ค่าพี/อี ที่ระดับ 18 เท่า

โดยทางทฤษฎีแล้วนักวิเคราะห์จะให้ค่า P/E ของดัชนี SET เท่า โดยกำหนดช่วงเวลาที่ราคาหุ้นแย่มากจนถึงระดับควรซื้อมากไว้ที่ 10 เท่า


โดยทางทฤษฎีแล้วนักวิเคราะห์จะให้ค่า P/E ของดัชนี SET เท่า โดยกำหนดช่วงเวลาที่ราคาหุ้นแย่มากจนถึงระดับควรซื้อมากไว้ที่ 10 เท่าช่วงบูมให้ 40 เท่า จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ มีวิกฤตกำไรหาย P/E จะสูงมากชั่วคราว หรือมีอะไรแปลก ๆ เข้ามาให้หุ้นขึ้นจนถึงขั้นค่าพี/อีสูงจนถึงระดับ “ต้องร้องขอชีวิต”

หากถือเครางามทฤษฎีแล้วระหว่างนี้ราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 18 เท่าเศษ ดังนั้นจึงถือกันว่าราคาหุ้นโดยเฉลี่ยของตลาดหุ้นไทย ควรจะต้องปล่อยให้ร่วงจนค่าเฉลี่ยของ SET ควรอยู่ที่ระหว่าง 15 เท่า ลงไปเสียก่อน

ขณะที่ราคาเฉลี่ยของตลาดหุ้น mai ซึ่งล่าสุดถือว่าค่าพี/อี อยู่ที่ 58 เท่า ให้ถือว่า “อยู่ไกลๆ เข้าไว้” เพราะราคาหุ้นโดยเฉลี่ยจะต้องร่วงลงไปต่ำกว่านี้ ราคาจะต้องต่ำลงไปมากกว่านี้ หากคิดตามพี/อีมาตรฐานอยู่ที่แถว ๆ 35 เท่า

ในทางปฏิบัติแล้วราคาหุ้นที่คิดจากค่าพี/อีของตลาดตามมาตรฐานของทฤษฎีนั้นถือว่าเป็นราคา “จอมปลอม” ที่ไม่สามารถวัดราคาหุ้นในตลาดได้ เพราะค่าพี/อีของหุ้นชั้นยอดของหุ้นกลุ่มธนาคารนั้นต่ำมากเป็นประวัติการณ์อยู่แล้ว แต่ยังคงลงได้ลงดีชนิด “วันนี้ว่าถูกแล้วแต่พรุ่งนี้ อาจจะมีถูกกว่า”

พูดมาอย่างนี้ แสดงว่านัยของราคาหุ้นที่ซื้อขายนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือกันเลยหรืออย่างไรและค่าพี/อีของหุ้นนั้น “ไม่ได้บอกอะไรเลย?”

คงไม่เลวร้ายถึงขั้นนั้นเพราะหากมองระยะยาวแล้วค่าพี/อีของหุ้นแต่ละตัวมักจะมีแนวโน้มคล้อยตามกับทฤษฎีค่อนข้างมาก

คำเตือนใจและสติของนักลงทุนโดยทั่วไปจึงออกมาในทำนองว่า “พกหิน อย่าพกนุ่น” เวลาที่เข้าสู่ตลาดหุ้น

คำถามที่ต้องเกิดขึ้น ก็คือหุ้นที่มีอัตราส่วน P/E สูง หรืออย่างน้อยก็สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตเป็นหุ้นที่มีราคาแพงหรือไม่ จึงควรจะเป็นมาตรฐานว่า ควรพิจารณาลงทุนหรือรอไปก่อนจนกว่าอัตราส่วน P/E จะกลับลงมาต่ำกว่าระดับที่เคยเป็นมา

หุ้นที่มีอัตราส่วน P/E สูง อาจไม่ใช่หุ้นแพงเสมอไป ภายใต้อัตราส่วน P/E ที่สูงได้ซ่อนโอกาสที่น่าสนใจ ซึ่งอาจมีนักลงทุนศึกษาข้อมูลของบริษัทจนพบโอกาสและลงทุนในหุ้นที่มี P/E สูง และไปดูกันต่อว่ามีเครื่องมืออะไรที่นักลงทุนจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนหุ้นที่มี P/E สูงที่อย่างไรเสียก็มักจะร่วงไม่เกินกว่าพื้นฐาน เพียงแต่นักลงทุนดังกล่าวต้องไม่หวั่นไหวง่าย ๆ ต่อสถานการณ์เฉพาะหน้า

โดยพื้นฐานของตลาดหุ้นนั้น ค่าพี/อีหมายความถึงอัตราส่วนทางการเงิน ที่บอกว่าถ้าเราซื้อราคาเท่านี้ในปัจจุบัน จะคืนทุนในอีกเท่าใดในปีหน้า หากกำไรของบริษัทยังเท่าเดิม

อัตราส่วน P/E ถึงไม่ใช่อัตราส่วนที่ควรมองข้าม เพราะโดยเนื้อแท้ของมัน เป็นอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมของนักลงทุนสายคุณค่า (VI) โดยนำข้อมูลทางการเงินมาใช้วิเคราะห์พื้นฐานของบริษัท โดยคำนวณมาจากราคาตลาดของหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น (Price/Earnings Per Share) หรือก็คือ การนำราคาหุ้นมาเทียบกับความสามารถในการสร้างกำไรของบริษัท

ในอีกมุม นักลงทุนยินยอมจ่ายเงินลงทุนเท่าไรเพื่อแลกกับกำไรของบริษัท 1 บาท และรอเพื่อให้คืนทุนได้กี่ปี ด้วยการสมมติว่ากำไรไม่มีการเปลี่ยนแปลงและถูกนำมาปันผลคืนนักลงทุนทั้งหมด

ยกตัวอย่างเช่น หุ้นบริษัท A มีราคา 50 บาท กำไรต่อหุ้น 10 บาท อัตราส่วน P/E เท่ากับ 5 เท่า หากบริษัทนำกำไรมาปันผลทั้งหมดมาปันผลปีละ 10 บาท จะใช้เวลาคืนทุน 5 ปี

อัตราส่วน P/E สามารถนำมาพิจารณาความเหมาะสมของราคาหุ้นได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตของหุ้น หรือเทียบกับค่าเฉลี่ยอัตราส่วน P/E ของกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัท นอกจากนี้อัตราส่วน P/E อาจถูกนำไปประยุกต์โดยกลับเศษส่วนได้ออกมาเป็น Earnings Yield หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้น จากนั้นนำไปหาส่วนต่างกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ได้ออกมาเป็น Earnings Yield Gap

นั่นคือ ตัวเลข พี/ราคาต่ำ อาจจะไม่ใช่หุ้นที่ราคาถูกเสมอไป เพราะอัตราส่วน พี/อีที่ต่ำอาจเกิดขึ้นได้จากราคาลดลง หรือกำไรต่อหุ้น (หรือ EPS) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากวิศวกรรมการเงินชั่วคราว เนื่องจากหากลงทุนหุ้นที่อยู่ในช่วงราคาลดลงและกำไรหดตัว แม้จะต่ำก็ไม่ใช่หุ้นที่มีราคาถูก

หุ้นที่มีค่าพี/อีที่ต่ำต่อเนื่อง ก็อาจจะไม่ใช่หุ้นควรซื้อเข้าเก็บ เนื่องจากอนาคตของหุ้นจะไม่ค่อยสวยงามเพราะจะมีจำนวนหุ้นมากมาย ที่รับผลกระเทือนจากด้วยภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำมากและมีการฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลเตรียมเข้าระบบการเงิน

ส่วนราคาหุ้นที่มีค่าพี/อีสูง อย่างเช่นหุ้นโรงพยาบาล หรือหุ้นอสังหาริมทรัพย์การลงทุนนพอร์ตโฟลิโอจึงมีค่าจากความสามารถของนักลงทุนที่มีความ “คาดหวัง” ต่อสินทรัพย์ประเภทหุ้น และมองหาบริษัทที่มีการเติบโตในอนาคต หากบริษัทใดที่นักลงทุนมองเห็นว่ากำไรมีโอกาสเติบโตประกอบกับในปัจจุบันข้อมูลข่าวสารค้นหาได้ง่ายมาก ส่งให้แรงซื้อหุ้นจนอัตราส่วน P/E สูงขึ้นมาก

วิธีการเลือกซื้อหุ้นที่ปลอดภัยจึงอยู่ที่การนำไปสู่วิธีการนำอัตราส่วน P/E เทียบกับอัตราการเติบโตของกำไร ได้ออกมาเป็นอัตราส่วน PEG (Price Earning to Growth)

ที่คำนวณจากการนำอัตราส่วน P/E มาหารด้วยอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ยกตัวอย่างเช่น หุ้นบริษัท A มีอัตราส่วน P/E อยู่ที่ 50 เท่า ถ้ากำไรต่อหุ้น (EPS) ของปีหน้าสามารถเติบโตได้ถึง 50% อัตราส่วน PEG ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 1 เท่า

ถ้า PEG เกินกว่า 1 เท่า ก็แสดงว่าอัตราส่วน P/E สูงกว่าอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นที่ผิดปกติ ต้องระวังให้มากเพราะอาจจะเกิดภาพลวงตาได้ง่าย ๆ

Back to top button