เคาะ 5 หุ้นหลักแนวโน้มขาขึ้นรับวิกฤติภัยแล้ง แนวโน้มโตยาวถึงครึ่งแรกปี 63

เคาะ 5 หุ้นหลักแนวโน้มขาขึ้นรับวิกฤติภัยแล้ง แนวโน้มโตยาวถึงครึ่งแรกปี 63


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมบทวิเคราะห์ที่ให้คำแนะนำหุ้นกลุ่มเครื่องดื่ม เนื่องจากมองว่าเป็นหุ้นที่ได้รับผลดีฤดูร้อนของประเทศไทยที่ร้อนจัด และร้อนยาวนานกว่าปกติ ซึ่งภาวะความแห้งแล้งยาวนานถึงปลายไตรมาส 3/62 ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของบจ.ที่ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่ม

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทําให้คาดกําลังซื้อในกลุ่มสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับอากาศร้อนจะเติบโตโดดเด่นกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่น และมีแนวโน้มทียอดขายจะเติบโตต่อเนื่องจึงเลือก หุ้นที่จะได้ประโยชน์ ในกลุ่ม 1. เครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ 2. เครื่องปรับอากาศ และ 3. บรรจุภัณฑ์จากแก้ว

โดย บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนะสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์  ประเทศไทยกําลังเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี จากภาวะเอลนีโญ (ภาวะแห้งแล้ง ฝนตก น้อยกว่าปกติ) ซึงมีโอกาสยาวนานถึงปลายไตรมาส 3/62 และอาจลากยาวถึงครึ่งปีแรกของปี 63 กระทบปริมาณน้ำในเขื่อน และปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริง ปัจจุบันเริ่มอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (Exhibit 4) โดยล่าสุดปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศอยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านลบ.ม. ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ 4.42 หมื่นล้านลบ.ม. (ลดลง 22% จากปีก่อน) หรือคิดเป็นระดับน้ำเก็บกัก (%รนก.) ของปริมาณน้ำในเขื่อน 49% ซึ่งถือเป็นระดับน้ำน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ (2561 : 62%) จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำขั้นวิกฤติในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

คาดฤดูร้อนที่กินเวลานานกว่าปกติจะหนุน High season ของกลุ่มเครื่องดื่มโตยาวถึงครึ่งปีแรกของปี 63 

สําหรับประเทศทีมีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น อย่างประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาวะเอลนีโญ จะทําให้อิทธิพลของฤดูร้อนกินระยะเวลายาวนานกว่าปกติ มากกว่าสิ้นไตรมาส 2/62 ซึ่งแม้จะกระทบ ภาคการเกษตรจากการเพาะปลูกทีต้องใช้น้ำในปริมาณมาก แต่ด้วยสัดส่วนภาคการเกษตรต่อ GDP ที่จํากัด เพียง 8%

ประกอบกับการสานต่อนโยบายกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ และการพยุงราคาสินค้าเกษตรทําให้ประเมินว่า กําลังซื้อในกลุ่มสินค้าจําเป็นสินค้าปัจจัย 4 และสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับอากาศร้อนยังคงเติบโตได้ เช่น เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ผลไม้กระป๋อง หรือเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

โดยจากการศึกษาผลกระทบ ของภาวะเอลนีโญในอดีต ตังแต่ปี 2014 – ต้นปี 2016 ไทยและประเทศเพื่อนบ้านเกิดวิกฤติภัยแล้งครังใหญ่ ดังจะเห็นได้จาก (Exhibit 6) ระดับน้ำที่เก็บกักในเขื่อน ( %รนก.) ลดลงอย่างต่อเนื่องจนทําจุดต่ำสุดที่ 56% ใน ปี 2015 ทําให้ยอดขายน้ำผลไม้ในประเทศ (MALEE, TIPCO) เริ่มมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด (Exhibit 5) ส่วน หนึ่งคาดมาจากอิทธิพลของคลื่นความร้อน และสภาพอากาศที่แผ่ขยายเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ยอดส่งออกน้ำผลไม้ยังเติบโตด้วยเช่นกัน (Exhibit 6) สาเหตุจากการเกิดภาวะเอลนีโญ ในประเทศไทยและกลุ่มประเทศใน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะส่งผลให้อีกขั้วโลกหนึ่งเกิดภาวะลานีญา (ฝนตกมาก น้ำท่วม) ทําให้มีการ ส่งออกสินค้าประเภทเครื่องอุปโภค-บริโภคเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับ ยอดขายแอร์ของ SNC เราพบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ในช่วงแล้งหนัก ปี 2015 ยอดขายทําจุดสูงสุดในรอบ 8 ปี และมีการเติบโตสูงสุดโดยเฉพาะใน งวดไตรมาส 1-2 ปี 2015 ที่เป็นช่วงฤดูร้อนยาว พบยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ (Exhibit 7)

Best picks เลือก ICHI, SAPPE, MALEE, SNC, BGC

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า แม้ภัยแล้งจะกระทบภาคการเกษตร แต่ด้วยสัดส่วนต่อ GDP ที่ต่ำเพียง 8% ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทําให้คาดกําลังซื้อในกลุ่มสินค้าจําเป็นสินค้าปัจจัย 4 รวมไปถึงสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับอากาศร้อนจะเติบโตโดดเด่นกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่น และมีแนวโน้มทียอดขายจะเติบโตต่อเนื่องเป็นวัฏจักรขาขึ้นยาวถึงครึ่งปีแรกของปี 63 ในเชิงกลยุทธ์จึงเลือก หุ้นทีจะได้ประโยชน์ ในกลุ่ม 1. เครืองดื่มประเภทน้ำผลไม้ นำแร่ น้ำอัดลม ผลไม้กระป๋อง และเครื่องดื่มชูกำลัง (MALEE, TIPCO, ICHI, SAPPE, HTC, CBG, OSP) 2. เครื่องปรับอากาศ (SNC) และ 3. บรรจุภัณฑ์จากแก้ว (BGC)

สำหรับ ICHI (ราคาเป้าหมายปี 2562 อยู่ที่ 7.1 บาท) : ได้ประโยชน์จากการปรับตัวรับกระแสการบริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้นผ่านการสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่  ชาชิซึโอกะ สูตรหวานน้อย และสูตรไม่มีน้ำตาล ( แคลอรี) ซึ่งได้รับการตอบรับดีมาก ตอบโจทย์ลูกค้าระดับกลาง-บน ที่กําลังซื้อยังเติบโตดี หนุนยอดขายกลับมาเติบโต ตลอดจนการลด ค่าใช้จ่ายการตลาด ผ่านการทําการตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche marketing) โดยเฉพาะร้านโชห่วย ซึ่งเป็นรากฐานสําคัญในการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภครายย่อย โดยรวมคาดกําไรปกติของปี 62 กลับมาเติบโตครั้งแรกในรอบ 5 ปี ที 336.2 ล้านบาท (+667% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) ต่อเนื่องในปี 2563 อีก 9.5%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน มี Upside risk จาก ปัญหาภัยแล้งอาจส่งผลบวกต่ออุปสงค์เครื่องดื่ม หนุนยอดขายโตดีกว่าคาด 2562-2563 ที่ 9.8-7.6%

ด้าน SAPPE (ราคาเป้าหมายปี 2562 ที่  17.3 บาท ): แนวโน้มกําไรเติบโตจากปีก่อนจากผลของ Low base ตลอดปี และได้ประโยชน์ใน ฐานะผู้ประกอบการเครื่องดื่ม Functional drink ที่ยอดขายราว 70% มาจากการส่งออก หนุน Upside risk จากยอดขายทีอาจเร่งตัวมากกว่าคาด + สินค้าใหม่ BLUE เริ่มได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้น เริ่มมีการซื้อเพิ่มอัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่ม Economy of scale และ Cost saving จากต้นทุนเม็ดพลาสติก จากราคาน้ำมันที่ลดลง และ Sourcing ร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่อย่าง Danone

ด้าน MALEE  (Non-rate): ภาพธุรกิจในรอบ 1 ปีทีผ่านมา ถูกกดดันจากการชะลอตัวของยอดขายที่ได้รับ ผลกระทบจากน้ำมะพร้าวส่งออก และรับรู้ผลขาดทุนจากบริษัทร่วม LQSF (MALEE ถือหุ้น 65%) ใน เวียดนาม ตลอดจนการรับรู้ผลกระทบทังภาษีน้ำตาลและภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ดี เรามองว่าผล ประกอบการน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 2018 และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 62 เป็นต้นไป จากโอกาสเติบโตของยอดขาย ทังในและต่างประเทศ (Domestic 68% , Export 32%) จากปัญหาภัยแล้ง ดัง ข้อมูลข้างต้น ตลอดจนการขยายฐานลูกค้า ซึง MALEE มีจุดเด่นจากความพร้อมสําหรับการรับจ้างผลิต (OEM) ในผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ อีกทังสินค้าหลักของบริษัทยังมีความหลากหลาย ทั้งน้ำผลไม้ 100% น้ำผลไม้ผสม และ ผลไม้กระป๋อง นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งเน้นการบริหารต้นทุน (Cost saving) ซึ่งจะทําให้อัตรากําไรฟื้นตัวในระยะกลาง-ยาว

ด้าน SNC (ราคาเป้าหมายปี 2562 อยู่ที่ 20 บาท) ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตเครื่องปรับอากาศที่สําคัญในเอเชีย ซึงเป็นภูมิภาคที มีอัตราเติบโตเครื่องปรับอากาศสูงสุดในโลก แบรนด์ชันนํามีฐานผลิตในไทยเกือบทุกราย ทําให้ SNC ซึง เป็นผู้ผลิตชินส่วนในเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ทังแอร์บ้านและแอร์รถจะได้ประโยชน์จากอุปสงค์ เครืองปรับอากาศมีแนวโน้มเติบโตจากภัยแล้ง โดย SNC ยังมีจุดเด่น ปันผลสูง 7% ในภาวะวงจรดอกเบี้ยเป็นขาลง คาดจ่ายระหว่างกาล ส.ค. 0.5 บาท/หุ้น (Yield 3.6%) ขณะที่ธุรกิจยังมั่นคง คาดกําไรทรงตัว ระดับสูงมีลุ้น Upside risk ในไตรมาส 3/62 จากการขายโรงงานบันทึกกําไรพิเศษราว 300 ลบ.

อีกทั้ง BGC (Non-rate) เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งจะได้ประโยชน์จาก อุปสงค์เครืองดื่มคลายความร้อนขยายตัว และมี Barrier to Entry สูง, อยู่ในวงจร Environmentally Friendly รับประโยชน์ จากการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทําจากพลาสติก

Back to top button