“กลุ่มทีวิดิจิทัล”ขึ้นยกแผง! รับศาลฯให้”ไทยทีวี”ถอนไลเซ่นส์ได้-สั่งกสทช.คืนเงินค้ำประกัน

กลุ่มทีวิดิจิทัล! ขึ้นยกแผง รับข่าวศาลฯ ให้"ไทยทีวี"ถอนไลเซ่นส์ได้พร้อมสั่ง กสทช.คืนเงินค้ำประกัน โบรกฯ ชี้เปิดทางบริษัทอื่นยกเลิกสัญญา-คืนใบอนุญาตได้ ชู BEC รับประโยชน์มากสุด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หุ้นกลุ่มทีวีดิจิทัลปรับขึ้นยกแผง นำโดยหุ้น BEC,WORK,MCOT,RS,GRAMMY รับข่าวศาลปกครองกลางให้”ไทยทีวี”ถอนไลเซ่นส์ได้พร้อมสั่ง กสทช.คืนเงินค้ำประกัน 1.5 พันล้านบาท คาดคำพิพากษาดังกล่าวเปิดทางให้บริษัทต่างๆ ที่ทำธุรกิจทีวีดิจิตอลสามารถบอกเลิกสัญญาและคืนใบอนุญาตได้

ราคาหุ้น บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ณ เวลา 10.48 น. อยู่ที่ระดับ 13.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 2.27% สูงสุดที่ระดับ 13.60 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 13.10 บาท มูลค่าการซื้อขาย 348.15 ล้านบา

โดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ WORK ณ เวลา 10.47 น. อยู่ที่ระดับ 73.75 บาท บวก 3.75 บาท หรือ 5.36% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 154.44 ล้านบาท ส่วนบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC ณ เวลา 10.48 น. อยู่ที่ระดับ 13.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 2.27% สูงสุดที่ระดับ 13.60 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 13.10 บาท มูลค่าการซื้อขาย 348.15 ล้านบา

ด้านบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS ณ เวลา 10.49 น. อยู่ที่ระดับ 31.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท หรือ 4.20% สูงสุดที่ระดับ 31.50 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 29.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 75.09 ล้านบาท ส่วนบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GRAMMY ณ เวลา 10.50 น. อยู่ที่ระดับ 9.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.15 บาท หรือ 1.59% สูงสุดที่ระดับ 9.70 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 9.40 บาท มูลค่าการซื้อขาย 0.22 ล้านบาท

บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ศาลปกครองตัดสิน ไทยทีวีคืนช่องทีวีดิจิตัลได้  โดยวานนี้(13มี.ค.)ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาว่า กสทช.กระทำผิดสัญญาที่ได้ประกาศชี้ชวนไว้กับ บจก.ไทยทีวี จริง ซึ่ง บจก.ไทยทีวี โดยนางพันธุ์ทิพา ศกุนต์ ไชยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของบริษัทไทยทีวี เป็นโมฆะทั้งหมดดังนั้น บจก.ไทยทีวีจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา กับ กสทช.

ความเห็น: มองว่าคำพิพากษาดังกล่าวเปิดทางให้บริษัทต่างๆ ที่ทำธุรกิจทีวีดิจิตอลสามารถบอกเลิกสัญญาและคืนใบอนุญาตได้ ช่วยให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง คาดเป็นบวกต่อ WORK, MONO, BEC  โดยเชื่อว่า BEC ที่จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากสุด เนื่องจากปัจจุบันถือสัญญาสัมปทานทีวีดิจิตอลไว้มากถึง 6 ช่อง มีต้นทุนสัญญาสัมปทานรวมกันทั้งสิ้นกว่า 6,000 ล้านบาท

ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นมีต้นทุนราว 3,000 กว่าล้านบาทสำหรับช่อง HD และมากกว่า 1,500 ล้านบาท สำหรับช่อง SD โดยที่ BEC ยังไม่สามารถ Utilized ช่อง SD เพื่อสร้างรายได้ได้มากเท่าที่ควร แนะนำเก็งกำไรธุรกิจทีวีดิจิตอล โดยเน้นไปที่หุ้น BEC

บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า มีมุมมองเชิงบวกกับข่าวข้างต้น เพราะมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหลายรายต้องการคืนใบอนุญาต โดยมองว่าข่าวข้างต้นเป็นบวกต่อกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรายใหญ่ ที่เป็นทั้งผู้ประกอบการและผลิตcontent คือ บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC), บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (WORK) ,บมจ.โมโน เทคโนโลยี (MONO), บมจ.อาร์เอส (RS), บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) และกลุ่มธนาคาร คือ BBL แต่อย่างไรก็ดีทาง กสทช.ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ซึ่งอาจส่งผลให้คดียังไม่ถึงที่สุด

ขณะเดียวกัน มองว่าการแข่งขันในกลุ่มทีวีดิจิทัลจะลดลง เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายรายต้องการคืนใบอนุญาต และเคยยื่นข้อเสนอต่อ กสทช.แล้ว โดยมองว่าทีวีดิจิทัลในไทยควรมีประมาณ 15-16 ช่องจะส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาของแต่ละช่องอยู่ที่ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดได้

สำหรับหุ้นที่จะได้ประโยชน์ในครั้งนี้ คือ BEC, WORK, MONO, RS และ GRAMMY ซึ่งผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่เป็นทั้งผู้ผลิต Content และผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล นอกเหนือจากนี้ยังมุมมองเชิงบวกต่อ BBL เพราะเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยทีวี ซึ่งได้มีการจ่ายแบงก์การันตีให้กับทาง กสทช.ไปแล้ว 1,500 ล้านบาท และได้มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแล้วเต็มจำนวน คาดว่ารายการนี้จะมีการ reverse กลับมาเป็นรายได้หรือนำมาลดค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองค่าเผื่อฯได้ ซึ่งจะเป็น Upside ต่อกำไรสุทธิในปี 61 ราว 4% หรือคิดเป็น Upside ต่อราคาหุ้นราว 0.8 บาท

ธนาคารที่มีการปล่อยให้กลุ่มทีวีดิจิทัลมากที่สุดคือ BBL รวม 14 ช่อง จำนวน 21,600 ล้านบาท รองลงมาเป็น ธ.กสิกรไทย (KBANK) รวม 8 ช่อง จำนวน 10,900 ล้านบาท และธ.กรุงศรีอยุธยา (BAY) รวม 2 ช่อง จำนวน 2,680 ล้านบาท ขณะที่ในเบื้องต้นยังแนะนำซื้อ BBL ราคาเป้าหมายที่ 222 บาท

Back to top button