โควิด-19 กับช่วงเวลาย่ำฐาน

ตัวเลขผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงอยู่เหนือวันละ 4.5 พันราย ถือว่ายังสูงอยู่ที่ ภาษานักเล่นหุ้นทางเทคนิคเรียกว่าการย่ำฐานแบบไซด์เวย์ดาวน์ครับ


เวลาผ่านมาแล้ว 1 เดือนของการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ของรัฐบาลไทย แต่ตัวเลขผู้ป่วยใหม่ที่ยังคงย่ำเท้าอยู่เหนือวันละ 4.5 พันราย ก็ยังคงถือว่ายังสูงอยู่ที่ ภาวะลดลงแต่ไม่มากเท่าที่คาดหวัง ภาษานักเล่นหุ้นทางเทคนิคเรียกว่าการย่ำฐานแบบไซด์เวย์ดาวน์ครับ

เรียกว่า ประมาทใจไม่ได้เลยเพราะอาจจะพลิกกลับมาเป็นขาขึ้นเมื่อใดก็ได้ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลแบบ “ลักปิดลักเปิด ที่กระทำกันอยู่ เปิดช่องให้ตัวเลขการแพร่ระบาดกลับมาพุ่งได้เสมอเหมือนเมื่อครั้งปลายปีที่แล้วที่มีตัวเลขลดลงต่ำกว่าวันละ 200 ซึ่งรัฐบาลไทยเอามาคุยโขมงถึงความสำเร็จจนกระทั่งต้องปิดปากลงเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ ที่กลางปีนี้พุ่งตัวเลขขึ้นถึงวันละเกือบ 20,000 คน ให้เสียวสยองไปทั่ว

ใครที่กล้าประกาศว่าประสบความสำเร็จมากในโลกล้วนกลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะหลังจากการแพร่กระจายของสายพันธ์โอไมครอนล่าสุดหรือเรียกว่า B.1.1.529 ซึ่งมีการกลายพันธุ์จำนวนมากในโปรตีนขัดขวาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์ในร่างกายและเป็นเป้าหมายของวัคซีนถือว่าน่ากลัวไม่น้อยเพราะหากตัวแปรถูกระงับและหากการฉีดวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นอาจเปลี่ยนการคำนวณสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

แม้ว่าจะไม่ใช่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อในปัจจุบัน ก็นำมาซึ่งความท้าทายต่อการคาดเดาทางลบว่า ในขณะที่การติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น  การล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบอาจยังคงต้องเสีย 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรายไตรมาสต่อสัปดาห์ ตามการคำนวณของนักเศรษฐศาสตร์ของ Citi ซึ่งสังเกตว่ามาตรการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะลดค่าเงินลง และอาจก่อให้เกิดการกู้ยืมจากรัฐบาลและการสนับสนุนทางการเงินเพิ่มขึ้น

โดยที่โควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้ที่ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน เพิ่มความปวดหัวให้กับการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นซึ่งบีบให้ออสเตรียและสโลวาเกียบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้เคยเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยในฐานะ  New Normal

แม้ว่าบรรดานายธนาคารกลางยุโรปแสดงความมั่นใจอย่างเงียบ ๆ ว่าท่ามกลางการควบคุมการเดินทางทั่วโลก  ในขณะเดียวกัน ข้อมูลที่มีความถี่สูงชี้ว่ารอยฟกช้ำต่อการเติบโตจากมาตรการดังกล่าวมีลักษณะที่เจ็บปวดน้อยลงทุกครั้งที่มีการล็อกดาวน์ติดต่อกัน ทำให้เกิดความหวังว่ารอบล่าสุดนี้ จะไม่รุนแรงเท่าเดิม…แต่มาตรการเข้มงวดที่เริ่มนำกลับมาใช้ในหลายประเทศไม่ชวนให้มอง “โลกสวย” เกินเหตุมากเกิน

การระบาดทั่วของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย อันเป็นประเทศแรกที่พบผู้ป่วยยืนป่วย โควิด-19 นอกประเทศจีน เป็นไปอย่างปากว่าตาขยิบด้วยความเกรงว่า การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศพบผู้ป่วยประปรายตลอดเดือน ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากหรือเป็นผู้พำนักอยู่ในประเทศจีนแทบทั้งสิ้น จนเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ถึงมีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการแพร่เชื้อในประเทศเป็นครั้งแรก

   ความชะล่าใจจากจำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 รายเมื่อสิ้นเดือนดังกล่าว ส่งผลต่อความเฉื่อยชาในการตอบสนองของรัฐบาลต่อการระบาดเริ่มจากการคัดกรองและการติดตามการสัมผัส แม้จะมีการคัดกรองโควิดตามท่าอากาศยานนานาชาติตลอดจนที่โรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัส มีการสอบสวนโรคกรณีที่เกิดกลุ่มการระบาด กระทรวงศึกษาธิการเน้นการเฝ้าระวังตนเอง การรักษาความสะอาดโดยเฉพาะการล้างมือ และการเลี่ยงฝูงชน (หรือใส่หน้ากากอนามัยแทน) แม้บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำให้กักตนเอง แต่ยังทำกันแบบขอไปที และไม่มีคำสั่งจำกัดการเดินทางจนวันที่ 5 มีนาคม 2563

ในวันที่ 19 มีนาคม 2563 ซึ่งการระบาดเริ่มลุกลามมากขึ้น จึงมีประกาศเพิ่มเติมให้ต้องมีเอกสารการแพทย์รับรองการเดินทางระหว่างประเทศและคนต่างด้าวต้องมีประกันสุขภาพ ปลายเดือนมีนาคม 2563 สถานที่สาธารณะและธุรกิจห้างร้านได้รับคำสั่งให้ปิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด

ผลของคำสั่งที่มีอำนาจบังคับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา ที่ให้ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด แล้วยกเลิกเป็นระยะ และปิด-เปิดสถานศึกษาในเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งทำให้มีคำถามตามมาว่าการคงประกาศรักษาอำนาจดังกล่าว มีไว้เพื่อหยุดยั้งการประท้วงทางการเมืองที่เริ่มแผ่กว้าง และถี่ชุกมากขึ้น ส่งผลต่อความชอบธรรมของรัฐบาลมากขึ้น

เสียงเริ่มสะท้อนว่า บุคลากรทางการแพทย์ในการต่อต้านการแพร่ระบาดของเชื้อจุลชีวะของสังคมไทยไม่เพียงพอ ทั้งจำนวนและคุณภาพด้วยสาเหตุหลักที่สาขาทางด้านนี้ได้รับความนิยมต่ำและ “มีโอกาสร่ำรวยต่ำกว่า ตอกย้ำความลักลั่นเชิงโครงสร้างด้านบุคลากรที่เรื้อรัง แล้ว ยังตามมาด้วยประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมในทุกระดับ รวมทั้งประเด็นทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองตามไปด้วย

เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เพิ่งระบาดในขณะที่รัฐบาลไทยเริ่มมาตรการที่ผ่อนคลายล็อกดาวน์สวนทางกันถือเป็นความย้อนแย้งที่ชวนตั้งคำถามมากมาย แม้ความยืดหยุ่นของรัฐชาติต่าง ๆ จะมากขึ้นและยืนยันว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจของระลอกล่าสุดนี้ อาจจะรุนแรงน้อยกว่าครั้งก่อนที่ช่วยทำให้เกิดโอกาสที่เศรษฐกิจในวงกว้างที่ช่วยให้จะสามารถฝ่าฟันฤดูหนาวในปีนี้จากการปิดระบบอย่างรุนแรงได้โดยไม่ต้องใช้ความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินใหม่  …ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าน่าวางใจ

ที่ต้องบอกอย่างนี้ เพราะขนาดว่ามีการประโคมความสำเร็จของการเร่งฉีดวัคซีน และตกแต่งตัวเลขยอดผู้ป่วยให้ต่ำกว่าจริงมากกว่าปกติ แต่การที่ยังมียอดผู้ป่วยใหม่ย่ำฐานที่ระดับ 4.5 พันคนต่อวันยังน่าสยดสยองและส่อเค้าปัญหาที่รอวันปะทุขึ้นมา ซึ่งอาจจะทำให้หันกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดมากขึ้น

มาตรการเปิด ๆ ปิด ๆ หรือลักเปิดลักปิดยามนี้จึงอยู่ในช่วงยามน่าอึดอัดการย่ำฐานที่อาจจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยจากสายพันธุ์ใหม่นี้ แพร่กระจายเป็นขาขึ้นได้

การเก็งกำไรในตลาดหุ้นยามปลายปีนี้ จึงน่าเสียวไส้ใช่น้อยเลย หากพูดจาภาษาหมอคือ รักษาโรคตามอาการเรื่อย ๆ

ตัวใครตัวมันแหละครับ…เว้ากันซื่อ ๆ อย่างนี้แหละ

Back to top button