หุ้นแบงก์ไทยกับหลุมหลบภัย

หลังจากงบการเงินไตรมาสสองผ่านไปก็ถึงเวลาที่ต้องมีข่าวดีถ้าทำให้ผลประกอบการดีทั่วหน้า และมีกำไรเกินคาด แม้ว่าจะยังคงชะลอตัวลง


หลังจากงบการเงินไตรมาสสองผ่านไปก็ถึงเวลาที่ต้องมีข่าวดีถ้าทำให้ผลประกอบการดีทั่วหน้า และมีกำไรเกินคาด แม้ว่าจะยังคงชะลอตัวลง  จากการที่ไม่ต้องพึ่งพากำไรพิเศษมาช่วยแบบปีก่อน เหตุผลเบื้องหลังคือ ตัวเลขหนี้เสียหรือ NPL ที่ลดลงชัดเจน และความสามารถในการควบคุมคุณภาพของสินเชื่อที่ดีกว่าเดิมชัดเจน ในขณะที่ปัจจัยเสริมสำคัญคือกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีการผ่อนคลายมาตรการยกเลิกจำกัดเพดานให้แบงก์จ่ายเงินปันผล ไม่เกินกว่า 50% ของกำไรสุทธิต่อหุ้น ด้วยเหตุผลว่า เกรงจะมีผลกระทบต่อเงินกองทุน ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวกหรือส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มนี้อย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าจะประกาศออกมาไม่ครบทุกธนาคาร แต่กรณีที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY มีกำไรลดฮวบลงมากถึง 46% เหลือ 7.8 พันล้านบาท หลังจากไม่มีบันทึกพิเศษจากที่ระยะเดียวกันปีก่อนมีตัวเลขกำไรพิเศษจากการที่ TIDLOR ระดมทุนในตลาดจากการออก IPO ที่ทำให้มีกำไรโป่งมากกว่าปกติ แต่ข่าวดีสำหรับปีนี้คือ NPL ที่ลดลงชัดเจน ทำเหมือนช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ราคาลดฮวบลงไปตามหลักปกติธรรมดาไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะนักลงทุนคาดเดาไว้แล้ว

ในกรณีของธนาคารขนาดเล็กที่มีรายได้จากธุรกรรมเฉพาะอย่างกลุ่ม TISCO ที่ยังคงเป็นหุ้นที่รายงานงบเร็วที่สุดต่อไป โดยรายงานว่างบครึ่งแรกปี 2565 มีกำไรสุทธิ 3,644 ล้านบาท เติบโต 6.2% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ให้แค่ 4.3% เนื่องจากการกลับมาเติบโตของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค การฟื้นตัวของธุรกิจนายหน้าประกันภัย และการตั้งสำรองทางเครดิตที่ลดลง ตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น จากผลพวงของแผนการขยายสาขา ‘สมหวัง เงินสั่งได้’ ในธุรกิจเช่าซื้อที่มาแรงสุดในยามตลาดผันผวน

ส่วนธนาคารรายใหญ่อย่าง KBANK ที่กำไรสุทธิแซงหน้ามาอยู่ที่อันดับหัวแถวตั้งแต่ปีก่อน ยังคงมีกำไรสวยงามต่อไป ทั้งจากการดำเนินงานปกติและจากวิศวกรรมการเงินซึ่งจับมือ บมจ.เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์สร้างบริษัทร่วมทุน (JK AMC) แล้วให้ทางด้าน KBANK จะขายหนี้เสียให้ JK AMC มูลค่า 30,000 ล้านบาททำให้เอ็นพีแอลลดลง แล้วมีกำไรกลับตื่นมาในไตรมาสที่สี่อีกต่อหนึ่งจากบริษัทร่วมทุนจากการบริหารหนี้ที่ยังไงก็มีกำไรงดงาม

NPLที่ลดลงฮวบฮาบของ KBANK นี้นอกจากจะช่วยให้กำไรของ KBANK เพิ่มในไตรมาสที่สามและสี่แล้ว ยังช่วยให้ NPL ของหุ้นกลุ่มแบงก์โดยรวมลดลงตามไปด้วย ทำให้การคาดเดาเรื่องกำไรสุทธิไตรมาสสองหรืองวดกลางปีดีตามไปด้วยทั้งที่ยังไม่รวมการขายทิ้งหนี้เน่าที่จะบันทึกในไตรมาสสาม

สำหรับหุ้นราคาถูกสุดในตลาดอย่าง CIMBT ที่่มีกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นอย่างมากจากปีก่อน โดยที่งวดไตรมาสสอง มีกำไรสุทธิถึง 1.014 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่ มีเพียง 513 ล้านบาท ทำให้งวดครึ่งปีมีกำไรกระโดดจากระดับ 956.7 ล้านบาท มาเป็น 2.11 พันล้านบาท หรือเติบโตมากถึงกว่า 100%

แล้วก็หุ้นธนาคารขนาดเล็กอย่าง LHFG ที่ในไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิจำนวน 233.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.1 เทียบไตรมาส 2/2564 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 477.5 ล้านบาท เป็นผลจากการลดลงรายได้จากค่าธรรมเนียมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว ไม่น่ากังวลแต่อย่างใด แต่รายได้กลับเพิ่มขึ้น และ NPL ลดลง

หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่ในยามปกติจะประกาศงบการดำเนินงานงวดครึ่งแรกของปีก่อนหุ้นกลุ่มอื่น ๆ เพราะเป็นไปตามกฎของธปท. ยังคงอืดอาจเช่นเดียวกับ 2 ปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นเพราะกำไรเติบโตไม่สวยงามเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่ว่าไปแล้วการที่หุ้นกลุ่มนี้ ยังคงมีกำไรสุทธิต่อเนื่องก็ยังถือว่าเป็นข่าวดี เพราะแม้จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีการชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก

อัตรากำไรสุทธิที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ยังคงเป็นจุดเด่นที่ทำให้นักวิเคราะห์ทุกสำนักแนะนำให้ซื้อสะสมเข้าพอร์ต เพราะราคาหุ้นกลุ่มนี้ยังต่ำกว่าบุ๊กแวลูค่อนข้างมาก

ข้อมูลจากการทำประมาณการผลประกอบการงวดไตรมาส 2/2565 ของธนาคารพาณิชย์ครอบคลุม 7 แห่ง หรือ top7 คือ ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP), ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) และ บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) นักวิเคราะห์ทุกสำนัก คาดการณ์กำไรสุทธิรวมจะอยู่ที่  42,373 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.9% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลง 4.5% จากไตรมาสก่อนหน้า

เมื่อเทียบพื้นฐานของหุ้นกลุ่มธนาคารที่เริ่มกลับมาแข็งแกร่ง แม้จะยังลักลั่นในความสามารถทำกำไร ก็ยังเป็นทิศทางที่น่าสนใจ หากไม่นับหุ้นที่ยังคงแก้ปัญหาไม่จบง่ายอย่าง TTB (ซึ่งอาจถือเป็นข้อยกเว้น) ก็ยังทำให้เห็นว่าการเข้าถือหุ้นธนาคารในพอร์ตเป็น “หลุมหลบภัยชั้นดี” ได้

Back to top button