เปิด 5 หุ้นพลังงานตัวแม่!ชิงเค้กโซลาร์ฟาร์ม 600 MW

เปิดโผ 5 หุ้นพลังงานทางเลือกร่วมชิงเค้กโซล่าร์ฟาร์มเฟสแรก 600MW ของหน่วยงานราชการ ไล่ตั้งแต่ กฟน.,กฟภ. และกองทัพเรือ รอบนี้นำทัพโดย IFEC-SUPER-SOLAR-SPCG-GUNKUL ล้วนเป็นตัวเต็งที่จะคว้างาน เหตุมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานดังกล่าว


จากประเด็นที่นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า กกพ.ได้ออกประกาศและหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง อาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 ก.ย.58 โดยการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวมีปริมาณรวมไม่เกิน 800 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งการรับซื้อเป็น 2 ระยะ

โดยระยะแรกออกประกาศรับซื้อสำหรับพื้นที่ ที่มีความพร้อมด้านระบบสายส่งไฟฟ้าก่อน โดยมีเป้าหมายรับซื้อจำนวน 600 เมกะวัตต์ มีกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย.59 ซึ่งให้ผู้ที่สนใจยื่นแบบคำขอและเอกสารที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 1-10 พ.ย.58 และจะรู้ผลภายในเดือนธ.ค.58 ส่วนระยะที่สอง กกพ.จะออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ที่เหลือต่อไป โดยจะมีกำหนดวัน SCOD ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.61

 

สำหรับการรับซื้อไฟฟ้า ตามโครงการดังกล่าวนั้น แต่ละโครงการต้องมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ มีอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี และจะได้รับอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT ที่ 5.66 บาท/หน่วย ทั้งนี้ หากไม่มีการเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าภายในกำหนดวัน SCOD ให้ถือว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นอันสิ้นสุด ยกเว้นกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดในสัญญา

ส่วนเป้าหมายการรับ ซื้อไฟฟ้าในระยะที่ 1 จำนวน 600 เมกะวัตต์ กกพ.ได้แบ่งเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าใน 3 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จำนวน 200 เมกะวัตต์ ,พื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) จำนวน 389 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันออก 87 เมกะวัตต์ ,ภาคตะวันตก 159 เมกะวัตต์ และภาคกลาง 138 เมกะวัตต์ และพื้นที่ของกิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 11 เมกะวัตต์

โดยขั้นตอนการคัด เลือกนั้น กกพ.จะพิจารณาความครบถ้วนของเอกสาร ศักยภาพระบบไฟฟ้าในเขตพื้นที่ที่ตั้งโครงการ ความพร้อมของเงินทุน และความพร้อมของวงเงินสินเชื่อก่อน และเมื่อได้ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว กกพ.จะใช้วิธีจับสลากเพื่อคัดเลือกว่ากลุ่มใดจะได้จับสลากก่อน โดยกลุ่มที่ได้จับสลากก่อนจะได้รับการคัดเลือกก่อน และจะพิจารณาตามเงื่อนไขศักยภาพของ Feeder (สายป้อน) ต่อไป

อนึ่ง สำหรับหุ้นที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย

 

บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ได้รับคัดเลือกจากกองทัพเรือ ให้เป็นผู้เสนอร่วมโครงการพลังงานทดแทนในที่ราชพัสดุที่กองทัพเรือครอบครอง ใช้ประโยชน์ โดยปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างเตรียมการยื่นขอให้รับซื้อไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (SOLAR POWER PLANT) ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 75 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

 

บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ระบุ ว่า บริษัทกันกุล แอนด์ ยูซีไอ เพาเวอร์  จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL (ถือหุ้นในสัดส่วน 75%)  ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้เซ็นสัญญาบันทึกข้อความ เข้าใจ (MOU) กับกองทัพบก เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร กำลังการผลิตรวม  8 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โครงการ แบ่งเป็นโครงการละ 4 เมกะวัตต์ ที่ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

 

บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER ระบุ ว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 4 เมกะวัตต์ กับกองทัพบก จำนวน 2 โครงการ รวม 8 เมกกะวัตต์  และการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 200 เมกะวัตต์ แต่คาดว่าจะได้งานประมาณ 100-150 เมกะวัตต์

 

บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG เปิด เผยว่า บริษัทมั่นใจปี 58 กำไรทำสถิติสูงสุดใหม่ หลังจะรับรู้รายได้จากกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 260 เมกะวัตต์ได้เต็มที่ทั้งปี ซึ่งจะหนุนให้รายได้ปีนี้แตะระดับ 5 พันล้านบาท พร้อมทั้งมีแผนเจรจาซื้อกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทโซลาร์ฟาร์ มค้างท่อราว 15 เมกะวัตต์ (MW) จากที่มีราว 1 พันเมกะวัตตฺ์ พร้อมทั้งเตรียมยื่นประมูลงานโซลาร์ฟาร์มภาครัฐฯ ที่เตรียมเปิดให้ยื่นข้อเสนอผลิตไฟฟ้าตามโครงการโซลาร์สหกรณ์ 800 เมกะวัตต์ โดยคาดหวังได้งาน 200 เมกะวัตต์ ด้วย

 

บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR ระบุ ว่า บริษัทได้เซ็นบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (MOU) กับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อร่วมมือกันพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้น ดิน (โซลาร์ฟาร์ม) กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ เพื่อ เสนอขายไฟฟ้าตามโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร (โซลาร์ฟาร์มส่วนราชการฯ)

 

โดย หุ้นทั้ง 5 ตัวต่างประกาศให้นักลงทุนได้รับรู้อย่างเป็นทางการว่า ตัวเองต้องการก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าพลังงานทางเลือก ซึ่งในส่วนของ SUPER ตั้งเป้าไว้ถึง 200 MW จาก 800 MW และในเฟสแรก 600 MW นั้นคาดว่าจะได้ถึง 100-150 MW ส่วน SPCG นั้นคาดหวังได้งานถึง 200 MW เช่นกัน ทั้งนี้อาจมีการปรับลดสัดส่วนลงเนื่องจากในเฟสแรกมีกำลังการผลิตเพียง 600 MW

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการใหญ่จากภาครัฐที่ส่งผลดีต่อหุ้นพลังงานตัว อื่นๆ และยังส่งผลให้หุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ได้รับผลดีตามไปด้วยอีกเช่น กัน

Back to top button