ช้อปหุ้นมีปัจจัยหนุน!

ด้วยสภาพของตลาดหุ้นที่ยังมีความผันผวนต่อเนื่อง ไร้ปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุนอย่างชัดเจน ทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังคงยากลำบาก


เส้นทางนักลงทุน

ตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาอ่อนตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และจีนที่ยังไม่ชัดเจน หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณว่าสหรัฐ ฯ ยังไม่พร้อมทำข้อตกลงการค้ากับจีน และอาจจะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนด้วย

ประสมโรงจากมีปัจจัยถ่วงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐ  (Bond Yield) อายุ  3  เดือน สูงกว่าอายุ 10 เดือน สร้างความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอ และถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจาก Bond Yield อายุ  3 เดือนของสหรัฐ  ที่สูงขึ้นเป็นการตอบรับความเสี่ยงอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ  ที่ไม่แน่นอน จากที่ Bond ระยะสั้นโดนขายและหันไปถือระยะยาว ดังนั้นอาจจะทำให้ตลาดผันผวนบ้าง

ประกอบกับเรื่องในประเทศที่ยังรอดูความชัดเจนการเมือง หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ตอบรับการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ทำให้ความมั่นใจของนักลงทุนหดหายไป รวมถึงราคาหุ้นหลายตัวกลับสู่ภาวะปกติหลังจากที่  MSCI เสร็จสิ้นการปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยไปแล้ว ตอนนี้หุ้นแต่ละตัวก็กลับมาเคลื่อนไหวไปตามปัจจัยพื้นฐาน

ด้วยสภาพของตลาดหุ้นที่ยังมีความผันผวนต่อเนื่อง….ไร้ปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุนอย่างชัดเจน พร้อมสะท้อนว่ายังมีปัจจัยลบยังมีเข้ามากดดันเป็นระลอก ดังนั้นอาจทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังคงยากลำบาก

ทั้งนี้การลงทุนในช่วงภาวะตลาดหุ้นผันผวน การลงทุนในหุ้นที่ได้รับปัจจัยบวกทางตรงและทางอ้อมมาเป็นตัวเลือกในการลงทุน  ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนเลือกกลุ่มหุ้นจากนักวิเคราะห์แนะนำอย่าง บล.ทรีนีตี้ แนะนำให้ถือลงทุนต่อไป ได้แก่

  1. กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการพิจารณาเกณฑ์  NVDR ของ  MSCI และราคาหุ้นยังคง  Laggard ได้แก่  บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC
  2. กลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะถูกนำเข้าสู่ดัชนี  SET50 ในรอบเดือนมิถุนายน ได้แก่ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP, บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD
  3. กลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะถูกนำเข้าสู่ดัชนี  SET100 ในรอบเดือนมิถุนายน ได้แก่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC
  4. กลุ่มปลีกที่ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและดูแลค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ  BJC, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ  CPALL
  5. กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH, บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH
  6. กลุ่มโรงไฟฟ้าที่ได้ประโยชน์จากแผน PDP ฉบับใหม่และยังมีการเติบโตของรายได้และกำไรปี  2562 ที่โดดเด่น ได้แก่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM
  7. กลุ่มหุ้นที่คาดว่าผลประกอบการจะพลิกฟื้นในปี 2019 อย่างโดดเด่น ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ THRE
  8. กลุ่มยานยนต์ที่ได้ประโยชน์จากยอดผลิตรถยนต์ที่อยู่ในระดับสูง และมักเป็นกลุ่มที่ปรับตัวได้ดีในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ได้แก่  บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT, บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ STANLY

 

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีบทวิเคราะห์จาก บล.กสิกรไทย แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในช่วงภาวะตลาดหุ้น ฯ ยังมีความผันผวน โดยการเน้นทยอยสะสมหุ้นกลุ่มต่อไปนี้ ได้แก่

  1. กลุ่มหุ้นที่อิงการบริโภคในประเทศ ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC, บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)  หรือ HMPRO และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
  2. กลุ่มหุ้นที่อิงกับโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ได้แก่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK, บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM  และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
  3. กลุ่มปันผลสูง ได้ประโยชน์จากเทรนดอกเบี้ยขาลง และมีเงินไหลเข้าจากกองทุนตราสารหนี้หลังโดนเก็บภาษี 15% ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ TFFIF, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ หรือ ABPIF, บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS, บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  หรือ  ADVANC และ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH
  4. กลุ่มที่งบไตรมาส 1/2562 ดี รวมถึงกำไรมีแนวโน้มถูกปรับขึ้น ได้แก่ บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE, บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) หรือ PR9, บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG, บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL และ บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) หรือ PRM   

ดังนั้นหุ้นที่นำเสนอเป็นการหยิบยกมาเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการลงทุน!!!

Back to top button