“กรภัทร” ลุ้นเจรจาภาษี “ไทย-สหรัฐ” ราบรื่น แนะลงทุน “กลุ่มปิโตรเคมี-ท่องเที่ยว-โรงพยาบาล”

นายกรภัทร วรเชษฐ์ จับตาเจรจาการค้าไทย-สหรัฐ แนะธีมลงทุนหุ้นกลุ่มปิโตรเคมี SCG-IVL-PTTGC รับกระแส Trade Deals และท่องเที่ยว-โรงพยาบาล ชู BDMS-CENTEL หลังยอดนักท่องเที่ยวจีนแนวโน้มเพิ่มขึ้น


นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าวันนี้ (3 ก.ค.68) ต้องติดตามการเข้าเจรจาการค้า ไทยสหรัฐ ซึ่งมองว่าน่าจะทันกำหนดก่อนวันที่ 9 ก.ค.นี้ โดยที่ผ่านมาหลายประเทศได้ยื่นข้อเสนอไปยังสหรัฐฯ มากกว่า 60 ประเทศ และกลุ่มประเทศที่เริ่มมีความชัดเจน คือ อังกฤษ จีน และเวียดนาม

ภาพรวมแล้วหลายประเทศยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายหรือยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลง แต่เริ่มมีโอกาสในการเจรจามากขึ้น สำหรับประเทศไทย มีแนวโน้มว่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐต้องการรับฟังข้อเสนอ หรืออาจเป็นข้อตกลงที่มีข้อจำกัดมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีมุมมองว่าต้องพยายามเจรจาให้ได้ใกล้เคียงเวียดนาม หรือ น้อยกว่านั้นเพื่อเพิ่มการแข่นขันสำหรับเศรษฐกิจ

ในเชิงนัยยะเชิงยุทธศาสตร์ ประเมินว่า ไทยยังคงมีความได้เปรียบบางประการเหนือเวียดนาม อาทิ 1.) ความเสี่ยงจากการสวมสิทธิ์แหล่งที่มาของสินค้า ซึ่งยังน้อยกว่าเวียดนาม จึงอาจกลายเป็นจุดแข็ง 2.) บทบาทด้านยุทธศาสตร์ ความมั่นคง ซึ่งไทยมีความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐ และ 3.) บทบาทเชิงเศรษฐกิจที่สามารถใช้ต่อรองได้ โดยเฉพาะในภาคบริการ เช่น เทคโนโลยีและดิจิทัลเซอร์วิส ซึ่งเป็นจุดที่สหรัฐให้ความสำคัญและมีผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้ง รายสินค้าและอุตสาหกรรมไทยถือเป็น 1 ชาติที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามูลค่าประมาณ 29,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฝั่งของรายอุตสาหกรรมไทยการส่งออก สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไปสหรัฐฯค่อนข้างมากและสินค้าไม่ได้มีการสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้า สิ่งที่ต้องจับตา คือ ภาษีที่จะถูกนำมาใช้โดยสหรัฐฯ จะอยู่ในลักษณะใด

ส่วน อุตสาหกรรมยานยนต์  ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวล เนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์มีการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้ากับจีนในภาคอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างมา

อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยสามารถเจรจาได้อัตราภาษีที่ต่ำกว่าเวียดนามถือว่าเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ เนื่องจากไทยมีจุดแข็งในหลายมิติที่เหนือกว่าหลายประเทศอยู่แล้ว ด้านโครงสร้างของการเป็น ศูนย์กลางการผลิต (Production Hub) ประเทศไทยและเวียดนามมีระดับที่ใกล้เคียงกันในแง่ของขนาดและขีดความสามารถของภาคการผลิต แต่ไทยยังมี ข้อได้เปรียบในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

นอกจากนี้ ไทยยังได้เปรียบในมิติของการเป็นฐานที่ตั้งของ สำนักงานใหญ่ (Regional Headquarters) ของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง

อย่างไรก็ตาม หากอัตราภาษีที่ไทยได้ออยู่ในช่วง 20% ต้นๆ ก็ยังถือว่าสามารถแข่งขันได้และไม่ได้เสียเปรียบเวียดนามมากนัก อย่างไรก็ตาม หากสามารถเจรจาได้อัตราภาษีที่ ต่ำกว่าอย่างน้อยที่สุดใกล้เคียงกันก็จะถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่ดี

ส่วน กลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายนักวิเคราะห์มองว่าขณะนี้ให้น้ำหนักเชิงบวกต่อหุ้นไทยอยู่ในภาวะ “Deep valuation” หรือมีการประเมินมูลค่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสถานการณ์ในลักษณะนี้ ถือเป็น จังหวะที่ดีในการชวนให้นักลงทุนกลับเข้ามาในตลาด

สาเหตุสำคัญคือ ความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ถูกสะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นแล้วค่อนข้างมาก  โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาในเชิงสถิติ พบว่า ระดับราคาหุ้นไทยได้ปรับลดลงจนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 SD

หากอ้างอิงจากประสบการณ์ในรอบที่ผ่านมา เช่น ช่วงวิกฤต COVID-19 นักลงทุนที่เข้าซื้อในช่วงที่ตลาดลงลึกถึงระดับเดียวกันนี้ (ต่ำกว่า 3SD) สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น โดยเฉพาะในระยะกลางถึงยาว 3 เดือนหลังการซื้อ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเกือบ 20% 1 ปีถัดมา ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 66% และภายใน 2–3 ปี ตลาดฟื้นตัวและหุ้นไทยให้ผลตอบแทนรวมประมาณ 100%

ปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยกำลังอยู่ในช่วงของการปรับพอร์ตและดึงสถานะการลงทุนกลับเข้ามา หรือที่เรียกว่าเป็นรอบของการ รีทรีต (Re-entry) โดยแนะนำจับตานโยบายการเงิน การดำเนินนโยบายของรัฐบาลในด้านต่างๆ เช่น การผลักดันงบประมาณและร่างงบประมาณปี 2569

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังมีแรงหนุนจากกระแส (Trade Deals) ที่น่าจะช่วยผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากความต้องการสินค้าระดับโลก (Global Demand Outperformance) โดยเฉพาะหุ้นไทยอย่าง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG, บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC และกลุ่มปิโตรเคมีที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

นอกจากนี้ ยังมีการประสานกับหุ้นกลุ่มธุรกิจที่เป็น Call Business เช่น กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและโรงพยาบาล มีแนวโน้มกลับเข้าสู่สถานะที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

เนื่องจากในเดือนล่าสุด นักท่องเที่ยวจีนเริ่มเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล เช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เช่น บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL จึงเริ่มมีการกลับเข้าสู่สถานะเชิงบวกและเป็นที่น่าจับตามองในช่วงเวลานี้

ส่วนประเด็นการเปลี่ยนกอง LTF เดิมจากข้อมูลล่าสุด ประเมินยอดการแปลงจาก LTF เดิมมาเป็น Thai ESGX อยู่ที่ประมาณ 27,000 ถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่คงที่เพราะตั้งแต่ประกาศขาย Thai ESGX เดือนพฤษภาคม ราคาหุ้นปรับขึ้นแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง

โดยดัชนีหุ้นไทยลดลงประมาณ 1,050 จุด หรือลดลงราว 14% ซึ่งสูงกว่ารอบความเสี่ยงทางการเมืองในอดีตที่ลดลงเพียง 9% ดังนั้น นักลงทุนที่สวิตช์กองทุนเข้ามาก่อนหน้านี้ จึงเห็นมูลค่าทรัพย์สินลดลงตามไปด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ยอดการแปลง LTF ไม่ได้สูงตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนกองทุน LTF ที่ยังเหลืออยู่ ณ ปัจจุบัน มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม นักลงทุนกลุ่มนี้ก็ไม่น่าจะขายหุ้นในตอนนี้มากนัก เพราะเข้าใจว่าราคาหุ้นยังมีมูลค่าอยู่ ทำให้แรงขายยังไม่รุนแรงมากนัก โดยอาจจะรอดูสถานการณ์และปรับพอร์ตในช่วงต่อไป

Back to top button