เปิดโผ 25 หุ้นราคาลึกเกิน 50% โบรกฯแนะซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่ง ลงทุนยาว

 เปิดโผ 25 หุ้นราคาลึกเกิน 50% โบรกฯแนะซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานแกร่งลงทุนยาว


ดัชนีตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปี 63 จนถึงขณะนี้ปรับลดลงมากว่า 500 จุด หรือราว 34% โดยมองว่าภาวะตลาดได้อ่อนตอบรับกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19  ไปมากแล้ว จนในที่สุดรัฐบาลจึงต้องออกพรก. ฉุกเฉิน

โดยนักวิเคราะห์มองว่าโดยในอดีตล่าสุดที่มีการประกาศเคอร์ฟิวในเดือนพ.ค. 2553 ตลาดหุ้นปรับลดลง 1.7% แต่หลังจากนั้นตลาดก็พุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยใน 1 เดือนต่อมาปรับขึ้น +6.3% และใน 3 เดือนต่อมาอีก 21.7%

ดังนั้นเพื่อเป็นโอกาสให้นักลงทุนได้ทยอยเก็บหุ้นพื้นฐานเข้าพอร์ตเพื่อรอให้ทิศทางตลาดฟื้นตัวช่วงดังกล่าว ทีมข่าว “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงทำการสำรวจกลุ่มหุ้นที่ปรับตัวลงแรงตั้งแต่ต้นปีมานำเสนออีกครั้ง โดยครั้งนี้แนะนำให้เก็บหุ้น SET100 ราคาลงลึกเกิน 50% โดยเทียบราคาหุ้นตั้งวันที่ 2 ม.ค.-24 มี.ค.63 ขณะเดียวกันราคาหุ้นส่วนใหญ่ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีดังตารางประกอบ

บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หนึ่งในอำนาจของ “พรก.ฉุกเฉิน” คือ การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน (เคอร์ฟิว) และ จะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ภายใต้บังคับของกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงอื่นๆ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ

ข้อสังเกตจากการประกาศเคอร์ฟิวของไทยในอดีตที่ผ่านมา อาจแบ่งประเภทตามเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การประกาศออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การประกาศเคอร์ฟิวอันเป็นผลสืบเนื่องการทำรัฐประหาร การประกาศเคอร์ฟิวอันเนื่องมาจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองและการประกาศเคอร์ฟิวอันเนื่องมาจากปัญหาด้านความมั่นคง แต่ยังไม่เคยมีการประกาศ พรก. ฉุกเฉิน จากภาวะโรคระบาดเลยโดยครั้งแรกที่มีการใช้เคอร์ฟิวคือ

1) เดือนพฤษภาคม 2535 โดยนายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี

2) วันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยแม่ทัพภาคที่สี่ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. ในเขตท้องที่ อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หลังจากมีเหตุลอบวางระเบิดและลอบยิงประชาชนอย่างต่อเนื่อง และ 3) เดือนพฤษภาคม 2553 โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาประมาณสามเดือน

โดยในอดีตล่าสุดที่มีการประกาศเคอร์ฟิวในเดือนพ.ค. 2553 ตลาดหุ้นปรับลดลง -1.7% แต่หลังจากนั้นตลาดก็พุ่งขึ้นต่อเนื่อง โดยใน 1 เดือนต่อมาปรับขึ้น +6.3% และใน 3 เดือนต่อมาอีก +21.7%

ดังนั้นประเมินว่าตลาดหุ้นได้ปรับลดลงมา -546 จุดหรือ -34.5% ตั้งแต่ต้นปี2563 ตอบรับกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ไปมากแล้ว จนในที่สุดรัฐบาลจึงต้องออกพรก. ฉุกเฉิน ดังนั้นมองว่าหากมาตรการที่ภาครัฐออกมาสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตให้ลดลงได้ต่อเนื่อง ตลาดหุ้นก็น่าจะผ่านจุดต่ำสุดได้ (bottom fishing) ดังนั้นหากตลาดช่วงนี้มีความผันผวนลงไปในระดับ 969-1000 จุด

แนะนำ ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดีสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยในช่วงการประกาศใช้พรก. ฉุกเฉินแนะนำ กลุ่มสื่อสาร (ADVANC INTUCH) ที่ได้ประโยชน์จากการทำงานอยู่บ้าน (Work from home) ทำให้มีการใช้โทรศัพท์และ internet มากขึ้น, กลุ่มอาหาร (CPF TU) เพราะยังจำเป็นต่อการดำรงชีวิต, กลุ่มค้าปลีก (CPALL MAKRO) ได้ประโยชน์จากการที่ประชาชนหันมากซื้อของใกล้บ้าน, food delivery และกักตุนสินค้าบางส่วนและ กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (DIF JASIF) ซึ่งมีรายได้ค่าเช่าที่มาจากกลุ่มสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและจ่ายเงินปันผลสูง ส่วนกลุ่มที่ต้องหลีกเลี่ยงคือ กลุ่มสายการบิน หลังสายการบินส่วนใหญ่มีการยกเลิกเที่ยวบินกันไปเกือบหมดแล้ว

CGS-CIMB Theme Play :

Oversold Play : SAT (RSI 12.75) LHSC (RSI 14.54) TCAP (RSI 14.78) WHART (RSI 15.01) S (RSI 15.08) AH (RSI 15.61) MINT (RSI 16.09) CPNREIT (RSI 16.19) SCCC (RSI 16.20) TVO (RSI 16.26) COL (RSI 16.59) JUBILE (RSI 16.77) AP (RSI 16.79) M (RSI 18.20) KKP (RSI 18.80) ERW (RSI 19.00) SF (RSI 19.34) BCP (RSI 20.20) MAJOR (RSI 20.45) BAFS (RSI 20.80) PSH (RSI 20.88) BAY (RSI 21.06) SCB (RSI 21.25) SPA (RSI 21.51) PR9 (RSI 21.57) TISCO (RSI 22.10) DCC (RSI 22.32) KBANK (RSI 22.32)

Bottom fishing Play : หุ้นใน SET100 ที่ปรับลดลงแรงใน 3 เดือนที่น่าสนใจ (เทียบกับ SET ที่ -34.5%) ERW (-64.7%) PLANB (-64.1%) MINT (-61.7%) SPRC (-60.4%) TOP (-59.4%) TMB (-56.8%) PTTGC (-55.1%) MAJOR (-54.9%) AMATA (-54.5%) PTTEP (-52.4%) IVL (-51.2%) AP (-50.9%) SCB (-50.8%) MTC (-50.6%) TCAP (-49.6%) KKP (-48.7%) KBANK (-47.7%) SAWAD (-46.7%) WHA (-46.6%) CENTEL (-46.5%) IRPC (-45.7%) CPN (-45.2%) BBL (-43.5%) PSH (-43.2%) HANA (-43.2%) VGI (-42.9%) HMPRO (-41.2%)

Back to top button