‘SCC’- กรณ์แทงตรงเป้า! ปม GPSC ซื้อ GLOW

กรณีที่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เข้าซื้อ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW จากผู้ถือหุ้น คือ Engie ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ได้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นราว 4,835 เมกะวัตต์ ซึ่งเดิมมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียง 1,940 เมกะวัตต์


สำนักข่าวรัชดา

กรณีที่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เข้าซื้อ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW จากผู้ถือหุ้น คือ Engie ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ได้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นราว 4,835 เมกะวัตต์ ซึ่งเดิมมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียง 1,940 เมกะวัตต์

สำหรับการเข้าซื้อหุ้น GLOW มีทั้งทางตรงและทางอ้อมในสัดส่วน 69.11% ที่ราคาหุ้นละ 96.50 บาท โดยเป็นการซื้อเงินสดคิดเป็นเงินจำนวน 97,559 ล้านบาท อีกทั้งต้องเตรียมเงินสดอีกก้อนหนึ่งเพื่อที่จะทำคำเสนอซื้อหุ้นของ GLOW ที่เหลือ 30.89% หรือเทนเดอร์ออฟเฟอร์ในราคาที่  96.50 บาท ตามกติกา ทำให้ต้องใช้เงินซื้อกิจการครั้งนี้จำนวน 141,166 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่าหากดีลจบจะถอน GLOW ออกจากตลาด

ผลการปฏิบัติการ GPSC เข้าซื้อ GLOW เหมือนว่าไม่ใช้เรื่องง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากอีกแล้ว เนื่องจากดีลครั้งนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่าง GPSC และ GLOW อีกแล้ว…..แต่มันกลายเป็นเรื่องระดับชาติ

เมื่อ “นาย กรณ์ จาติกวณิช” อดีตรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงกลุ่ม บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอีก 10 ราย ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีคำสั่งให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกแผนการซื้อหุ้น GLOW เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการผูกขาดเรื่องพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ

เนื่องด้วย GPSC เข้าซื้อ GLOW จะทำให้กลุ่มธุรกิจในเครือ SCC ในนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุดเขาจะถูกบังคับให้มีสภาพที่ต้องจำยอมเป็นลูกค้าของคู่แข่ง (คือ ปตท. )

เหตุเพราะทาง GPSC เป็นบริษัทย่อยอยู่ในเครือ ปตท. ที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ถือหุ้นอยู่ 22.58% และที่สำคัญที่ปตท. ถือหุ้นทางอ้อม ผ่านบริษัทลูกที่ถือหุ้นใหญ่โดยตรงอย่าง  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ถือหุ้นอยู่ 22.73% และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP ถือหุ้นอยู่ 8.91% พร้อมกับ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นลูกของ TOP ได้ถือหุ้นอยู่ 20.79%

ดังนั้นเกือบ 50% ที่ถือโดยบริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บวกกับทางที่บริษัท ปตท.ถือหุ้นโดยตรงด้วย ก็จะทำให้ทางบริษัท ปตท. มีสิทธิ 74.99% ในผลประกอบการของ GPSC และที่สำคัญคือ ผู้บริหาร GPSC ล้วนเป็นคนของปตท. ทั้งสิ้น

อีกทั้งหากยอมให้ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาแข่งขันกับเอกชนที่ตั้งบริษัทย่อยแล้วถือไขว้กันไปมาอาจจะมีผลต่อการดำเนินที่ขัดกับรัฐธรรมนูญตามมาตรา 75 ที่ห้ามภาครัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน ยกเว้นว่าสามารถดำเนินการได้กรณีจำเป็น ซึ่งงานนี้ทาง กกพ.จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

ที่สำคัญหาก GPSC เข้าซื้อหุ้น GLOW ต้องใช้เงินซื้อกิจการครั้งนี้จำนวน 141,166 ล้านบาท แต่อย่าลืมว่าเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ GPSC มีเพียง  4,877.89 ล้านบาท

ดังนั้นทางปฏิบัติในระยะสั้น GPSC จำต้องอาศัย “สะพานเงินกู้” หรือ Pridge loan ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะสั้นอายุไม่เกินกำหนดชำระภายในหนึ่งปี วงเงินไม่เกิน 142,500 ล้านบาท เพื่อรองรับการเข้าทำธุรกรรมครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งกู้ยืมบางส่วนจาก PTT  และ PTTGC ที่เป็นบริษัทแม่ รวมทั้งกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อเข้าซื้อหุ้น GOLW ทั้งหมด

ผลดังกล่าวจากการกู้เงินจากบริษัทแม่และสถาบันการเงิน 142,500 ล้านบาท บวกกับหนี้สินรวมปัจจุบันที่ GPSC มีอยู่ล่าสุด 22,470.68 ล้านบาท ก็จะทำให้ GPSC มีหนี้สินรวม 164,970.68 ล้านบาท และนี่ยังไม่รวมกับหนี้สินที่ทาง GLOW มีหนี้ล่าสุดอยู่ที่ 50,617.88 ล้านบาท

ทว่าหาก GPSC เทนเดอร์ฯ GLOW ได้ทั้งหมด เท่ากับต้องรับหนี้มาด้วย 50,617.88 ล้านบาท เท่ากับหนี้สินโดยรวมทั้งหนี้สินบริษัทเอง รวมถึงเงินกู้ และหนี้สินของ GLOW ที่ทาง GPSC จะต้องแบกภาระทั้งหมด 215,588.56 ล้านบาท

ทั้งนี้การกู้เงินสูงถึง 142,500 ล้านบาทบวกกับหนี้สินที่ GPSC มีอยู่ ก็จะทำให้ D/E กว่า 3 เท่า และถ้าการทำเทนเดอร์ GLOW ได้ทั้งหมดเท่ากับต้องรับหนี้มาด้วยนั้นอาจต้องทำให้ GPSC แบกรับหนี้ D/E พุ่งกว่า 5 เท่า ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาระดอกเบี้ยต่อปีสูงมาก

ผลของการออกสะพานเงินกู้ ทำให้ GPSC ต้องยอมรับในเงื่อนไขของสินเชื่อระยะสั้นที่กำหนดให้บริษัทต้องปรับโครงสร้างเงินทุน โดยพิจารณาเพิ่มทุนไม่เกิน 74,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นภายในเดือนเมษายน 2562

การเพิ่มทุนจากทุนจดทะเบียนเดิม 14,983.01 ล้านบาท อีก 74,000 ล้านบาท หรือเกือบ 5 เท่าตัว ให้กลายเป็นทุนจดทะเบียน 88,983.01 ล้านบาท สามารถพิจารณาได้หลายมุมมองบวกและลบ แม้ว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2561 ของ GPSC จะอนุมัติการเข้าซื้อหุ้น GLOW ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 99.98% ของเสียงทั้งหมด และยังอนุมัติการออกหุ้นกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศในวงเงินไม่เกิน 68,500 ล้านบาท (แต่ไม่มีการอนุมัติการเพิ่มทุนใหม่) ไปแล้วก็ตาม

จะอย่างไรก็ตามทางลูกค้า GLOW ซึ่งก็คือกลุ่มบริษัทในเครือของ “ปูนซิเมนต์ไทย” ออกมาส่งสัญญาณต่อต้านเช่นนี้แล้ว ว่าไม่อยากต้องกลายสภาพเป็นลูกค้าของคู่แข่ง

ฉะนั้น “ซินเนอร์จี้” ที่ทาง GPSC เคยอยากจะสื่อสารกับสังคมเพื่อเป็นการบ่งบอกว่า “การทุ่มเม็ดเงินกว่าแสนล้าน” ครั้งนี้คุ้มค่า โดยเฉพาะที่ว่าความสามารถในการทำกำไรของ GLOW จะดีขึ้น เนื่องจากบริษัทมีศักยภาพในการขายไอน้ำและไฟฟ้าสูงกว่า คงอาจจะเกิดขึ้นยาก หรืออาจไม่มีวันเกิดขึ้นเลยก็ได้ อย่างไรอย่างนั้นนะซี

แล้วแบบนี้ที่ว่าจะคุ้มเนี่ย ตกลงจะคุ้มจริงหรือเปล่า ???

อิ อิ อิ

Back to top button