5 หุ้นแบงก์กอดคอกันร่วง! โบรกฯชี้ศก.ชะลอตัวส่งผลลบไม่ขึ้นดอกเบี้ย เล็งหั่นประมาณการกำไร

5 หุ้นแบงก์กอดคอกันร่วง! โบรกฯชี้ศก.ชะลอตัวส่งผลลบไม่ขึ้นดอกเบี้ย เล็งหั่นประมาณการกำไร


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลงถ้วนหน้า นำโดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ณ เวลา 12.06 น. อยู่ที่ระดับ  192.50 บาท ลบ 4.00 บาท หรือ 2.04% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.09 พันล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ณ เวลา 12.07 น. อยู่ที่ระดับ 204.00 บาท ลบ 2.00 บาท หรือ 0.97%ด้วยมูลค่าซื้อขาย 642.52 ล้านบาท

ด้านนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ณ เวลา 12.08 น. อยู่ที่ระดับ 134.00 บาท ลบ 2.50 บาท หรือ 1.83% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 595.71 ล้านบาท ส่วนนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB  ณ เวลา 12.09 น. อยู่ที่ระดับ 19.60 บาท ลบ 0.20 บาท หรือ 1.01% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 183.25 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ณ เวลา 11.08 น. อยู่ที่ระดับ 40.00 บาท ลบ 0.50 บาท หรือ 1.23% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 2.43 ล้านบาท

บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ระบุว่า จีดีพีในไตรมาส 3/61 ชะลอตัวลงต่อเนื่องเหลือ 3.3% (ต่ำกว่าประมาณของตลาดรวม และเคจีไอ ที่ประมาณ 4.2%/4.3%) จะส่งผลลบต่อการเติบโตของรายได้กลุ่มธนาคาร อันเป็นผลจากโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ได้น้อยกว่าคาดการณ์เดิม ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มส่วนต่างดอกเบี้ยธนาคารในปีหน้า

ทั้งนี้ประมาณการเติบโตเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ KGI ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2561 ลงเหลือ 4.3% (จากเดิม 4.8%) และอาจจะเป็น 4.5% ในปีหน้า (ลดลงจากเดิม5.1%)

นอกจากนี้ GDP ที่ชะลอตัวลงก็อาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ระดับเดิมไปอีกระยะหนึ่ง (จากเดิมที่คาดว่าจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้นตั้งแต่ปลายปีนี้) ทั้งนี้าใช้สมมติฐานในกรณีฐานว่า margin ปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 10bps และหนุนให้กำไรสุทธิโตได้ประมาณ 4% (คาดว่ากำไรของกลุ่มในปี 2561/62 จะโต +11%/+8%)

ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นได้ช้าลง ทำให้กำไรของธนาคารมีความเสี่ยงลดลงประมาณ 4% จากประมาณการเดิมทั้งนี้ อาจจะต้องปรับลดประมาณการกำไรของ BBL, KBANK, TMB, KTB, และ SCB ลง

เท่าที่ผ่านมาในรอบปีนี้ ธนาคารส่วนใหญ่สามารถบริหารจัดการ NPL ให้ทรงตัวได้ และ NPL coverage ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการตัดหนี้สูญ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง KBANK, KTB, TMB, และ BBL) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะเศรษฐกิจพลิกมาเป็นขาลง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการไหลกลับของหนี้ปรับโครงสร้างมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง KBANK ซึ่งสินเชื่อปรับโครงสร้างคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 10% ของสินเชื่อรวม ในขณะที่ของ BBL, KTB, และ SCB อยู่ที่ 5-6% เท่านั้น ใช้สมมติฐานในกรณีฐาน ว่า credit cost ของกลุ่มธนาคารจะลดลงเกือบ 10bps โดยคาดว่าของ KBANK จะลดลง 20bps เหลือ 165bps ในปีหน้า

จากการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ความเสี่ยงที่กำไรของ BBL จะต่ำกว่าที่คาดไว้จะมาจากการที่สินเชื่อไม่โตตามคาด ในขณะที่ความเสี่ยงของ KBANK จะมาจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองจากหนี้ปรับสร้าง ดังนั้น หากคุณภาพสินทรัพย์แย่ลงก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงด้าน downside ต่อกลุ่มธนาคาร สำหรับในแง่ราคาหุ้นนั้น P/E ของธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ forward P/E 10x/9x ของกำไรปี 2561/62F

Back to top button