PJW โบรกอัพเป้าใหม่ 6.50 บ. หลังรุกตลาด EV ดันรายได้ “ชิ้นส่วนยานยนต์” โตเด่น

PJW โบรกอัพเป้าใหม่ 6.50 บาท หลังรุกตลาด “อีวี” หนุนรายได้ “ชิ้นส่วนยานยนต์” โตเด่น เตรียมเดินเครื่องผลิตเปลือกแบตเตอรี่-ระบบหล่อเย็น เริ่มรับรู้รายได้ 100 ลบ. ปี 66 และภายในปี 69 แตะ 500 ลบ.


บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้วันนี้(18เม.ย.2565)  ว่า บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน)  หรือ PJW เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2565  PJW เซ็น MOU กับ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ในการวิจัยและพัฒนาเปลือกแบตเตอรี่และระบบหล่อเย็นสำหรับแบตเตอรี่ด้วยพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อทดแทนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อลดน้าหนักของรถ เพิ่มระยะทางการวิ่ง และลดจำนวนการชาร์จ ช่วยยืดอายุการทางานของแบตเตอรี่ ในปี 2565 จะเป็นปีของการผลิต Prototype โดยรายได้จะเริ่มเข้ามาในปี 2566 เป็นต้นไป ซึ่ง PJW ตั้งเป้ารายได้ไม่ต่ำ 100 ล้านบาทในปี 2566 และจะเพิ่มเป็น 500 ล้านบาท ภายในปี 2569 การผลิตในระยะแรกจะเป็นการผลิตเพื่อรถเชิงพาณิชย์ และต่อยอดการพัฒนาผลิตชิ้นส่วนสาหรับรถยนต์นั่งไฟฟ้าส่วนบุคคลซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ต่อไป

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์จากรถสันดาบไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากจะกระทบจำกัดมากต่อธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยานยนต์ของบริษัทแล้ว ยังเป็นโอกาสให้บริษัทอยู่ใน Supply chain ของการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ไฟฟ้า (New S-curve) ปัจจุบัน PJW เป็น First tier ของผู้ผลิตค่ายรถยนต์ทั้งญี่ปุ่น จีน และยุโรป เช่น Nissan, Mitsubishi, Honda, MG, Great Wall Motor, Volvo เป็นต้น ในช่วง 5 ปีก่อน COVID-19 (ปี 2558-2562) รายได้จากการผลิต Auto parts โตเฉลี่ย 21.4% CAGR มีสัดส่วนต่อรายได้รวม 28-32% คาดรายได้จาก Auto parts ปี 2565 โต 10.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเร่งตัว โต 21.5% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปี 2566  เมื่อมี New S-curve เข้ามา

โดยคงประมาณการกำไรปี 2565 ที่ 194.3 ล้านบาท  โต 14.6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับกำไรปี  2566-2567  ขึ้น 5.0% และ โต 7.1% เป็น โต 25.7% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ โต 11.0% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ คิดเป็นกำไรโตเฉลี่ย 17.0% CAGR ในช่วงปี 2565-2567 (เดิมคาดโต 15.4% CAGR) จากยอดขายของธุรกิจใหม่ (New S-curve) เปลือกแบตเตอรี่และระบบหล่อเย็น 100 ล้านบาท ในปี 2566  และโต 65% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปี 2567 อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายดีขึ้นกว่าประมาณเดิม 20-40 bps จากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของ New S-curve (ผลิตภัณฑ์พลาสติกทางการแพทย์และยานยนต์ไฟฟ้า) ซึ่งมีมาร์จิ้นสูงกว่าธุรกิจเดิม

ปรับราคาเป้าหมายปี2565 ขึ้นเล็กน้อยเป็น 6.50 บาทจากเดิม 6.00 บาท ส่วนเพิ่มมาจากกาไรของธุรกิจเปลือกแบตเตอรี่และระบบหล่อเย็นในปี2566 อิง PE 15 เท่าและ Discount 20% เพื่อเพิ่มราคาเป้าหมายในปีนี้ ทั้งนี้ ธุรกิจเปลือกแบตเตอรี่และระบบหล่อเย็นอาจเพิ่มมูลค่าหุ้นให้ 1.00-1.20 บาทต่อหุ้นในปี 2566 ราคาเป้าหมายดังกล่าวคิดเป็น Implied PE ปี 2565 ที่ 19.2 เท่าแต่จะลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 15.3 เท่าในปี 2566 เมื่อสัดส่วนของธุรกิจใหม่เพิ่มมากขึ้น ราคาหุ้นปัจจุบันเทรดที่ PE 13.9 เท่า PEG 0.95 และ EV/EBITDA เพียง 7.3 เท่า แนะนำซื้อ

Back to top button