ด่วน! BGRIM เข้าวินรฟฟ.ไฮบริด “อู่ตะเภา” เฟสแรก 145MW ลุยคว้างานระยะสองเพิ่มเท่าตัว!!

ด่วน! BGRIM เข้าวินรฟฟ.ไฮบริด "อู่ตะเภา" เฟสแรก 145MW ลุยคว้างานระยะสองเพิ่มเท่าตัว!!


บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ตามที่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 บริษัทได้จัดทำข้อเสนอการดำเนินโครงการงานระบบไฟฟ้าและน้าเย็น พื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกผู้ประกอบการดำเนินโครงการงานระบบไฟฟ้าและน้าเย็นในพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (คณะกรรมการคัดเลือก) ซึ่งข้อเสนอของบริษัทประกอบด้วยแผนการดำเนินงานโรงไฟฟ้ารูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานสูงสุด

ทั้งนี้ แผนการดำเนินโครงการเป็น 2 ระยะ แบ่งเป็นโครงการระยะที่ 1 ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 80 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 15 เมกะวัตต์ และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) 50 เมกะวัตต์ชั่วโมง รวม 145 เมกะวัตต์

ส่วนโครงการระยะที่ 2 ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 80 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และ/หรือติดตั้งบนหลังคา และ/หรือแบบลอยน้ำ 55 เมกะวัตต์ รวม 135 เมกะวัตต์

โดยมีระยะเวลาในการพัฒนาและดำเนินการก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2564 และโครงการระยะที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2566 โดยตามข้อเสนอของบริษัทนั้น คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้กับพื้นที่รับผิดชอบหลักบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาและพื้นที่รับผิดชอบรองในส่วนของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ พร้อมทั้งจำหน่ายน้ำเย็นให้กับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาตามแผนการดำเนินงานโครงการระยะที่ 1 ได้ ภายในเดือนมกราคม 2564

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา กองทัพเรือได้มีหนังสือแสดงเจตนารมณ์และแจ้งผลการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อดำเนินโครงการระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น พื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยตกลงคัดเลือกข้อเสนอของบริษัทสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในระยะที่ 1 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 80 เมกะวัตต์) และให้บริษัทเป็นผู้จัดทำรายละเอียดโครงการตามที่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดและขอบเขตของงาน (Term of Reference : TOR)

ทั้งนี้ ในส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามข้อเสนอของบริษัทนั้น บริษัทมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน และร่วมพิจารณากับคณะกรรมการคัดเลือก กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ข้อกำหนดและขอบเขตงานโครงการตามข้อเสนอของบริษัทโดยถูกต้องครบถ้วนต่อไป

อนึ่ง เมื่อบริษัทได้จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดและขอบเขตของงาน (Term of Reference : TOR) รวมถึงสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว บริษัทจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เรื่องการเข้าทารายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัดต่อไป

 

สำหรับโครงการดังกล่าวได้มีกลุ่มลูกค้าโดยแบ่งสัดส่วนเป็น 80 เมกะวัตต์ สำหรับหรับทหารเรือ, 40 เมกะวัตต์ สำหรับสนามบินอู่ตะเภาและผู้ประกอบการในสนามบิน ขณะที่ส่วนที่เหลือใช้สำหรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

Back to top button