AMATA อนาคตยังสดใส

มีการวิเคราะห์กันว่า AMATA จะสามารถโอนที่ดินและรับรู้รายได้ในปี 2561 จำนวน 397 ไร่ จากครึ่งปีแรกมีการโอนไปแล้ว 178 ไร่ ขณะที่จากยอด Presale ต่ำในช่วงครึ่งแรกปี 2561 ที่ 159 ไร่


คุณค่าบริษัท

มีการวิเคราะห์กันว่า บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA จะสามารถโอนที่ดินและรับรู้รายได้ในปี 2561 จำนวน 397 ไร่ จากครึ่งปีแรกมีการโอนไปแล้ว 178 ไร่ ขณะที่จากยอด Presale ต่ำในช่วงครึ่งแรกปี 2561 ที่ 159 ไร่ และ ณ ปัจจุบันบริษัทมียอดขายที่ดินสะสมอยู่ที่ประมาณ 370 ไร่ (รวมรายการ LOI ที่ลูกค้าแสดงเจตจำนงในการซื้อที่ดิน และจ่ายเงินมัดจำบางส่วน โดยปกติรายการนี้จะไม่รวมอยู่ในยอด Presale)

ผลดังกล่าวทำให้มองว่ายอดขายที่ดินที่สะสมนี้สูงกว่าที่ควร และคาดว่าจะสามารถรับรู้เป็น Presale ได้ในไตรมาส 4 ปี 2561 รวมทั้งการรับมอบที่ดิน Long Thanh และการขอใบอนุญาตในการดำเนินงานของนิคม Bien Hoa เฟสสุดท้ายจำนวน 20 Ha ที่ล่าช้าจากกำหนดการเดิมของบริษัท

นอกจากนี้ มองว่าจากยอด Presale ที่ต่ำในปี 2561 ส่งผลให้มีการประมาณการยอดโอนขายที่ดินในปี 2562 ภายใต้ความระมัดระวังอยู่ที่ 375 ไร่ ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ตามยอด Presale ที่จะเพิ่มอย่างเด่นชัดในปี 2562 คาดที่ 700 ไร่ จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่จะดีขึ้น ภายหลังความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และเคมีที่สนใจ และมีศักยภาพในการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต

นอกเหนือจากธุรกิจขายที่ดินในนิคม มองว่ารายได้จากสาธารณูปโภคจะดีขึ้นคาดเพิ่มขึ้น 8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นตามการ COD โรงไฟฟ้าครบทั้ง 10 แห่งในปี 2561 ทั้งนี้บริษัทจะ COD โรงไฟฟ้า ABPRS เป็นแห่งสุดท้ายในเดือนตุลาคมนี้ และจะทยอยปิดซ่อมแซมบำรุงโรงไฟฟ้าจำนวน 4 แห่งในครึ่งหลังของปี 2561

ขณะที่มองว่ารายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ RBF และ BTS ที่สูงขึ้น และ Occupancy Rate ที่สูง จึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ที่ 1.54 พันล้านบาท ขยายตัว 9% จากรายได้ยอดขายที่ดินที่ยังทรงตัว ในขณะที่ธุรกิจอื่นดีขึ้นส่งผลให้เราคาดว่าสัดส่วนรายได้ Recurring Income จะสูงขึ้นที่ 65% (จากปีก่อนที่ 54%)

แม้บริษัทมีแนวโน้มในการขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศพม่าและลาว แต่มองว่าบริษัทจะต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงานนี้ รวมทั้งยอด Presale ในปี 2561 ที่ยังทรงตัว ก่อนที่จะดีขึ้น อย่างเด่นชัดในปี 2562 จาก พ.ร.บ.อีอีซีที่หนุนให้เกิดการศึกษาดูงานของนักลงทุนต่างประเทศ และมีแนวโน้มลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่ม S-Curve รวมทั้งความชัดเจนทางการเลือกตั้งที่ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และมั่นใจในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ

ทั้งนี้ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาในช่วง 6 เดือนเกิดจากยอด Presale ที่น้อยกว่าคาด โดย ณ ปัจจุบัน AMATA ยังเทรดอยู่ที่ P/BV 1.4 เท่า ทำให้ บล.เคทีบี เพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น “ซื้อ” ราคาเหมาะสมปี 2562 ที่ 24 บาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. นายวิกรม กรมดิษฐ์ 191,345,900 หุ้น 17.93%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 75,545,624 หุ้น 7.08%
  3. กองทุนเปิด เค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล 31,419,400 หุ้น 2.94%
  4. บริษัท อีโตชู เอ็นเตอร์ไพรซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด 25,000,000 หุ้น 2.34%
  5. นายวิฑูรย์ กรมดิษฐ์ 24,440,670 หุ้น 2.29%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ รองประธานกรรมการ
  2. นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, กรรมการ
  3. นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ
  4. นายอนุชา สิหนาทกถากุล กรรมการอิสระ, ประธานกรรมการตรวจสอบ
  5. นายนพพันธป์ เมืองโคตร กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ

Back to top button