JMT ดีด 6% ลุ้นปี 66 กำไรทะลุ 2.5 พันล้าน โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 80 บ.

JMT เด้งต่อ 6% JMT มั่นใจส่วนแบ่งกําไรจาก JK AMC มากขึ้นจากการรับโอนหนี้จาก KBANK เข้ามาเพิ่มเติม บล.ทรีนีตี้คาด กําไรปี 66 อยู่ที่ 2,501 ล้านบาท เติบโต 43% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน โบรกแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 80 บาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 ก.พ. 66) ราคาหุ้น บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ล่าสุด ณ เวลา 10:10 น. อยู่ที่ระดับ 52.25 บาท บวก 2.75 บาท หรือ 5.56% สูงสุดที่ระดับ 52.50 บาท ต่ำสุดที่ระดับ 50.75 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 513.92 ล้านบาท

สำหรับราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นผลมาจาก บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT กล่าวว่า ผลประกอบการในงวดปี 2565 ทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,746 ล้านบาท เติบโตจากงวดเดียวกันของปีก่อน 25% มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,410 ล้านบาท เติบโตจากงวดเดียวกันของปีก่อน 22% ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 67% และอัตรากำไรสุทธิ 36% ทั้งนี้ หากไม่รวมค่าใช้ครั้งเดียวที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเคลมประกันโควิด บริษัทจะมีการเติบโตของกำไรสุทธิกว่า 32%

โดยในปี 2566 ปัจจัยกดดันจะลดน้อยลงและผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ตามการประเมินของ บล.ทรีนีตี้ ว่าบริษัทฯจัดเก็บกระแสเงินสดจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ และการซื้อหนี้จะกลับมาเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณการขายหนี้จากสถาบันการเงินที่มากขึ้นหลังหมดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

ทั้งนี้ ยังคาดจะเห็นส่วนแบ่งกําไรจาก JK AMC ที่มากขึ้นจากการรับโอนหนี้จาก KBANK เข้ามาเพิ่มเติม โดยทางฝ่ายวิจัยคาดกําไรปี 2566 อยู่ที่ 2,501 ล้านบาท เติบโต 43% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน

ขณะที่บริษัทมีแผนที่จะนํา JAM ซึ่งเป็นบริษัทลูกเข้า IPO ในตลาดฯ ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการปรับโครงสร้าง โดยคาดว่า JMT จะบริหารพอร์ตหลัก คือ หนี้ไม่มีหลักประกัน ขณะที่ JAM จะบริหารหนี้ที่มีหลักประกัน ซึ่ง JAM จะได้เงินที่ได้จากการระดมทุนไปประมูลซื้อหนี้เพิ่มเติมอย่างไรก็ตามยังคงต้องรอความชัดเจนในด้านโครงสร้างและแผนธุรกิจภายหลังการ Spin-off จากทางบริษัทอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้นคงราคาเป้าหมายปี 66 ที่ 80 บาท อิง PBV 4.7 เท่า สำหรับราคาหุ้นปัจจุบันที่อ่อนตัวทำให้ Downside ต่ำ ขณะที่แนวโน้มกําไรยังเติบโตดี จึงยังคงคำแนะนํา “ซื้อ”

สำหรับ JMT ประกาศกําไร 2565 อยู่ที่ 1,746 ล้านบาท เติบโต 25% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน ขณะที่กําไรไตรมาส 4/2565 อยู่ที่ 490 ล้านบาท เติบโต 8% จากไตรมาสก่อน และ 3% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นระดับ New High ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ก่อนหน้า

โดยยอดจัดเก็บกระแสเงินสดสำหรับปี 2565 อยู่ที่ 5,548 ล้านบาท เติบโต 21% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน ขณะที่ยอดจัดเก็บในไตรมาส 4/2565 อยู่ที่ 1,337 ล้านบาท อ่อนตัว 6% จากไตรมาสก่อน และ 2% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อน ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการลงทุนซื้อหนี้ในระหว่างปีที่ค่อนข้างน้อย บวกกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอาจมีผลระยะสั้น คือ ลูกหนี้อาจต้องนําเงินไปลงทุนหรือไปบริโภค

ขณะที่ต้นทุนในการให้บริการเพิ่มขึ้น 18% จากไตรมาสก่อน โดยหลักเป็นการเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายทางด้านกฎหมายและดำเนินคดีราว 31 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้การจัดเก็บในปี 66 ปรับตัวดีขึ้น ด้านเบี้ยประกันภัยรับเติบได้ดีราว 35% จากไตรมาสก่อน และ 65% เมื่อเทียบกับงวดเดียวของปีก่อนอีก

ทั้งยังเห็นอัตรากําไรที่ดีขึ้นหลัง Loss Ratio ลดลงหลังไม่มีประกันภัย COVID-19 เข้ามากดดันสําหรับส่วนแบ่งกําไรจากบริษัทร่วม (JK AMC) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 77% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 63 ล้านบาทเนื่องจากในไตรมาส 4/2565 มียอดรับโอน NPL เข้ามาอีกราว 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดหนี้ภายใต้การบริหารอยู่ที่ราว 7 หมื่นล้านบาทแล้ว

นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (14 ก.พ.66) มองว่าในปี 2566 ปัจจัยกดดันดังกล่าวจะลดน้อยลง ทำให้การจัดเก็บกระแสเงินสดจะดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ และการซื้อหนี้จะกลับมาเพิ่มขึ้นได้ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณการขายหนี้จากสถาบันการเงินที่มากขึ้นหลังหมดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

นอกจากนี้ยังคาดว่าจะเห็นส่วนแบ่งกำไรจาก JK AMC ที่มากขึ้นจากการรับโอนหนี้จาก KBANK เข้ามาเพิ่มเติม โดยคาดกำไรปี 2566 ที่ 2,501 ล้านบาท เติบโต 43% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

โดยยังคงราคาเป้าหมายปี 66 ที่ 80 บาท อิงค่า PBV 4.7 เท่า ราคาหุ้นปัจจุบันที่อ่อนตัวทำให้ Downside ต่ำ ขณะที่แนวโน้มกำไรยังเติบโตดี จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

Back to top button