กระต่ายตื่นตูมและสายเหยี่ยวในเฟดฯ

ดัชนีตลาดหุ้นนิวยอร์กทุกรายการพากันร่วงต่อเนื่อง แสดงถึงการปรับฐานแรง ต่อเนื่องตลอด 2 สัปดาห์ โดยมีอีกาบินเหนือตลาดหุ้นวอลล์สตรีทฝูงใหญ่ ผิดปกติ ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เอาข่าวเรื่องสายเหยี่ยวในเฟดฯ ออกมาให้ข่าวชนิด “โยนก้อนหินถามทาง” ข้างหน้าชนิดยาวไกลว่า ปลายปี 2566 หรือ อีก 2 ปีข้างหน้า เฟดฯ อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อมาถล่มตลาดแรงในวันที่สัญญาส่งมอบตราสารอนุพันธ์ในตลาดจะต้องครบกำหนด


ดัชนีตลาดหุ้นนิวยอร์กทุกรายการพากันร่วงต่อเนื่อง แสดงถึงการปรับฐานแรง ต่อเนื่องตลอด 2 สัปดาห์ โดยมีอีกาบินเหนือตลาดหุ้นวอลล์สตรีทฝูงใหญ่ ผิดปกติ ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เอาข่าวเรื่องสายเหยี่ยวในเฟดฯ ออกมาให้ข่าวชนิด “โยนก้อนหินถามทาง” ข้างหน้าชนิดยาวไกลว่า ปลายปี 2566 หรือ อีก 2 ปีข้างหน้า เฟดฯ อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อมาถล่มตลาดแรงในวันที่สัญญาส่งมอบตราสารอนุพันธ์ในตลาดจะต้องครบกำหนด

อายุพอดี ทำเอาดัชนีดาวโจนส์ที่มีอาการไม่ค่อยดีอยู่แล้วเสียศูนย์หนักเข้าไปอีก

ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ ร่วงลง 533.37 จุด หรือ -1.58% ลงมาใต้แนวรับสำคัญ 34,000 จุด ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,166.45 จุด ลดลง  55.41 จุด หรือ  -1.31% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 14,030.38 จุด ลดลง 130.97 จุด หรือ -0.92% ถือว่าร่วงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ 8 เดือน นับแต่เดือน ต.ค. 2563

คำอธิบายแบบวีรชนหลังสงคราม “ของบรรดานักวิเคราะห์อเมริกัน (ซึ่งไม่ได้ฉลาดล้ำเลิศอะไรเลย) ว่ามีสาเหตุจากนักลงทุนพากันเทขายหุ้นออกมาท่ามกลางความวิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะเริ่มปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ในปลายปี 2566 ถึง 2 ครั้ง (ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่เคยส่งสัญญาณในเดือน มี.ค.ว่า เฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2567) โดยแสร้งทำเป็นลืมไปว่า เสียงของสายเหยี่ยวในเฟดฯ นั้นเป็นเสียงส่วนน้อย

สายเหยี่ยวถือเป็นคนที่ส่งเสียงดังกว่าระดับปกติ มักจะเคลื่อนไหวกดดันให้เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ย เพราะข้ออ้างว่าการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อใกล้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการย้อนไปถึงฝันร้ายจากวิกฤตซับไพรม์เมื่อ 11 ปีก่อน ที่เกิดความผิดพลาดของเฟดฯ ยุคปลายของนายอลัน กรีนสแปน (ที่ยืนหยัดใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำนานเกินไป จนกระทั่งทำให้เกิดมายาคติขึ้นมาว่า ตลาดเงินจะปลอดภัยจากวิศวกรรมการเงินที่เล่นกับความเสี่ยงในตลาดตราสารอนุพันธ์ จนเชื่อว่าตลาดสามารถรับมือกับความเสี่ยงได้) แต่ไม่ประสบความสำเร็จมานานกว่า 3 ปี โดยล่าสุด ในการประชุมกำหนดนโยบายในสัปดาห์ที่ผ่านมา กรรมการเฟดจำนวน 13 จาก 18 รายคาดว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน 3 ปีข้างหน้า

ความพ่ายแพ้ในเฟดฯ ทำให้ตัวแทนสายเหยี่ยว อย่างนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ออกมาอาละวาดตามประสา “ขี้แพ้ชวนตี” ว่า เขาเป็นกรรมการเฟด 1 ใน 7 รายที่คาดว่า เฟดฯ จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน 2 ปีข้างหน้า เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พวกเขาคาดว่า จะพุ่งแตะ 3% ในปีนี้ และจะอยู่ที่ 2.5% ไปจนถึงปี 2565 โดยสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่ระดับ 2% ของเฟด

นายบูลลาร์ดระบุว่า  มีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อรับมือตามปกติต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะต่อเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ ขณะที่สหรัฐฯ ทำการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากประกาศล็อกดาวน์ก่อนหน้านี้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

หากพินิจให้ดี จะเห็นว่า คำกล่าวของสายเหยี่ยวในเฟดฯ ดังกล่าว เป็นแค่การคาดเดาเพื่อ “รักษาหน้า” เท่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถึงเกิดขึ้นจริงก็ไม่ควรแก่การกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเพียงแค่การ “โยนก้อนหินถามทาง”

การที่ขาทุบในตลาดหุ้นนิวยอร์กหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาสร้างแรงขายชั่วคราว จึงเป็นเพทุบายปกติของเกมในตลาดหุ้นตามปกติ หลังจากที่ดัชนีขาขึ้นไปต่อไม่ได้…แล้วส่งผลสะเทือนของภาวะ “กระต่ายตื่นตูม” ไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก (รวมถึงตลาดหุ้นไทย) ด้วย

ที่น่าสนใจตรงที่บอนด์ยีลด์ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดแนวโน้มเงินเฟ้อสำคัญ กลับอ่อนค่าลง สะท้อนให้เห็นว่าคำกล่าวของนายบูลลาร์ดเกินจริงอย่างมาก

แนวโน้มของการที่เฟดฯ จะขึ้นดอกเบี้ยในระยะอันใกล้จึงเป็นแค่สงครามนโยบายภายในเฟดฯ ธรรมดา เป็นแค่การ “เขียนเสือให้วัวกลัว” ธรรมดาเท่านั้นเอง

การร่วงลงของดัชนีตลาดหุ้นนิวยอร์กส่งผลสะเทือนถึงตลาดอื่น ๆ เช่น ตลาดทองคำ น้ำมันดิบ และอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยเฉพาะการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อคืนวันศุกร์

ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.39% แตะที่ 92.2262 ทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินฟรังก์สวิส ดอลลาร์แคนาดา และเงินยูโร แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.14 เยน จากระดับ 110.24 เยน

ในกรณีตลาดหุ้นไทย ค่าเงินบาทที่อ่อนยวบเทียบกับดอลลาร์ในรอบ 8 เดือน จากฟันด์โฟลว์ที่ไหลออก ส่งผลให้ดัชนี SET ของตลาดหุ้นไทยร่วงแรง แต่ยังไม่หลุดใต้แนวรับจิตวิทยาสำคัญที่รับ “วัดใจ” 1,600 จุด

การร่วงลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นยามนี้ จึงเป็นภาวะชั่วคราวไม่ใช่การพังทลายของฟองสบู่ตลาดหุ้น หรือการจบยุคดอกเบี้ยขาลงหรือดอกเบี้ยทรงตัวต่ำแต่อย่างใด

คงต้องย้ำกันอีกครั้งว่า ตัวเลขไม่เคยโกหก

แล้วรอบนี้ ชาวสวนอาจกลายเป็นเศรษฐีได้ง่าย ๆ หากเลือกซื้อหุ้นถูกตัวที่ลงมาให้ช้อนซื้อในราคาต่ำ ๆ…. ขอบอกไว้ล่วงหน้า

Back to top button