ก๊วนนิรนามแฉพฤติกรรมโหด PAEซ. ลูกเจ๊ ย. หลานคนดูไบ มีเอี่ยวเต็มๆ!

ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็ยังเข้ามาแทรก กลายเป็นวิบากกรรมของแมงเม่าที่หลงเข้าไปเล่น PAE หลังหลงเชื่อกลุ่มทุนทางการเมืองเข้ามาเป็นแบ็คอัพ สุดท้ายกลายเป็นเพียงแค่การขายฝัน ล่าสุดมีการพุ่งเป้าไปที่ ซ.ลูกเจ๊ ย. หลานคนดูไบ เป็นต้นเหตุทำบริษัทล่มจ่ม แถมยังปล่อยให้ “เสี่ยขุน” เข้ามาถลุงหุ้นจนยับเยิน จึงเกิดปฎิบัติการลากไส้ฝั่งตรงข้ามอย่างดุเดือดเผ็ดมัน


ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็ยังเข้ามาแทรก กลายเป็นวิบากกรรมของแมงเม่าที่หลงเข้าไปเล่น PAE หลังหลงเชื่อกลุ่มทุนทางการเมืองเข้ามาเป็นแบ็คอัพ สุดท้ายกลายเป็นเพียงแค่การขายฝัน ล่าสุดมีการพุ่งเป้าไปที่ ซ.ลูกเจ๊ ย. หลานคนดูไบ เป็นต้นเหตุทำบริษัทล่มจ่ม แถมยังปล่อยให้ “เสี่ยขุน” เข้ามาถลุงหุ้นจนยับเยิน จึงเกิดปฎิบัติการลากไส้ฝั่งตรงข้ามอย่างดุเดือดเผ็ดมัน

 

แหล่งข่าวรายหนึ่งได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งข้อสังเกตความเป็นไปของบริษัท พีเออี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  หรือ PAE ว่า นี่เป็นบริษัทที่มีความคลุมเครือตั้งแต่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540  และหยุดการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2542  และในระหว่างขบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ก็มีนายแบงค์รุ่นใหญ่ของธนาคารอิสลาม ได้ชุบชีวิต PAE และนำกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2549

จุดที่น่าสนใจของเรื่องนี้มีการกล่าวอ้างถึงในช่วงปี พ.ศ. 2551 นายแบงก์คนดังกล่าวก็มีข่าวไปพัวพันกับน้องสาวอดีต นายกที่ลี้ภัยอยู่แดนอาหรับ ก็แนะนำนักลงทุนกลุ่ม Global Processing Systems หรือ GPS ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจาก ดูไบ ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 100.5 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1.10 บาท อีกทั้งให้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทกับ GPS อีก 254 ล้านหุ้น ในราคา 1.32 บาท แต่สุดท้ายต่างฝ่ายก็เห็นความไม่โปร่งใสในการบริหารงาน จึงยกเลิกสิทธิ์การซื้อหุ้นไปในปี 2552

หลังจากนั้นกลุ่มนายแบงก์รุ่นใหญ่ได้ส่งลูกเลี้ยงหัวแก้วหัวแหวนที่ชื่อ นาย.ซ เข้ามาบริหารงานอย่างเต็มตัว โดยได้แรงสนับสนุนจากน้องสาวอดีต นายกที่ลี้ภัยอยู่แดนอาหรับ ซึ่งก็คือ นายแม่ของเขาเอง และในระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2557 เขากลับทำให้บริษัทมีผลขาดทุนรื้อรังเป็นจำนวนมหาศาล และเกิดข้อพิพาททางกฎหมายอีกหลายสิบคดี ตัวเขาจึงชิ่งออกไปจากบริษัทในทันที

เมื่อนายแม่รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงวิ่งเร่หาผู้ซื้อกลุ่มใหม่เข้าหลายกลุ่ม แต่เมื่อกลุ่มทุนล่วงรู้ความพิรุธในการบริหารงานก่อนหน้านี้ จึงส่ายหน้าหน้าหนีกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม SAMART ผู้ซึ่งเข้าซื้อ MLINK จากเจ๊แดง แต่สุดท้ายก็มาจบลงตรงที่ “เสี่ยขุน” ผู้ซึ่งกว้างขวาง และมีชื่อเสียงไม่ค่อยดีในวงการก่อสร้าง  ซึ่งตัวเขายังมีอีก 4 บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ

โดยเสี่ยคนดังกล่าวได้เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจงราคาต่ำ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 จำนวน 550 ล้านหุ้น ราคา 0.60 บาท ซึ่งตอนนั้นราคากระดานอยู่ที่ 0.90 บาทต่อหุ้น หรือ 50% สูงกว่าราคาตลาด และหลังจากนั้นก็ทำการเทขายหุ้นออกมา ถัดจากนั้นอีก 4 เดือน ในการประชุมวิสามัญ เดือน สิงหาคม 2557 ได้มีการแปลี่ยนแปลงชุดคณะกรรมการเพื่อเป็นของตัวเอง พร้อมกับออกมติเดิมๆ ซึ่งนักลงทุนละเลยในการไปใช้สิทธิ์คัดค้านและผลที่ตามาคือ หุ้นเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจงราคาต่ำ จำนวน 700 ล้านหุ้น และก็ทำการขายทิ้งในกระดาน จาก 1.10 บาท ลงมาที่ 0.36 บาท

ที่สำคัญคือ เมื่อมีการประกาศผลการดำเนินงานประจำปี 2557 มา ผลการดำเนินงานของ PAE ขาดทุนสูงถึง 635 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และ ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2558 ก็ประกาศมติเพิ่มทุนอีกครั้ง แต่คราวนี้ใช้วิธีจัดสรรให้ผู้ถือเดิมตามสัดส่วน

ผลลัพธ์ในคราวนี้กลับเป็นตรงกันข้ามกับที่ผ่านมา เพราะมีผู้ถือหุ้นไม่เพิ่มทุนรอบนี้กว่า 98%  และมันคือสัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เค้าไม่เอากับพวกคุณแต่ในวันที่ 24 มิถุนายน 2558 กรรมการดันออกมติเพิ่มทุนอีกครั้ง รอบนี้ กดราคาเพิ่มทุนลงมาที่ 0.20 บาท พร้อมกับมีมติขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงอีก 1,000 ล้านหุ้น ซึ่งจะมีการจัดวันประชุมวันที่ 29 ก.ค. 2558

“สุดท้ายนี้ได้แต่หวังว่า หน่วยงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ กลต. จะเล็งเห็นความผิดปกติของการเข้ามาของกลุ่มทุนดังกล่าว ไม่เช่นนั้นการข่มขืนนักลงทุนรายย่อยจะต้องเกิดขึ้นอีกครั้ง” แหล่งข่าวกล่าว

Back to top button