FSMART มลพิษศาสดาปลอม

ราคาหุ้นเมื่อเปิดตลาดวานนี้ ของ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART เด้งดิ่งทันทียิ่งกว่าติดสปริงยี่ห้อที่ดีที่สุด กลับมายืนเหนือ 12.50 บาทได้ง่ายดาย...ต่างจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ทำเอา "ขาช้อน" พากันช้อนหักไปหลายอันทีเดียว


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

ราคาหุ้นเมื่อเปิดตลาดวานนี้ ของ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART เด้งดิ่งทันทียิ่งกว่าติดสปริงยี่ห้อที่ดีที่สุด กลับมายืนเหนือ 12.50 บาทได้ง่ายดาย…ต่างจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ทำเอา “ขาช้อน” พากันช้อนหักไปหลายอันทีเดียว

เหตุผลก็เพราะการ “เคลียร์หน้าเสื่อ” เรียบร้อยจากตัวแทนของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ (ธปท.) เกี่ยวกับข่าวลือที่บิดเบี้ยวเสมือนเกมเจ๊กกระซิบ ที่ถูกตีความเพ้อเจ้อโดยนักวิเคราะห์ว่า หาก 7-11 ได้เป็นอย่างเป็นทางการจากทางแบงก์ชาติก่อน นอกจากเป็นบวกต่อ CPALL จากการได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มแล้ว ยังจะสลัดทิ้ง “ตู้บุญเติม” ของ FSMART ทิ้งอย่างสิ้นเยื่อใย เพราะจะเอาไปทำเอง….ทั้งรับฝากเงิน หรือ พิจารณาสินเชื่อเงินสด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ FSMART ที่มีบริการโอนเงินผ่านตู้เติมเงิน บุญเติม (ร่วมกับแบงก์ KTB+KBANK) โดยในปี 2560 มีมูลค่าโอนเงินรวม 4,000 ล้านบาท เป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของมูลค่าเติมเงินผ่านตู้

แถมนักวิเคราะห์บางสำนักเลยเถิดไปว่า อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการและราคาเป้าหมาย (หลังกำไรไตรมาส 4/2560 น้อยกว่าคาด) จากเดิม 19.50 บาท ลงมาต่ำกว่าเดิมอีก

ปากหมา (น) อย่างนี้ ราคาหุ้น FSMART รูดไหลลงแรงใต้ 12 บาททันที จนกระทั่งแบงก์ชาติเอื้อมมือมาช่วยไว้

นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. ออกมายืนยันชัดเจนขึ้น ว่า ธปท. ไม่ได้เป็นผู้ที่ให้ใบอนุญาตแต่งตั้ง 7-11 เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่เคยมีประกาศตั้งแต่ปี 2553 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (แบงกิ้งเอเย่นต์) ได้ ซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆ อย่าง มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และบังกลาเทศ และบริการนี้ก็ได้ทำไปแล้วบางส่วน เช่น ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งได้แต่งตั้งบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด (บริษัทในเครือซีพีออล ผู้บริการร้านเซเว่น-อิเลฟเว่น) ในสาขาร้าน 7-Eleven บิ๊กซี เทสโก้โลตัส เป็นต้น ทำธุรกรรมด้านรับชำระเงิน และมีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ตั้งเคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นผู้ให้บริการถอนเงินให้ลูกค้าที่มีคนโอนให้ เพื่อให้บริการลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือไม่มีสาขาธนาคารในพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีธนาคารตั้งตู้เติมบุญ ตู้เติมสบาย และแอปพลิเคชันแอร์เพย์เป็นแบงกิ้งเอเย่นต์อยู่แล้ว สามารถรับฝากเงินหรือโอนเงินจากทั้ง 3 แหล่ง เข้าบัญชีธนาคารต่างๆ ได้

ความต่างจากเดิมมีอยู่ว่า ขณะนี้ ธปท.ได้ปรับปรุงเกณฑ์แบงกิ้งเอเย่นต์ใหม่ที่อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะออกมาช่วงต้นเดือน มี.ค. 2561 นี้ โดยเกณฑ์ใหม่จากเดิมที่ธนาคารต้องมาขออนุญาตการตั้งแบงกิ้งเอเย่นต์ก็ไม่ต้องมาขออนุญาตอีก ทำได้เลย เพียงแต่ต้องมีการส่งแผนงานการบริหารจัดการสาขา โดยรวมไปถึงการให้บริการ ซึ่งแผนงานนี้ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการธนาคารแล้ว จากเดิมที่ต้องมีขออนุญาตเป็นรายๆ

ที่สำคัญยังมีข้อกำหนดผ่อนคลายคุณสมบัติของแบงกิ้งเอเย่นต์จากเดิมที่อนุญาตให้เฉพาะธนาคารพาณิชย์อื่นๆ หรือ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และนิติบุคคล ได้มีการเพิ่มให้กว้างขึ้นเป็นนิติบุคคล เช่น สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน และบุคคลธรรมดา อย่างร้านโชห่วยที่ขายของอยู่ในชุมชน เป็นแบงกิ้งเอเย่นต์ได้ ซึ่งต้องมีหลักแหล่งในการให้บริการที่ชัดเจน มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบที่เหมาะสม  ขึ้นกับการตรวจสอบคุณสมบัติ

ประเมินความเสี่ยง เพราะว่าการกระทำของแบงกิ้งเอเย่นต์เสมือนกับการกระทำของธนาคาร หากมีความเสียหายธนาคารต้องรับผิดชอบ

แถมยังผ่อนคลายเพิ่มเติมให้เพิ่มบริการรับถอนเงิน และการจ่ายเงินให้ผู้ใช้บริการลูกค้ารายย่อย ไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้บริการแต่ละราย ส่วนค่าธรรมเนียมการให้บริการขึ้นอยู่กับธนาคารแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด

ข้อมูลของ ธปท.ข้างต้น ตอกย้ำชัดว่า “เกณฑ์ผ่อนคลาย” เรื่องแบงกิ้ง เอเย่นต์….นอกจาก

จะไม่ระคายผิวของกำไรหรือรายได้แล้ว กลับจะทำให้รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นเสียอีก

งานนี้ นายสมชัย สูงสว่าง หรือเสี่ยสอง กรรมการผู้จัดการ FSMART จึงโล่งตลอด….และมั่นใจถึงขั้นออกมาประกาศก้องว่า แม้ 7-11 จะทำธุรกิจแบงกิ้งเอเย่นต์ บริษัทก็ไม่มีความกังวล เพราะเป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน

​เสี่ยสองระบุว่า FSMART มีฐานลูกค้าที่ขยายไปตามชนบท และไม่ใช่ทำเลของร้านสะดวกซื้อดังกล่าว เพราะลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่ทำรายการที่มีมูลค่าเงินไม่มาก เฉลี่ย 700 บาทต่อรายการ และต้องการความรวดเร็ว ประกอบกับบริษัทมีตู้บุญเติมในร้านสะดวกซื้อ 7-11 ประมาณ 8,000 ตู้ ซึ่งไม่มีธุรกรรมการโอนเงิน ดังนั้นจึงไม่มีความกังวล

นอกจากนั้น หากเป็นกรณีเลวร้าย กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ฐานลูกค้าของ 7-11 ส่วนใหญ่จะอยู่ตามเมือง และเป็นกลุ่มเดียวกันกับธนาคาร โดยประเมินว่าต้นทุนของ 7-11 คาดจะสูง เพราะใช้พนักงานทำงานเหมือนกับธนาคาร ดังนั้นเบื้องต้นอาจจะมีค่าบริการที่มากกว่าของบริษัทเก็บ โดยปัจจุบันบริษัทมีค่าบริการโอนเงินต่ำสุด 30 บาท และสูงสุด 70 บาทต่อรายการ

ต้นทุนต่ำกว่า แถมค่าบริการยังถูกกว่า…จะกลัวทำไม ก็เดิม FSMART เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน ทำตลาดล่างแล้วนี่นา …ไม่มีเสียอยู่แล้ว

ที่สำคัญปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับธนาคารอีก 3 แห่ง เพื่อทำบริการโอนเงินผ่านตู้บุญเติม ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเดือน มิ.ย.นี้ จากปัจจุบันบริษัทให้บริการโอนเงิน คือ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย โดยบริษัทมีนโยบายที่จะให้บริการประเภทโอนเงินบนตู้เติมเงินกับธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่งของประเทศ ซึ่งคิดเป็น 90% ของตลาดธนาคาร เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และฐานลูกค้าให้รู้จักกับตู้บุญเติม

นอกจากนั้น บริการของตู้บุญเติมยังมีการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้ใช้บริการอื่นๆ เช่น การจ่ายค่าตั๋วโดยสาร การชำระบิลสาธารณูปโภค และบริการใหม่เพิ่มเติม เช่น การขายประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ และบริการอีกมากมายที่จะเพิ่มเข้ามาในอนาคต รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรายการสะสมแต้มเพื่อชิงโชค จึงมั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติมให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 20%

ด้วยความมั่นใจดังกล่าว เสี่ยสองจึงเชื่อมั่นว่าแนวโน้มผลประกอบการปี 2561 ที่บริษัทตั้งเป้ามีรายได้เติบโต 15-20% จากปี 2560 มีรายได้ 3,105 ล้านบาท โดยวางกลยุทธ์ที่หลากหลาย และเน้นคุณภาพครบทุกด้าน เพื่อการเติบโตทุกช่องทาง ด้วยหลักการบริหารจัดการยอดเติมเงินเฉลี่ยต่อตู้ต่อเดือน (ARPU) ให้เติบโตไม่ต่ำกว่า 5% จากปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 32,000 บาทต่อตู้

นอกจากนี้ ในปี 2561 บริษัทมีแผนเพิ่มจำนวนตู้บุญเติมในอีก 20,000 ตู้ ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นปี 2561 จะมีตู้บุญเติมครอบคลุมทุกพื้นที่ 144,653 ตู้ ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีตู้บุญเติมรวม 124,653 ตู้ โดยกำหนดงบลงทุนในการขยายตู้ประมาณ 500 ล้านบาท

ปัจจุบันตู้บุญเติมมีส่วนแบ่งทางการตลาดจากมูลค่าตลาดบริการโทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินล่วงหน้า (Pre-Paid) กว่า 22% ปรับเพิ่มขึ้น 5% จากปี 2560 อยู่ที่ 16% จากมูลค่าตลาดประมาณกว่า 1.33 แสนล้านบาท โดยยังถือเป็นผู้นำตลาดตู้เติมเงินอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

ข้อแท้จริงนี้ เหนือกว่าจินตนาการนักวิเคราะห์เพ้อเจ้อหลายขุม…มิน่าหุ้นเด้งเร็วยิ่งกว่ากามนิตหนุ่มทีเดียว

น่าสงสารก็บรรดานักลงทุนระดับแมงเม่า ที่พากันเป็นกระต่ายตื่นตูม ….กี่ครั้งๆๆๆ ที่ขายหมู ไม่เคยหลาบจำ…เจ็บแล้วไม่จำาาาา…จ่ายค่าโง่มากมายไม่รู้เบื่อ

อิ อิ อิ

Back to top button