KISS กับ Employee Loyalty

ถือว่าบริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS ประสบความสำเร็จอย่างดี กับการเข้าจดทะ เบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค นับตั้งแต่ 19 ก.พ.2564 ด้วยราคาไอพีโอ 9 บาท และราคาล่าสุดอยู่ 17.20 บาท เรียกว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ Capital gain  (กำไรจากส่วนต่างราคา) เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว


เมกะเทรนด์ : สุภชัย ปกป้อง

ถือว่าบริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ KISS ประสบความสำเร็จอย่างดี กับการเข้าจดทะ เบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค นับตั้งแต่ 19 ก.พ.2564 ด้วยราคาไอพีโอ 9 บาท และราคาล่าสุดอยู่ 17.20 บาท เรียกว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ Capital gain  (กำไรจากส่วนต่างราคา) เกือบเท่าตัวเลยทีเดียว

โดย KISS คือ บริษัทพัฒนา จ้างผลิต และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (Skin Care) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Color Cosmetics) และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food Supplement) ภายใต้แบรนด์ต่าง ๆ ของบริษัททั้งในและต่างประเทศ

อีกจุดที่น่าสนใจหุ้น KISS นั่นคือการจัดสรรหุ้นไอพีโอ จากข้อมูลผู้ได้รับจัดสรรหุ้นมากสุด 20 อันดับแรก (รวม 13.47 ล้านหุ้น) พบว่า มีจำนวนกว่า 7.3 ล้านหุ้น ผู้ได้รับการจัดสรรก็คือ ผู้บริหารและพนักงานบริษัทเอง ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าของ KISS ในรูปผู้มีอุปการคุณ

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้นึกถึงทฤษฎีบุคลิกภาพของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) ว่าด้วยเรื่อง “ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Employee Loyalty)” เพราะผู้บริหารและพนักงานที่ได้รับการจัดสรรหุ้น ก็เปรียบดั่งเจ้าของบริษัทไปด้วย นั่นหมายถึงการมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ทั้งจากผลการดำเนินงานและผลตอบแทนจากหุ้น KISS ด้วยเช่นกัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกบริษัทหรือทุกองค์กร จะประสบผลสำเร็จและบรรลุจุดหมายปลายทางได้ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งบุคลากร เงินลงทุน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และเทคโนโลยี แต่บุคลากร (พนักงานและผู้บริหาร) มีบทบาทสำคัญ ด้วยเหตุเป็นปัจจัยที่มีค่า ที่องค์กรต้องรักษา รวมถึงต้องทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการดำเนินงานสูงสุด

จาก “พนักงานสู่การเป็นผู้ถือหุ้น” คือแรงผลักดันให้เกิดความจงรักภักดี ความผูกพัน ความเป็นเจ้าของและความภาคภูมิใจต่อบริษัท จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น การทุ่มเทเวลาทำงานให้บริษัทอย่างเต็มที่ ความรู้สึก เช่น แจ้งผู้อื่นว่าได้ทำงานในบริษัทแห่งนี้อย่างภาคภูมิใจ การรับรู้ เช่น มีทัศนคติต่อบริษัทในทางที่ดี

“นักการตลาด” มักถูกพร่ำสอนให้มองความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าว่า เป็นสิ่งที่สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ เพราะลูกค้าที่มีความภักดีสูง คือ ลูกค้าที่จะอุดหนุนสินค้าสูงด้วยเช่นกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียว ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของยอดขาย รายได้และกำไร สิ่งที่มีความจำเป็นมาก คือ ความภักดีของพนักงานนั่นเอง

กรณีศึกษาการได้รับการจัดสรรหุ้น KISS ของผู้บริหารและพนักงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่ ความจงรักภัก ดีต่อองค์กร (Employee Loyalty) แต่สุดท้ายจะเพียงพอให้เกิด Employee Loyalty หรือไม่ ต้องพิสูจน์จากตัวเลขรายได้และกำไรของ KISS เพราะนั่นหมายถึงผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับ Loyalty หรือไม่..!!

…นั่นเป็นสิ่งต้องติดตามกันต่อไป..!!??

Back to top button