คดีโฮปเวลล์
คดีพิพาทระหว่างบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (“รฟท.”) มีประเด็นน่าสนใจหลายประการ
/ CAP & CORP FORUM / Page 8
คดีพิพาทระหว่างบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กับกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (“รฟท.”) มีประเด็นน่าสนใจหลายประการ
วันนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ Google Shopping และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปกัน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าบริการ Google Shopping ยังไม่มีในประเทศไทย แต่บริการดังกล่าวได้รับความนิยมแพร่หลายในฝั่งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
CAP & CORP FORUM รัฐวิสาหกิจกับบรรษัทภิบาล (5) : การแปรรูปและการกำกับดูแลรายกิจการรายสาขา ประเด็นหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนในชั้นการยกร่างกฎหมายและบรรจุเป็นหลักการและเหตุผลในร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ….คือ “ยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ” และมีการยืนยันต่อสาธารณะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องว่าร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเสมือนยาขมของรัฐบาลทุกสมัย เนื่องจากทุก ๆ ครั้งที่มีนโนบายเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็จะถูกคัดค้านจากภาคประชาสังคมเสมอ “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatisation)” “การเปิดเสรี (Liberalisation)” “การแข่งขันที่เป็นธรรม(Fair competition)” และ “การกำกับดูแลกิจการรายสาขา (Sectoral Regulation)” สี่คำนี้มักเป็นคำที่มาพร้อม ๆ กัน เนื่องจากถือเป็นยาสามัญสำหรับระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด ระบบที่เชื่อว่ารัฐต้องไม่แข่งขันในเชิงพาณิชย์กับเอกชน รัฐควรทำหน้าที่เพียงกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมเท่านั้น โดยสร้างสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการทุก ๆ รายสามารถแข่งขันอย่างเท่าเทียมด้วยกฎกติกาเดียวกัน ในกระบวนการแปรูปรัฐวิสาหกิจ กฎหมายที่สำคัญที่สุดฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามกฎหมายจัดตั้งให้เป็นรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (Corporatisation) แต่ยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยการเปลี่ยนทุนจากรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นทุนของบริษัทที่รัฐถือหุ้น (โดยกระทรวงการคลัง) นับตั้งแต่ที่มีการบังคับใช้พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจมีรัฐวิสาหกิจเพียง 5 แห่ง ที่แปลงสภาพจากองค์กรของรัฐตามกฎหมายจัดตั้งไปเป็นบริษัทตามกฎหมายเอกชนโดยยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ ได้แก่ 1) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย […]
รัฐวิสาหกิจบางแห่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่มีลักษณะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด บางแห่งจัดตั้งในระบบกฎหมายเอกชนและแข่งขันในระบบกลไกตลาด บางแห่งต้องแข่งขันและจัดทำบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาลควบคู่ไปพร้อมกัน การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึงมีความยุ่งยากซับซ้อนกว่าเอกชนโดยทั่วไป บางครั้งก็อาจต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันบางอย่างไปเนื่องจากต้องดำเนินการตามนโยบายของรัฐและต้องประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินกิจการดังกล่าว
OECD Guidelines on Corporate Governance of State-Owned Enterprises (2015 EDITION) กำหนดหลักการบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจไว้ 7 ประการ ดังนี้
ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รัฐวิสาหกิจเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภครายใหญ่ รวมถึงบทบาทด้านการลงทุนระหว่างประเทศที่มีเพิ่มมากขึ้น
แนวคิดเรื่องการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ (บรรษัทฯ) ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจนครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เมื่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เห็นชอบหลักการการปรับโครงสร้างการบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
48/5-6 ชั้น 2 ซ.รุ่งเรือง ถนน รัชดาภิเษก แขวง สามเสนนอก เขต ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
Phone: 02-693-4555 E-mai: [email protected]