เปิดโผ 15 หุ้นน่าเก็บเดือนพ.ย.เน้นราคาร่วงแรง-พื้นฐานแกร่ง-งบฯ Q3 เด่น

เปิดโผ 15 หุ้นน่าเก็บเดือนพ.ย.เน้นราคาร่วงแรง-พื้นฐานแกร่ง-งบฯ Q3 เด่น นำโดย WHA,SAT,ANAN, CENTEL, EPG, KTB,STA,CHG, CK,TISCO, PRM, PTTEP TKN, BEM,QH


เข้าสู่การลงทุนเดือนพฤศจิกายน “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงทำการรวบรวมกลยุทธ์การลงทุน พร้อมปัจจัยที่ต้องจับตาในการลงทุนมานำเสนอโดยอาศัยบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ 4 แห่ง ประกอบด้วย บล.เอเซีย พลัส,บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.กรุงศรี และบล.เอเชีย เวลท์

โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าเดือนต.ค.ที่ผ่านมานับว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยได้ปรับฐานลงแรงจนทำให้ Expected P/E ปี 2562 อยู่ที่ 14.5 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นระดับ Valuation ที่น่าสนใจเข้าลงทุน อีกทั้งจึงเชื่อว่า downside risk ของ SET Index น่าจะจำกัด

ดังนั้นจึงมองว่ากลยุทธ์ในการลงทุนเดือนพ.ย.ควรเน้นไปที่หุ้นพื้นฐานดีมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และกลุ่ม Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลักควบคู่กับหุ้นปันผลสูงและราคาหุ้นปรับฐาน อาทิ WHA,SAT,ANAN, CENTEL, EPG, KTB,STA,CHG, CK,TISCO, PRM, PTTEP TKN, BEM,QH

 

บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ และเป็นการซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นหลัก ขณะที่ต่างชาติขายน้อยลง ปัจจัยกดดันตลาดยังให้น้ำหนักการประกาศสงคมการค้าสหรัฐ-จีน อีก 2.57 แสนล้านเหรียญฯ ต้น ธ.ค. นี้

ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเริ่มชะลอตัว หากไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ น่าจะส่งสัญญาณว่าการโยกเงินลงทุนจากทรัพย์สินเสี่ยงไปตสารหนี้เริ่มใกล้จุดสิ้นสุด ซึ่งอาจทำให้เห็นเม็ดเงินลงทุนย้ายมาตลาดหุ้นเกิดใหม่อีกครั้ง ระยะสั้น SET น่าจะติดแนวต้าน 1680-1690 จุด Top picks WHA([email protected]) และ SAT(FV@B29) ฟื้นตัวน้อยกว่าตลาด

สรุป Fund Flow เดือน ต.ค. 61 พบว่า ความกังวลต่อผลกระทบสงคมการค้าจีน – สหรัฐ และการเข้าสู่ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น กดดันตลาดหุ้นตกหนัก ขณะเดียวกัน Fund Flow ไหลออกตลาดหุ้นภุมิภาคสูงสุดในปีนี้กว่า 1.14 หมื่นล้านบาท และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ (ยละเอียดดังตางทางด้านล่าง) เช่นเดียวกับไทยที่เดือน ต.ค. เป็นเดือนที่ถูกขายสุทธิมากสุดในปีนี้กว่า 1.96 พันล้านเหรียญ หรือ 6.43 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มียอดขายรวมทั้งปีสูงถึง 2.76 แสนล้านบาท (ytd)

แนวโน้ม Fund Flow ในเดือน พ.ย. 61 แม้สถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี ต่างชาติมักขายหุ้นไทยมากสุดในเดือน พ.ย. เฉลี่ย 1.4 หมื่นล้านบาท แต่ในเดือน ต.ค. 61  ที่ผ่านมา ต่างชาติขายหุ้นไทยหนักสุดในปีนี้ กดดันให้ตลาดหุ้นปรับฐานแรงกว่า 5% (ปรับฐานแรงสุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ปลายปี 2558 เป็นต้นมา) ทำให้เชื่อว่า เดือน พ.ย. 61 นี้ แรงขายต่างชาติน่าจะเบาลง และสลับกลับมาซื้อบ้าง ประกอบกับสถาบันฯน่าจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงตลาดในช่วงที่เหลือของปี

เนื่องจากในช่วงท้ายของปี คาดว่าจะมีเม็ดเงิน LTF ทยอยเข้ามาหนุนตลาดฯ ว 59.7% ของเม็ดเงินซื้อ LTF ทั้งปี (เดือน พ.ย. 12.7% และ ธ.ค. 47%) หากเปรียบเทียบกับปี 2560 ที่มียอดซื้อทั้งปี 6.45 หมื่นล้านบาท น่าจะมีเม็ดเงิน LTF เข้ามาหนุนตลาดฯช่วงที่เหลือของปี ว 3.85 หมื่นล้านบาท สอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี ใน 2 เดือนสุดท้าย SET Index มักปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.44% และให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 7 ใน 10 ปี

คาด SET Indexฟื้นตัวได้ต่อตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐที่ได้ momentum เชิงบวกจากตลาดแรงงานที่ดีกว่าคาด รวมทั้งผลประกอบการ บจ. ที่ดีกว่าคาดเช่นกัน  นอกจากนี้ยังเป็นการฟื้นตัวหลังจากตลอดเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ดัชนีได้สะท้อนประเด็นกดดันจากสงคมการค้าไปมากแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยกดดันที่รออยู่ข้างหน้า คือ สหรัฐน่าจะยังเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่ากว่า 2.57 แสนล้านเหรียญ ภายหลังการประชุม G20 วันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. เสร็จสิ้น และการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ รวมทั้งปัจจัยเรื่องคาน้ำมันที่อาจปรับลดลงได้หลังจากนี้จาก supply ใหม่ที่ออกมา

สำหรับตลาดหุ้นไทย หลังจากปรับฐานมาตลอดเดือน ต.ค. จนทำให้ Expected P/E ปี 2562 อยู่ที่ 14.5 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นระดับ Valuation ที่น่าสนใจเข้าลงทุน จึงเชื่อว่า downside risk ของ SET Index น่าจะจำกัด  โดยมีแนวรับสำคัญอยู่ที่บริเวณ 1580-1600 จุด อีกทั้งตลาดหุ้นไทยถูกกดดันมานานและปรับลดลงมากกว่าตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว จึงเป็นตัวช่วยจำกัดกรอบในการปรับฐานลง

ขณะที่กระแส Fund Flow แม้จะยังไม่เห็นสัญญาณการไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ แต่ก็มีโอกาสที่เม็ดเงินจะออกจากสินทรัพย์ปลอดภัยมายังสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ตบเมื่อ Bond Yield 10 ปีของสหรัฐ ไม่ขึ้นทำระดับสูงสุดใหม่ หรือทรงตัวในระดับปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่ปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

กล่าวโดยสรุป ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้หลังจากถูกกดมานาน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงข้างหน้ารออยู่ อย่างไรก็ตาม downside ก็ถูกจำกัดด้วย Valuation ที่น่าสนใจ จึงแนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี โดยเน้นไปที่หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ควบคู่กับหุ้นปันผลสูง หรือหุ้นส่งออกที่มีปัจจัยหนุนระยะสั้น คือ CPF(FV@B30) ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อน และ SAT(FV@B29) กระแสการลงทุน FDI รอบใหม่ และยังได้รับคำสั่งซื้อใหม่จากสหรัฐ

 

บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลยุทธ์การลงทุนเดือน พ.ย. ตลาดหุ้นไทยในเดือนที่ผ่านมาปรับลงผิดคาด ปัญหางบประมาณอิตาลีส่งผลให้เม็ดเงินไหลออกจากหุ้นทั่วโลก และทำให้ปัจจัยบวกเฉพาะตัวของไทยถูกบดบังไป แต่เชื่อว่าในช่วงโค้งสุดท้ายของปีที่เข้าใกล้วันหยุดยาวของต่างชาติ แรงซื้อ LTF, RMF แนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง.ในช่วงสิ้นปี และประเด็นเลือกตั้ง จะทำให้บรรยากาศการลงทุนในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีดีขึ้น

สำหรับเดือนพ.ย.นี้ซึ่งเป็นเดือนแห่งผลประกอบการคาดกำไร ไตรมาส 3/61 ทรงตัว เทียบไตรมาสก่อนหน้าแต่เพิ่ม 10-15% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและไม่น่ามี Negative surprise เพราะผ่านการปรับลดประมาณการมาแล้ว ยังเชื่อว่า SET มีโอกาสทดสอบ 1,800-1,850 จุดก่อนการเลือกตั้ง แต่เป้าสิ้นปีนี้ยังคงไว้ที่เดิม 1,750 จุด หุ้นที่เลือกในเดือนนี้เน้นหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวและราคาหุ้นปรับฐานแล้วได้แก่ CHG, CK, TISCO, PRM, PTTEP

 

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เดือน ต.ค. SET Index ลดลง 5% จากหลายปัจจัยลบรุมเร้า ขณะที่พอร์ตการลงทุนของให้ผลตอบแทนน่าผิดหวังติดลบ 10.2% แนวโน้มเดือน พ.ย. ยังมองบวกคาด SET ฟื้นตัวทดสอบแนวต้าน 1,700 -1,730 จุด

กลยุทธ์ Selective buy เน้นหุ้นที่ผลประกอบการ ไตรมาส 3/61 ดีและดีต่อเนื่องในปี 2019, หุ้นที่คาร่วงแรงแต่พื้นฐานไม่เปลี่ยน Valuation เริ่มน่าสนใจ และเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐชดเชยการส่งออกที่หดตัว อาทิ ท่องเที่ยว, รับเหมา และ นิคมฯ  โดยมีหุ้น Top pick คือ ANAN, CENTEL, EPG, KTB, และ STA

 

บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้: จากภาวะ Oversold มาตลอดเดือน ต.ค.61 คาดว่าในเดือน พ.ย.61 นี้ ตลาดหุ้นอาจจะขึ้นไม่ไกลไหลไม่ลึก ดังนั้นยังแนะนำนักลงทุนหาหุ้นที่มีปัจจัยบวกในอนาคตข้างหน้า และคาหุ้นอยู่ในภาวะ Oversold เข้าลงทุน กรอบดัชนีวันนี้คาดการณ์ไว้ 1,655-1,685 จุด หุ้นแนะนำ TKN, BEM, QH

*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button