4 หุ้นแบงก์วอลุ่มแน่น! ขานรับกนง.ขึ้นดอกเบี้ย หนุน SET บ่ายพุ่งต่อ 10 จุด

4 หุ้นแบงก์วอลุ่มแน่น! ขานรับกนง.ขึ้นดอกเบี้ย หนุน SET บ่ายพุ่งต่อ 10 จุด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย ณ เวลา 15.04 น. อยู่ที่ระดับ 1,593.50 จุด บวก 10.31 จุด หรือ 0.65% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 27,369.27 ล้านบาท รับแรงซื้อหุ้นแบงก์หลังกนง.ขึ้นดอกเบี้ย นำโดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK  ณ เวลา 14.58 น. อยู่ที่ระดับ 187.50 บาท บวก 2.50 บาท หรือ 1.35%  ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.28 พันล้านบาท

ส่วนธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ณ เวลา 14.59 น. อยู่ที่ระดับ 205.00 บาท บวก 1.00 บาท หรือ 0.49% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 639.70 ล้านบาท

ด้านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ณ เวลา 15.00 น.อยู่ที่ระดับ 138.00 บาท บวก 1.50 บาท หรือ 1.10% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 368.01 ล้านบาท

ส่วนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB  ณ เวลา 15.02 น. อยู่ที่ระดับ 20.20 บาท หรือ 0.20 บาท หรือ 1.00% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 415.48 ล้านบาท

ล่าสุดวันนี้ (19 ธ.ค. 61)ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% มาที่ 1.75%  โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต

บล.กรุงศรี ระบุว่า ประชุม กนง.มีลุ้นขึ้นดอกเบี้ย 0.25% นับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี : เหตุผลที่แบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้มาจากความร้อนแรงของเศรษฐกิจหรือเงินเฟ้อที่พุ่งสูง แต่เป็นการขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตซึ่งเกิดจากการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for yield) เบื้องต้นแบงก์กรุงศรีฯยังคาดการณ์ว่าการประชุมของแบงก์ชาติในวันที่ 19 ธ.ค.จะมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% นับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี เป็นบวกต่อ Sentiment ของหุ้นในกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ อาทิ BBL, KBANK, SCB และ KTB     

บล.เอเชีย เวลท์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBLจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เนื่องจากบริษัทมีสัดส่วนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวสูงถึง 76% หากตั้งสมมติฐานของการปรับดอกเบี้ยขึ้นทุก 25bps และตัวแปรอื่นคงที่ เราคาดกำไรสุทธิ BBL ปี 2562 จะปรับเพิ่มขึ้นราว 6.6% จากประมาณการเดิม นอกจากนี้คาดธนาคารจะได้ปัจจัยบวกจากการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่สูงขึ้น โดยเราประมาณการสินเชื่อปีหน้าจะเร่งตัวเติบโตเป็น 7% จากปีนี้ที่ 5% นอกเหนือจากนั้นแล้ว อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อเฉลี่ย (Credit cost) ปี 2562 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 85bps จากปีนี้ที่ 112bps หนุนโดยสถานการณ์คุณภาพสินทรัพย์ที่ผ่อนคลายขึ้น เราประมาณการ EPS จะเติบโต 9% ในปี 2561 และ 13.5% ในปี 2562

Price Pattern ของ BBL ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily & Monthly Buy Signal รอเพียงการกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่ก็จะทำให้ Price Pattern ของ BBL กลับเข้าสู่แนวโน้มหลักที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) อย่างเต็มตัว โดย Price Pattern ของ BBL จะกลับมาเกิด Weekly Buy Signal ครั้งใหม่เมื่อสามารถปิดตลาดรายสัปดาห์เหนือ 214 บาท เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ BBL มีเป้าหมายหลักอยู่ที่ 213 บาท โดยหาก Price Pattern ของ BBL มีความแข็งแกร่งที่มากพอ โดยสามารถ Break ด้วยการปิดตลาดเหนือ 213 บาทได้สำเร็จ จะเป็นการบ่งบอกถึงการทำ New High ครั้งใหม่ โดยมีเป้าหมายแรกเพื่อทดสอบ High เดิมที่ 233 บาท และมีเป้าหมายแรกของการทำ New High อยู่ที่ 257 บาท ทั้งนี้ BBL มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 205 บาท (Resistance: 208.00, 210.00, 212.00; Support: 204.00, 202.00, 200.00)

 

Back to top button