สรุปภาวะตลาดต่างประเทศวานนี้

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 10 เม.ย. 2562


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่า สหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) คิดเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,150.58 จุด ร่วงลง 190.44 จุด หรือ -0.72% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,878.20 จุด ลดลง 17.57 จุด หรือ -0.61% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,909.28 จุด ลดลง 44.61 จุด หรือ -0.56%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) โดยหุ้นเกือบทุกกลุ่มลดลง หลังสหรัฐขู่เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย

ดัชนี Stoxx Europe 600 ลบ 0.47% ปิดที่ 385.68 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,436.42 จุด ลดลง 35.35 จุด หรือ -0.65% และ ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 11,850.57 จุด ลดลง 112.83 จุด หรือ -0.94% ขณะที่ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.57 จุด ลดลง 26.32 จุด หรือ -0.35%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากการที่สหรัฐขู่เก็บภาษีสินค้านำเข้าของสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมันขนาดใหญ่ปรับตัวลง หลังรัสเซียส่งสัญญาณเพิ่มการผลิตน้ำมัน และนักลงทุนยังคงรอดูความคืบหน้าเกี่ยวกับการถอนตัวของอังกฤษออกจาก EU (Brexit)

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,425.57 จุด ลดลง 26.32 จุด หรือ -0.35%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงาน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 42 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 63.98 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 49 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 70.61 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงเมื่อคืนนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 6.40 ดอลลาร์ หรือ 0.49% 1,308.30 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 0.5 เซนต์ หรือ 0.03% ปิดที่ 15.211 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 13.60 ดอลลาร์ หรือ 1.49% ปิดที่ 899.30 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 9.50 ดอลลาร์ หรือ 0.7% ปิดที่ 1362.60 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนและยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ พร้อมกับปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐและยูโรโซนในปีนี้เช่นกัน

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 111.11 เยน จากระดับ 111.51 เยน แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9995 ฟรังก์ จากระดับ 0.9990 ฟรังก์ และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3322 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3311 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1266 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1261 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงสู่ระดับ  1.3042 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3066 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7125 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7126 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button