บริหารความเสื่อม

มันไหวหรือครับ ที่ประกาศรายชื่อ 250 วุฒิสมาชิกออกมา มีแต่เสียง “ร้องยี้” กันไปทั่วบ้านทั่วเมือง สะท้อนจากพาดหัวหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ในเช้าวันที่ 15 พ.ค. 62 ซึ่งไม่มีสักฉบับเดียวที่ยกย่องชมเชย แม้กระทั่งค่ายน.ส.พ.ฝ่ายโปรรัฐบาลก็ตาม


ขี่พายุทะลุฟ้า : ชาญชัย สงวนวงศ์

มันไหวหรือครับ ที่ประกาศรายชื่อ 250 วุฒิสมาชิกออกมา มีแต่เสียง “ร้องยี้” กันไปทั่วบ้านทั่วเมือง สะท้อนจากพาดหัวหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ในเช้าวันที่ 15 พ.ค. 62 ซึ่งไม่มีสักฉบับเดียวที่ยกย่องชมเชย แม้กระทั่งค่ายน.ส.พ.ฝ่ายโปรรัฐบาลก็ตาม

ค่ายยักษ์ใหญ่ไทยรัฐพาดหัวใหญ่ “คลอด 250 ส.ว.” เด็กตู่ – ป้อม “พรึ่บ” :ทหาร 91 – สนช. 83 – ตำรวจ 14 ผัวเมีย –พี่น้องมาเพียบ ส่วนค่ายภาษาอังกฤษ บางกอก โพสต์ ยิ่งหนัก พาดหัวใหญ่Senators seen as PM puppets”

แปลเป็นไทย ก็คืเผยโฉมส.ว.หุ่นเชิดนายกรัฐมนตรี” ซึ่งบางทีก็อาจจะแปล puppets”เป็นสุนัขรับใช้” ได้เช่นกัน

ต้นทุนการสรรหาส.ว เพื่อมาเลือกนายกรัฐมนตรีและมากลั่นกรองกฎหมายเที่ยวนี้ อยู่ที่ 1,300 ล้านบาท และก็ได้ส.ว. ที่ไม่มีสื่อฉบับใดเชียร์สักฉบับอย่างที่เห็น ๆ กันนี่แหละ

อาจจะหนักข้อกว่าสภาผัวเมีย” ที่เคยโจมตีเขาไว้เอาด้วยซ้ำ

พี่น้องก็มากันครบ ทั้งน้องป้อม น้องตู่ – น้องวิษณุ – พี่เฮียกวง นอกนั้นก็ล้วนแล้วแต่คนจากแม่น้ำ 5 สาย วัวเคยค้ามาเคยขี่กันมาครบถ้วนชนิดไม่ต้องแคร์มาตรา 114 แห่งรัฐธรรมนูญที่ระบุส.ส.และส.ว.ต้องไม่อยู่ใต้อาณัติใครหรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

ถามว่าใครตั้งส.ว.มาล่ะครับ แล้วส.ว.จะไปขัดใจคนตั้งได้อย่างไร ใครไม่สนองก็ต้องปลด เพราะมีรายชื่อสำรองส.ว. รอไว้อยู่แล้วจำนวน 50 รายชื่อ

ส.ว.ที่เขามาตามการแต่งตั้งของคสช. จะมีวาระการทำงาน 5 ปี มีผู้คิดค่าใช้จ่ายสำหรับส.ว. 1 คนเอาไว้น่าสนใจดี ดังนี้

เงินเดือนส.ว.113,000 บาท มีผู้เชี่ยวชาญ 1 อัตรา 24,000 บาท ผู้ชำนาญการ 2 อัตรา 15,000 บาท รวมเดือนละ 227,000บาท รวม 5 ปี คิดเป็นเงิน 13,620,000 บาท

นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ค่าเดินทางต่อปี 1,500,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล/ปี 15,000 บาท เบี้ยประชุมกรรมาธิการครั้งละ 800 บาท (เฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน) รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 5 ปี 8,535,000บาท

รวมค่าใช้จ่าย 5ปี/คน 22,155,000 บาท จำนวนส.. 250 คน จึงต้องใช้งบประมาณ 5ปี รวมทั้งสิ้น 5,538,750,000 บาท

คุ้มกันหรือไม่กับการมีสภา 100 นายพล สภาเพื่อนพี่น้อง ที่กระจุกตัวร่วมทำงานกันมาทั้งในคสช. ครม. สนช. และสภาปฏิรูปต่าง ๆ  ตั้งแต่ 5 ปีก่อน หาได้มีความหลากหลายและมีผู้ชำนาญการครอบคลุมทุกสาขาตามราคาคุยแต่อย่างใดไม่

แต่ก็เอาล่ะ! เมื่อรัฐธรรมนูญดีไซน์มาแบบนี้ โฉมหน้า 250 ส.ว.ที่จะมาเลือกนายกรัฐมนตรี ออกมาแบบนี้ก็ต้องยอม ๆ หยวน ๆ กันไป เพื่อให้ไทม์ไลน์ทางการเมือง เคลื่อนไปข้างหน้าต่อไปได้

หมุดหมายต่อไปก็คือ การเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประชุมร่วมกันเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็คงตกอยู่แก่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหรอกนะ เพราะมีฝักถั่วส.ว. 250 เสียงตุนไว้อยู่แล้ว หาคะแนนจากส.ส.ทั้งของพรรคตัวเองและพันธมิตรให้ได้เพิ่มอีก 126 เสียง ก็เป็นนายก ฯ ได้สมใจแล้ว

แต่จะได้เป็นรัฐบาลที่เสถียรแค่ไหน ก็ต้องวัดกันครั้งแรกที่การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ตำแหน่งจะไปตกอยู่กับขั้วฝ่ายใด

ถ้าตกกับฝ่ายพรรคพลังประชารัฐ ก็เป็นรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำไป ซึ่งเป็นอนาคตที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ถ้าเก้าอี้ประธานสภา ฯ ไปตกแก่ฝ่ายต่อต้านการสืบทอดอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ก็คงจบเห่แค่นี้

ประเด็นหลักใหญ่ใจความของการชี้ขาดโฉมหน้ารัฐบาลในเวลานี้ ก็คือ เสียงที่ยันกันอยู่ระหว่าง 245:253 เสียง ซึ่ง 245 เสียงเป็นทางฝั่งต่อต้านการสืบทอดอำนาจ และ 253 เสียงคือฝั่งสืบทอดอำนาจ ซึ่งรวมเสียงพรรคจิ๋ว 11 พรรคตามการตีความพิสดารของกกต. และรวมเสียงพรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา และชาติพัฒาแบบเต็มพรรคไว้ด้วยแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ได้ไปต่อแน่ด้วยเสียงเฉียดฉิวปริ่มน้ำ แต่หาก   “ล้วงงูเห่า” ได้เพิ่มอีกสัก 10 ตัว ก็จะเป็นรัฐบาลที่พอมีเสถีรยรภาพขึ้นมาบ้าง

ผลการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ซึ่งนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์ได้รับเลือก ไม่สู้จะเป็นผลดีต่อการฟอร์มรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์สักเท่าไหร่นัก เพราะมีแนวโน้มสูงมากว่าประชาธิปัตย์อาจจะตัดสินใจเป็นฝ่ายค้านอิสระ

ซึ่งเงื่อนไขรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จะไปต่อได้นั้น 52 เสียงของประชาธิปัตย์ต้องเข้ามาเต็มเท่านั้น “ล้วงงูเห่าปชป.”บางส่วนก็ยังไม่ได้เลย

สัปดาห์หน้า คงได้ยลโฉมหน้ารัฐบาลเสียทีแน่นอน

Back to top button