แบงก์ดิ่งยกแผง! ผวามาตรการเยียวยาลูกค้า-กนง.หั่นดอกเบี้ย ฉุดกำไรหด

แบงก์ดิ่งยกแผง! ผวามาตรการเยียวยาลูกค้า-กนง.หั่นดอกเบี้ย ฉุดกำไรหด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด ณ เวลา 14.53 น. ราคาหุ้น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK อยู่ที่ 80 บาท ลบ 13 บาท หรือ 13.98% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 1.05 พันล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL อยู่ที่ 89 บาท ลบ 8.50 บาท หรือ 8.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 675.18 ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB อยู่ที่ 59.75 บาท ลบ 5.25 บาท หรือ 8.08% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 605.73 ล้านบาท

ราคาหุ้น บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO อยู่ที่ 62.75 บาท ลบ 5.25 บาท หรือ 7.72% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 429.25 ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB อยู่ที่ 10.10 บาท ลบ 0.70 บาท หรือ 6.48% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 240.59ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB อยู่ที่ 0.72 บาท ลบ 0.07 บาท หรือ 8.86% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 123.44 ล้านบาท

ราคาหุ้น บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP อยู่ที่ 29.50 บาท ลบ 3.25 บาท หรือ 9.92% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 108.80 ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP อยู่ที่ 33.75 บาท ลบ 3.50 บาท หรือ 9.40% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 95.93 ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY อยู่ที่ 18.10 บาท ลบ 0.80 บาท หรือ 4.23% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 5.80 ล้านบาท

ราคาหุ้น บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG อยู่ที่ 0.85 บาท ลบ 0.09 บาท หรือ 9.57% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 4.24  ล้านบาท

ราคาหุ้น ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT อยู่ที่ 0.42 บาท ลบ 0.02 บาท หรือ 4.55% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 0.29 ล้านบาท

ทั้งนี้ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ภาพรวมกลุ่มธนาคารยังไม่น่าสนใจ แม้ว่า SETBANK จะปรับตัวลงมาถึง -40% นับตั้งแต่ต้นปี และลงมาซื้อขายที่เพียง 0.5 เท่า มูลค่าทางบัญชี เนื่องจากการระบาดของ Covid-19 ที่แพร่กระจายและรุนแรง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงกลุ่มธนาคารต้องออกมาตรการต่างๆ เช่น พักชำระเงินต้น ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ เหล่านี้ล้วนกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มธนาคาร

ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับดอกเบี้ยนโยบายลง อาจเป็นแรงกดดันให้ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงด้วย เริ่มด้วย KBANK ที่นำร่องลดดอกเบี้ยก่อน ซึ่งคาดธนาคารอื่น ๆ จะลดตาม ดังนั้น คาดจะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มธนาคารที่จะทำให้ Net interest margin (NIM) ปรับลดลง

ทั้งนี้ คาดกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และกลางจะเป็นกลุ่มที่เสียประโยชน์ เนื่องจากมีฝั่งสินทรัพย์ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในสัดส่วนที่สูงกว่าสินทรัพย์ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ดังนั้นเมื่อมีการปรับดอกเบี้ยลง ผลตอบแทนฝั่งสินทรัพย์จะปรับลดลงทันที และในด้านเงินฝาก มีเงินฝากที่เป็นฝั่งต้นทุนต่ำและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามการปรับลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากนักอย่างเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ (Current and Saving, CASA) ในสัดส่วนที่สูง ทำให้ต้นทุนเงินทุนยังไม่ปรับลงมาก

อย่างไรก็ตามคาดการลดดอกเบี้ยจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อธนาคารที่เน้นปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ (auto lender) เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อส่วนมากมีอัตราดอกเบี้ยคงตัว ดังนั้นรายรับของกลุ่มธนาคารเหล่านี้จะยังไม่ปรับลงทันทีเมื่อดอกเบี้ยลง ประกอบกับด้านเงินฝากมีเงินฝากดอกเบี้ยคงตัวในอัตราสูง ทำให้เมื่อดอกเบี้ยปรับลง และธนาคารมีเงินฝากที่จะครบกำหนดอายุ จะสามารถหาเงินฝากที่ต้นทุนเงินทุนลดลงได้

Back to top button