PTTEP เผยแผยงานปี 59 ประมาณการรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 3,443 ล้านเหรียญฯ

PTTEP เผยแผยงานปี 59 ประมาณการรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 3,443 ล้านเหรียญฯ แบ่งเป็นลงทุนในไทย 55% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น 27% ส่วนโครงการในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้แอฟริกาและตะวันออกกลาง ลงทุน 18%


นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า สำหรับแผนการดำเนินงานประจำปี 2559 ของ ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีประมาณการรายจ่ายรวมทั้งสิ้น 3,443 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) แบ่งเป็นรายจ่ายดำเนินงาน (Operating Expenditure) 1,353 ล้านดอลลาร์ สรอ. และรายจ่ายลงทุน (Capital Expenditure) 2,090 ล้านดอลลาร์ สรอ.

โดยแบ่งเป็น โครงการในประเทศไทย มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นเพื่อรักษาระดับปริมาณการผลิต มีโครงการหลักที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอาทิตย์โครงการเอส 1 โครงการบงกช โครงการคอนแทร็ค 4 และโครงการ MTJDA

โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายสาหรับโครงการในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้แก่ การลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตของโครงการซอติก้า โครงการยาดานาและโครงการเยตากุน รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของโครงการเมียนมาร์เอ็ม 3

ส่วนโครงการในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้แอฟริกาและตะวันออกกลาง มีประมาณการรายจ่ายลงทุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน และกิจกรรมการสำรวจในโครงการบราซิล บีเอ็มอีเอส 23

ทั้งนี้ ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีประมาณการรายจ่ายรวม 5 ปี ในช่วงปี 2559 – 2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

จากแผนงานดังกล่าว ส่งผลให้ ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวัน (จากโครงการปัจจุบัน) ระหว่างปี 2559 – 2563 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ทั้งนี้ บริษัทมีการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายตามสถานการณ์ราคาน้ามันที่ตกต่ำ เห็นได้จากประมาณการรายจ่ายปี 2558 ที่ปรับลดประมาณร้อยละ 25 จากงบประมาณที่ตั้งไว้เมื่อต้นปี 2558 และยังมีการปรับลดอย่างต่อเนื่องในงบประมาณสาหรับปี 2559

นอกจากนี้ บริษัทมีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ามันอย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมความพร้อมโดยการบริหารสภาพคล่องให้มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะราคาน้ามันที่ผันผวนในตลาดโลก

Back to top button