AECS เซ็น MOU “แคปปิตอล ทรัสต์” เสริมแกร่งเทคโนโลยี “บล็อกเชน” มุ่งสู่ผู้นำการเงินยุคใหม่

AECS เซ็น MOU “แคปปิตอล ทรัสต์” เสริมแกร่งเทคโนโลยี "บล็อกเชน" มุ่งสู่ผู้นำการเงินยุคใหม่


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 มี.ค.2562) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมเทคโนโลยีการเงิน (Fin-Tech) และส่งเสริมสภาพเศรษฐกิจ ระหว่าง บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS โดย ม.ร.ว. สมลาภ กิติยากร ประธานกรรมการและกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ดร. พศิน สืบทรัพย์อนันต์ กรรมการ บริษัท แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป ลิมิเต็ด ซึ่งบันทึกข้อตกลงทั้ง 2 ฝ่ายในครั้งนี้ จะเป็นการช่วยส่งเสริมมีความแข็งแกร่งด้านการวางแพลตฟอร์มทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีด้านบล็อกเชน (Blockchain Technology) และเทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) ขั้นสูง

โดยความร่วมมือของทั้ง 3 องค์กรในครั้งนี้ จะนำร่องโครงการแรก ด้วยการนำเทคโนโลยี Fintech ที่พัฒนาโดย “แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป” ในรูปแบบ “Proprietary Trading” เพื่อสร้างอาชีพใหม่ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน โดยได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN-ESCAP)

สำหรับกรอบวัตถุประสงค์ของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้  จะมีประเด็นหลัก 4 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 1. การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ (Fintech) รวมถึงการถ่ายโอน knowledge และ know-how เข้ามาประยุกต์ใช้ในการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน เช่น Blockchain, Social Trading, Proprietary Trading และ iBillionaire Programme  2.การนำทุน ทั้งทุนจริงและทุนดิจิทัลระหว่างภูมิภาค อาทิ เช่น ในยุโรป, อเมริกา,เข้ามาในภูมิภาคอาเซียน

โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศรัสเซียโดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่ตั้งหลัก  3. ส่งเสริมการสร้างโอกาสในการทำงานและดูเเลตัวเองตั้งแต่ธุรกิจ SME, Start-up และผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ทุพพลภาพ และ 4. ปลูกฝังการอบรมความรู้ขั้นพื้นฐานด้านการเงินและการลงทุนให้กับ SME, Start-up, ผู้สูงอายุตลอดจนผู้ทุพพลภาพ รวมถึงนักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป

ด้านนายไววิทย์ อุทัยเฉลิม กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS และผู้บริหารฝ่ายดิจิทัล แอสเซท เมเนจเม้นท์ เปิดเผยว่า การร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี สำหรับ AECS ที่พร้อมประกาศตัวเป็น New Global Acceptance Era เปิดทศวรรษใหม่ของการลงทุนด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน ฟินเทค Fintech โดยเราจะ นำร่องโครงการแรก ด้วยการนำเทคโนโลยี ฟินเทค พัฒนา Proprietary Trade เพื่อสร้างงานใหม่ด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน

โดยได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN-ESCAP) ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าว จะยิ่งเป็นการตอกย้ำให้ AECS  มีความแข็งแกร่งด้านทางธุรกิจ ด้าน เทคโนโลยี ฟินเทค Fintech มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัทฯ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์มากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี Blockchain ที่สามารถเชื่อมต่อโลกการลงทุนเข้าไว้ด้วยกัน ประกอบกับนโยบายภาครัฐ  ที่ต้องการผลักดันประเทศไปสู่ Thailand 4.0 โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ดังนั้น AECS จึงให้ความสำคัญกับการนำแพลตฟอร์มทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี  Fintech เข้ามาขับเคลื่อนด้วยเช่นกัน และยังถือเป็นการสอดรับ กับแผนการปรับกลยุทธ์โครงสร้างทางองค์กรใหม่ เพื่อเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจการเงินดิจิทัลยุคใหม่ ภายใต้ AEC Securities 4.0: New Era of AEC Securities in Global Fintech Hub

ด้าน ดร.พศิน สืบทรัพย์อนันต์ กรรมการ บริษัท แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป ให้รายละเอียดของ “Proprietary Trading” ว่า เป็น Fintech สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจเทรดหุ้น แต่ขาดข้อมูลมากพอที่จะเลือกหุ้น หรือจับจังหวะการซื้อ-ขาย โดยกลไกของ Fintech ตัวนี้ จะมีเทรดเดอร์ต้นแบบ ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุน เป็นโมเดลให้ Copy

โดยผู้ลงทุนจ่ายเพียงค่า Fee ในการใช้บริการ Fintech เท่านั้น ซึ่งความร่วมมือกับ AECS ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในไทย และเป็นบริษัทนายหน้าแห่งแรกของไทย ที่จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับกับระบบของ “แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป” ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังความร่วมมือในครั้งนี้คือ นักลงทุนต่างชาติจะสามารถเทรดหุ้นไทยได้ง่ายขึ้น อันจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับตลาดทุนไทยได้อีกทาง

“เมื่อผู้ลงทุน Copy โมเดลต้นแบบแล้ว จะได้หุ้นตัวเดียวกับโมเดลต้นแบบทั้งหมด โดยหากมีการขายหุ้น หรือซื้อหุ้นเพิ่มเกิดขึ้น ระบบก็จะจับจังหวะซื้อและขาย ตามโมเดลต้นแบบด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน “Proprietary Trading” ของ “แคปปิตอล ทรัสต์ กรุ๊ป” ให้บริการซื้อขายหุ้นในต่างประเทศอยู่แล้ว และยังมีเทรดเดอร์ที่เป็นโมเดลต้นแบบอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการเชื่อมต่อกับบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์จากทั่วโลกแล้วกว่า 900 บริษัท ด้วยเงินลงทุนรวมราว 80 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ” ดร.พศิน กล่าว

Back to top button