January Effect หรือเปล่า

เมื่อวานนี้ดัชนี SET ปิดบวกอย่างร้อนแรง 17.26 จุด ดัชนีขึ้นมาอยู่ที่ 1,691.12 จุด และมีมูลค่าการซื้อขาย 78,508 ล้านบาท


เมื่อวานนี้ดัชนี SET ปิดบวกอย่างร้อนแรง 17.26 จุด

ดัชนีขึ้นมาอยู่ที่ 1,691.12 จุด

และมีมูลค่าการซื้อขาย 78,508 ล้านบาท

หากย้อนหลังกลับไปดูดัชนีนับจากเปิดปี 2566 พบว่า ดัชนีปิดบวกได้ 3 วัน และลง 2 วัน

แต่เมื่อนับจากสิ้นปี 2565 ที่ดัชนีปิด 1,678.97 และนำมาเทียบเคียงกับดัชนีปิดวานนี้ที่ 1,691.12 จุด

เท่ากับว่า ดัชนีบวกขึ้นแล้ว 1.34%

เหตุผลที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นวานนี้

น่าจะมาจากตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย ที่ต่างมีปัจจัยหนุนจากการผ่อนคลายความกังวลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ

เพราะประเมินกันว่า น่าจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว

และค่อย ๆ ปรับลงจากตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เพิ่มน้อยกว่าคาด

นี่ก็จะเป็นปัจจัยที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจนำมาพิจารณาชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะสูงกว่าคาดแต่ค่าจ้างชะลอลง

นักวิเคราะห์ บอกว่า ปัจจัยข้างต้นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (Bond Yield) ปรับตัวลดลง

และเมื่อวานนี้จะเห็นหุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์พากันดีดขึ้นยกแผง

หลังจากก่อนหน้านี้ เรื่องดอกเบี้ยเป็นปัจจัยกดดันให้หุ้นกลุ่มนี้ปรับลดลงมา

อีกเหตุผลเชิงบวกกับตลาดหุ้นไทย

คือ “ค่าเงินบาท” กลับมาแข็งค่ามากขึ้น และรวดเร็วยัง

เป็นปัจจัยช่วยหนุนแรงซื้อนักลงทุนต่างประเทศ หรือ Fund Flow ที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย และช่วยผลักดันดัชนีได้อย่างนัยสำคัญ

ส่วนแนวโน้มวันนี้ ดัชนีอาจเริ่มแกว่งในกรอบแคบ

หรือหากยังไปต่อ อาจจะเห็นหุ้นที่เป็นแถวสอง และสาม ราคายังแลกการ์ด น่าจะมีการเข้าไปไล่ราคาขึ้นมากันมากขึ้น

หุ้นกลุ่มแบงก์จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/65 ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ เริ่มจาก บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป หรือ TISCO และหุ้นแบงก์อื่น ตามมา

การเก็งกำไรหุ้นกลุ่มแบงก์

น่าจะยังช่วยประคองดัชนีไว้ได้ คือ หากจะมีการย่อตัว หรือพักฐาน

ก็ไม่น่าจะลงลึกมากนัก

ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้นี่แหละ

ว่ากันว่า อาจจะคือส่วนหนึ่งของ January Effect

สำหรับ January Effect นั้น คือทฤษฎีที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นในเดือน มกราคม

เหตุผลจากนักลงทุนจะขายทำกำไรจากการลงทุนช่วงสิ้นปีก่อนหยุดยาว

และช่วงเดือน มกราคม จะกลับเข้ามาลงทุนใหม่อีกครั้งในสินทรัพย์ที่ราคายังไม่แพง

และคำอธิบายที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือนักลงทุนซื้อคืนภาษีช่วงต้นปี หรืออาจจะนำเงินโบนัสช่วงสิ้นปีมาลงทุนในช่วงเดือนถัดไป นั่นก็คือเดือน ม.ค.นี้

หากดูสถิติสิ้นเดือน มกราคม นับถอยหลังไป 12 ปี (2011-2022)

พบว่า ณ ดัชนี SET ณ สิ้นเดือน ม.ค.สามารถปิดบวก (เทียบกับสิ้นเดือน ธ.ค.ของปีก่อน) ได้ถึง 8 ครั้ง

และอีก 4 ครั้ง ปรับลดลง (จากสิ้นเดือน ธ.ค.)

ส่วนของสิ้นเดือน ม.ค.นี้

มาลุ้นกันว่า ดัชนีจะยังสามารถปิดบวกเมื่อเทียบกับสิ้นเดือน ธ.ค.ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่

และนั่นจะเป้นคำตอบของปรากฏการณ์ January Effect

Back to top button