จัดทีเด็ด 4 หุ้นค้าปลีก แนวโน้มผลงานเด่นสุด-ราคา Laggard

จัดทีเด็ด 4 หุ้นค้าปลีก แนวโน้มผลงานโตเด่นสุด-ราคา Laggard


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากหุ้นในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับแรงหนุนหลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค. พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง  1.64%

ขณะที่หุ้นค้าปลีกเป็นหุ้นที่จะตอบรับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโตหลังจากมีพัฒนาการทางการเมือง ที่เลือกตั้งในเดือน มี.ค. 2562

โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (7 ก.พ.2562) โดยมองว่า หุ้นค้าปลีกได้แรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการเมืองในประเทศ ขณะที่ตลาดน่าจะได้แรงหนุนจากหุ้นค้าปลีก หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ม.ค. พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง  1.64% จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน หลังมีพัฒนาการทางการเมือง ที่จะนำไปสู่วันเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 รวมไปถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีแนวโน้มผ่อนคลายอย่าง  และนักท่องเที่ยวจีนที่เริ่มฟื้นตัว หลังรัฐขยายมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม VISA

ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค  ถือเป็นดัชนีชี้นำกลุ่มค้าปลีก ซึ่งจะหนุน อัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า แต่ด้วยสภาพการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง รวมทั้งการขยายสาขาใหม่ที่มีแนวโน้มทำได้จำกัดมากขึ้น บรรดาผู้ประกอบการรายต่างๆ ในกลุ่มฯ ที่จดทะเบียนในตลาดฯ ต่างวางกลยุทธ์และชูจุดเด่นที่แตกต่างกัน  เช่น

BJC แม้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อจะได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูง แต่จุดแข็งคือ ธุรกิจดั้งเดิม (จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค, บรรจุภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์+เครื่องมือแพทย์) ที่มีมาร์จิ้นสูง และการกระจายตัวของฐานลูกค้า โดย BJC ขยายฐานลูกค้าทีเป็น HORECA  พร้อมขยายสาขาไปต่างประเทศในรูปแบบ Hypermarket แต่จะเน้นเปิดสาขาแถบชายแดน เพื่อใช้ฐานธุรกิจในไทยสนับสนุน ช่วยให้ไม่มีต้นทุนส่วนเพิ่มอย่างมีนัยฯ

CPALL จุดเด่นยังคงเป็นจำนวนสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 1 หมื่นแห่ง และมีแผนที่จะขยายสาขาใหม่ที่ยังมีแผนเปิด 700 สาขาต่อปี ทั้งยังมีการพัฒนาสินค้าอาหารพร้อมทานด้วยการทดลองเปิดสาขาที่ให้บริการโดยตู้อัตโนมัติและบริการตนเอง เป็นการตอบโจทย์ Life Style คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังเน้นไปที่สินค้า Private Brand ที่มีอัตรากำไรสูงให้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านการบริการรับ-ส่งสินค้า, การเป็นแบงก์กิ้ง เอเย่นต์ รับฝาก-ถอนเงินสด เป็นต้น

ROBINS แม้ SSSG และการเพิ่มสินค้า Private Brand จะยังไม่โดดเด่นเท่าใดนัก แต่จุดแข็งจะเป็นการขยายสาขาใหม่ ที่เน้นไปต่างจังหวัดที่การแข่งขันน้อยกว่าในกทม. รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ให้เช่า แก่ร้านค้าที่มีชื่อเสียง เพื่อให้เป็นจุดที่ พบปะสังสรรค์ (Robinson Lifestyle) ของครอบครัวและคนรุ่นใหม่  รวมยังปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น ด้วยการเพิ่มจุดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ล่าสุด หันมาเน้นทำกลยุทธ์ Omnichannel เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่มากขึ้น

HMPRO จุดแข็ง ยังคงเน้นการเพิ่มสัดส่วนสินค้า Private Brand ที่มีอัตรากำไรสูงมากขึ้น และการขยายสาขาใหม่ด้วยขนาดที่เล็กลงเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบริการใหม่ๆ เช่น การติดตั้งและรับซ่อมบำรุง นอกจากนี้ การขยายสาขาไปยังต่างประเทศได้ระยะหนึ่งแล้วในมาเลเซีย และน่าจะเริ่มเข้าสู่จุดคุ้มทุนได้ในเร็วๆ นี้

โดยรวมคาดว่า ทิศทางกำไรกลุ่มค้าปลีก – ค้าส่ง ในปี 2562 จะเติบโตที่ราว 10.6% จากปีก่อน แต่ด้วยระดับ Valuation ของกลุ่มฯ ที่เริ่มแพงขึ้น สะท้อนจากระดับ PER ปัจจุบันที่ 30.6 เท่า ระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ทำให้ Upside ในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่เหลือน้อยลง กลยุทธ์การลงทุนกลุ่มค้าปลีก จึงควรเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต แต่ยัง Laggard โดยเลือก BJC (FV@B61) เป็น Top Pick โดยมีตัวเลือกรองมาคือ HMPRO ([email protected]) ที่ปี 2562 เติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่ม ขณะที่ยังพอเหลือ Upside ลงทุนได้ ส่วน CPALL แม้แข็งแกร่งสุดในกลุ่ม แต่ราคาที่ปรับตัวขึ้นแรง จนเริ่มมี Upside จำกัด ควรเน้นลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว

Back to top button