาดทุน : ธนะชัย ณ นคร

มีบทวิเคราะห์ของ บล.ทิสโก้ เผยถึงโอกาสในการทำ M&A ของธนาคารต่างๆ ไว้น่าสนใจ

ราคาหุ้น TMB และ TCAP ขยับขึ้นอย่างมากในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2560

การปรับขึ้นของราคาหุ้น ไม่แน่ใจว่า เกี่ยวกับข่าวที่กระทรวงการคลัง และ ธปท.ออกมาสนับสนุน ด้วยการที่จะมีแผนจูงใจให้แบงก์ทำ M&A กันหรือเปล่า

ทิสโก้ มองว่าเรื่องนี้มี “โอกาสในระดับต่ำ”

การควบรวมของธนาคารขนาดกลางเป็นไปได้ยาก จากทั้งด้าน “พนักงาน” และการ “ขายหุ้น” ของภาครัฐ

มีการยกตัวอย่างการควบรวมของ TCAP และ SCIB  ในด้านของพนักงานจะมีปัญหาน้อยกว่าในกรณีที่เป็น “ธนาคารขนาดใหญ่” ควบรวมกับ “ธนาคารขนาดเล็ก”

มาถึงหุ้น BAY กันบ้าง

ราคาหุ้น BAY ได้ปรับขึ้นมาโดยตลอด และผู้บริหารเองก็ไม่ทราบสาเหตุ

มีการย้อนไปถึงการประชุมนักวิเคราะห์ช่วงปี 2560

นักวิเคราะห์ถามถึงการ “ควบรวมกิจการ” ว่ามีแผนหรือไม่

คำตอบ คือ BAY จะเน้นการเติบโตจากภายในเป็นหลักครับ

และแผนการเติบโตของ MUFG แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.ขยายพอร์ตของสินเชื่อ 2.เพิ่มค่าธรรมเนียม, ควบคุมต้นทุน, เพิ่มความสามารถในการทำกำไรและ ROE ในปี 2018–2020

BAY จะมีการประชุมนักวิเคราะห์อีกครั้งในสิ้นเดือน ม.ค.นี้

แต่ทิสโก้ มองว่าราคาหุ้นของ BAY เพิ่มขึ้นเร็วกว่าพื้นฐานของหุ้นแสดงถึงสภาพคล่องสูงเป็นปัจจัยผลักดันตลาด

เหตุผลก็คือ BAY มีมาร์เก็ตแคปสูง เมื่อเทียบกับ Free Float ที่ต่ำ ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

มาถึงแบงก์ TMB กัน

ธนาคารแห่งนี้ดูเหมือนเป็นเป้าหมายในการซื้อกิจการจากพอร์ต “สินเชื่อเอสเอ็มอี” ขนาดใหญ่

การลงทุนในไอเอ็นจี กรุ๊ป การ M&A จะทำได้ยาก

นั่นเพราะกระทรวงการคลังมีต้นทุนของ TMB ที่สูง จากถือหุ้นอยู่ที่ 26% ต้นทุน 3.85 บาท และกฎหมายไทยไม่ยอมให้ภาครัฐขายของในราคาต่ำกว่าต้นทุน

แม้ว่า KTB และ TMB จะเป็นธนาคารของภาครัฐทั้งคู่

แต่โอกาสในการควบรวมเป็นไปได้ต่ำเนื่องจากทั้ง 2 ทางเลือก 1.ขายหุ้น TMB ที่ราคาต่ำกว่า 3.85 บาท

และ 2.การแลกหุ้นของ TMB และ KTB ที่ราคาสูงกว่า 3.85 บาท ล้วนแต่ผิดข้อกฎหมาย

ปัจจุบัน TMB ซื้อขายที่ราคา 3.04 บาท (9 ม.ค.) คิดเป็น P/BV 1.4 เท่า และ PER 15 เท่าสำหรับปี 2561

และมี ROE ต่ำกว่า 10% แพงกว่า KBANK

และจากประมาณการของทิสโก้ หากกระทรวงการคลังต้องการขายหุ้นที่ราคา 3.85 บาท จะต้องรอถึงปี 2563 จากเศรษฐกิจโลกที่เป็นขาขึ้น ROE ที่เกิน 13% และ BVPS เพิ่มขึ้นเป็น 2.66 บาท หรือ 1.44 เท่า P/BV อิงค่าเฉลี่ยในอดีต

และยังมีปัญหาในด้านของวัฒนธรรมองค์กร

โดย KTB มีสหภาพแรงงานที่แข็งแกร่ง

TMB เคยเป็นเป้าในการซื้อกิจการของ TCAP เมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา

ทว่า ยกเลิกไปเพราะราคาสูง

ในปี 2553 หุ้น TCAP ได้เข้าซื้อกิจการของ SCIB ตามแผนการขายหุ้นของคลัง

และทำให้ในปัจจุบัน TCAP ไม่มีเงินทุนที่เพียงพอในการซื้อกิจการของ TMB

และจะมีปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กรและต้องขออนุญาตจากโนวาสโกเทียแบงก์ โดยโนวาฯ มีแผนจะลดการลงทุนในไทยลงแม้ว่าพอร์ตสินเชื่อจะมีความน่าสนใจ

แต่จากราคาสูงและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่าง

ทำให้เชื่อว่า TCAP ได้บทเรียนจากการซื้อกิจการของ SCIB แล้ว

ดูเหมือน M&A ของแบงก์ไทย

ภายใต้การผลักดันของคลัง และ ธปท.

ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายๆ เลย

Back to top button