OCEAN กลเกม Reversed Takeovers.!?

จากกรณีคณะกรรมการ บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) หรือ OCEAN มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 180 ล้านบาท เป็น 301.61 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน 482.56 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.80 บาท รวมมูลค่า 386 ล้านบาท ให้นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) คือนางชัชชญา ไตรตระกูลชัย หลังเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว นางชัชชญา จะถือหุ้น OCEAN สัดส่วน 40% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ทันที


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

จากกรณีคณะกรรมการ บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) หรือ OCEAN มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 180 ล้านบาท เป็น 301.61 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุน 482.56 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.80 บาท รวมมูลค่า 386 ล้านบาท ให้นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) คือนางชัชชญา ไตรตระกูลชัย หลังเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว นางชัชชญา จะถือหุ้น OCEAN สัดส่วน 40% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ทันที

โดย OCEAN ระบุว่า การตัดสินใจเพิ่มทุนครั้งนี้ เป็นผลมาจากบริษัทจะขยายเข้าสู่การทำธุรกิจพลังงานทางเลือก ให้ครอบคลุมธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไบโอดีเซล เพราะธุรกิจเดิมคือ “นำเข้า ประกอบ ผลิต และจำหน่ายชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ก๊อกน้ำและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับประปาและสุขภัณฑ์” ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ และทำให้ผลประกอบการขาดทุน

ทั้งนี้ OCEAN ระบุอีกว่า นางชัชชญา มีเงินทุนพอสำหรับการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน และมีฐานะการเงินมั่นคง จะช่วยให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงิน โครงสร้างเงินทุน ศักยภาพการสร้างรายได้ในอนาคต และฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเงินและสามารถลดค่าใช้จ่ายทางการเงินได้

จากการตรวจสอบข้อมูล จากกระทรวงพาณิชย์ พบว่า นางชัชชญา ไตรตระกูลชัย (ร่วมกับนายจิรัฎฐ์ ไตรตระกูลชัย และนายเอก คล้ายบุญมี) เป็นเจ้าของธุรกิจโรงสกัดและหีบน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชทุกชนิด ในนามบริษัท ละแมน้ำมันปาล์ม จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 19 มิถุนายน 2557

เมื่อตรวจสอบงบการเงินบริษัท ละแมน้ำมันปาล์ม จำกัด นับตั้งแต่ปี 2557-2559 พบว่า ปี 2557 มีรายได้รวม 87.17 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 0.43 ล้านบาท ปี 2558 มีรายได้รวม 785.38 มีกำไรสุทธิ 1.58 ล้านบาท ปี 2559 มีรายได้รวม 2,213.56 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1.96 ล้านบาท

ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า หาก OCEAN ต้องการขยายสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกครอบคลุมธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไบโอดีเซล ตามวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนข้างต้น จะต้องเกิดความเชื่อมโยงระหว่าง OCEAN และ “ละแมน้ำมันปาล์ม” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะมีเจ้าของคนเดียวกันคือ ชัชชญา ไตรตระกูลชัย..นั่นเอง

แน่นอน..เกิดคำถามตามมาทันทีว่า รูปแบบการ Synergy ระหว่าง OCEAN และ “ละแมน้ำมันปาล์ม” จะเป็นอย่างไร..!!??

รูปแบบเป็นได้มากสุด…นั่นก็คือ บริษัท ละแมน้ำมันปาล์ม จำกัด เข้าดำเนินการเทกโอเวอร์กิจการแบบย้อนศร (Reversed Takeovers) เพื่อจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทางประตูหลัง (Back Door Listing) วิธีการคือ OCEAN เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ “ละแมน้ำมันปาล์ม” ด้วยการออกเพิ่มทุน เพื่อนำไปแลกหุ้น (Share Swap) บริษัท ละแมน้ำมันปาล์ม จำกัด กับกลุ่มไตรตระกูลชัย แต่ด้วยรายได้ “ละแมน้ำมันปาล์ม” สูงกว่า OCEAN ค่อนข้างมาก จึงต้องใช้จำนวนหุ้นมากขึ้น

นั่นยิ่งทำให้ “กลุ่มไตรตระกูลชัย” เข้ามาถือหุ้น OCEAN มากยิ่งขึ้นไปอีก และจากสัดส่วนรายได้ของ “ละแมน้ำมันปาล์ม” มากกว่ารายได้ของ OCEAN มากกว่า 7 เท่า นั่นจึงทำให้ OCEAN มีโอกาสจะถูกเทกโอเวอร์กิจการแบบย้อนศร (Reversed Takeovers)

บทสรุปสุดท้าย OCEAN คงลงเอยไม่ต่างอะไรกับบริษัท ไฟร์วิคเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ FIRE ที่เข้าเทกโอเวอร์กิจการบริษัท ชิลแมทช์ จำกัด (CM) แต่สุดท้ายถูกเทกโอเวอร์กลับ จนต้องกลายมาเป็นบริษัท หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ HARN ในปัจจุบันนั่นเอง

ไม่เชื่อคอยดู..!????

…อิ อิ อิ…

ตารางงบการเงินบริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน)หรือ OCEAN

 (หน่วย: ล้านบาท)
งวดงบการเงิน
ณ วันที่
งบปี 57
31/12/2557
งบปี 58
31/12/2558
งบปี 59
31/12/2559
งบปี 60
31/12/2560
ไตรมาส1/61
31/03/2561
บัญชีทางการเงินที่สำคัญ
สินทรัพย์รวม 397.72 380.94 388.59 370.49 368.96
หนี้สินรวม 153.36 108.57 125.50 138.56 139.82
ส่วนของผู้ถือหุ้น 244.37 272.38 263.09 231.93 229.14
มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 140.38 180.96 180.96 180.96 180.96
รายได้รวม 321.87 296.71 331.95 294.08 85.15
กำไรสุทธิ 22.00 -3.73 1.57 -32.26 -2.79
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.05 -0.01 -0.04
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
ROA(%) 8.65 -0.16 1.68 -9.11 -8.59
ROE(%) 10.19 -1.44 0.59 -13.03 -12.46
อัตรากำไรสุทธิ(%) 6.83 -1.26 0.47 -10.97 -3.27

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)

Back to top button