จุดต่ำสุดกำลังผ่านพ้นไป

การประชุมรัฐสภาว่าด้วยเรื่องอภิปรายพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 4 ฉบับ เริ่มจากพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563, พ.ร.ก.การให้อำนาจธปท.ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563, พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 และพ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563


พลวัตปี 2020 : สุภชัย ปกป้อง

การประชุมรัฐสภาว่าด้วยเรื่องอภิปรายพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 4 ฉบับ เริ่มจากพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563, พ.ร.ก.การให้อำนาจธปท.ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563, พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 และพ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

เป้าหมายหลักการอภิปรายอยู่ที่พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 1,000,000 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่แยกเป็น 2 ส่วนคือการเยียวยาฯ 600,000 ล้านบาทและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท เป้าหมายรองลงมา คือ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินฯ กรณีการตั้งกองทุน BSF วงเงิน 400,000 ล้านบาท ที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นช่องทางเพื่อการอุ้มบริษัทเจ้าสัวหรือไม่

สุดท้ายแล้วเชื่อการอภิปรายอาจมีสีสันให้เห็นกันเป็นช่วง ๆ แต่ด้วยคะแนนเสียงในรัฐสภา เชื่อว่าพ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับคงโหวตผ่านฉลุยและจบลง..ตามวิถีทางการเมืองไป

แต่แวดวงตลาดหุ้น..กำลังโฟกัสไปตรงพ.ร.ก.เงินกู้ฯ ส่วนที่เป็นเม็ดเงินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท โดย เฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบวิกฤติโควิด-19 มากสุด นั่นคือกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรมและสายการบินต่าง ๆ ที่มุ่งหวังจะได้รับการกระตุ้นให้ฟื้นตัวโดยเร็ว หลังสถานการณ์คลี่คลายและมีปลดล๊อกดาวน์ในที่สุด

เริ่มเห็นชัดจากรัฐบาล มีการให้หน่วยงานราชการนำเสนอแผนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจวงเงิน 400,000 ล้านบาท (ภายใต้พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1,000,000 ล้านบาท) เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาภายใน 2 ก.ค. 63 และนำเสนอครม.อนุมัติวันที่ 7 ก.ค. 63 เพื่อให้เม็ดเงินเริ่มเข้าสู่ระบบช่วงเดือนก.ค.-ต.ค. 63

หนึ่งในแผนงานที่มีพิมพ์เขียวออกมาแล้ว นั่นคือการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวในประเทศ มีนำเสนอโครงการสนับ สนุน “ไทยเที่ยวไทย” เช่น อาจมีการแจกคูปองลดราคาที่พัก 40-50% เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่มีรายได้ออกมาจับจ่ายใช้สอยช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนพร้อมกันไป

เงื่อนไขการใช้งบ 400,000 ล้านบาท ตามพ.ร.ก.ดังกล่าวกำหนดให้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณปี 2564 โดยไม่มีการจัดสรรแบบโควตาแต่ละกระทรวง แต่เน้นตามความเหมาะสมตามรายโครงการไป

นั่นถือเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อบริษัทจดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรม-สายการบิน ในแง่การกระตุ้นดีมานด์ตลาดท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายสำหรับประเทศไทย และผลพลอยได้ที่จะเกิดขึ้นคือการช่วยประคองและกระตุ้นตัวเลขจีดีพี พร้อมกันตามไปด้วย

ก่อนไปถึงจุดนั้น สิ่งที่ต้องติดตามเฉพาะหน้าปลายสัปดาห์นี้ คือศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) จะมีการปลดล็อกดาวน์และผ่อนคลายการท่องเที่ยวในประเทศหรือไม่ เพราะหากมีการเห็นชอบให้การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาเริ่มต้นอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป

นั่นหมายถึง จุดต่ำสุดธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมและสายการบิน ได้ผ่านพ้นไปแล้ว..รอเพียงแค่ว่าการฟื้นตัวจะใช้เวลานานมากน้อยเพียงได้เท่านั้นเอง..!?

Back to top button