แบรนด์หรูสิงคโปร์สวนเศรษฐกิจโลก

หลายปีที่ผ่านมา แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัว แต่การใช้จ่ายสำหรับสินค้าแบรนด์เนมในสิงคโปร์ กลับมีการเติบโตขึ้น


หลายปีที่ผ่านมา แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัว แต่การใช้จ่ายสำหรับสินค้าแบรนด์เนมในสิงคโปร์ กลับมีการเติบโตขึ้น จนกลายเป็นความหวังให้บรรดาเหล่าแบรนด์หรู ที่กำลังเผชิญกับการหดตัวของความต้องการตลาดใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐฯ และจีน

ข้อมูลจากสถาบัน Euromonitor International ระบุว่าปี 2567 สินค้าแบรนด์เนมสิงคโปร์ มียอดขายปีต่อปีสูงกว่าทุกประเทศในเอเชีย ยกเว้น ญี่ปุ่น และประมาณการว่าปีนี้ยอดขายจะเติบโตขึ้น 7% มาที่ 13,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จนขึ้นแท่นผู้นำศูนย์การค้าชั้นนำในภูมิภาคอย่างญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้

ส่วนปี 2569 ยอดขายอาจเติบโตขึ้นถึง 14,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่ากลับมาสู่ระดับเดียวกับปี 2562 (ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19)

ตามภูมิศาสตร์สิงคโปร์มีพื้นที่เพียง 725 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่านิวยอร์กของสหรัฐฯและมีประชากรเพียง 6 ล้านคน จำนวนน้อยกว่าเมืองหลวงในทวีปเอเชียอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม Savills รายงานว่า นครรัฐแห่งนี้ มีสัดส่วนการเปิดร้านสินค้าแบรนด์หรูสูงเป็นอันดับ 3 ในบรรดา 32 เมืองในเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) โดยผู้บริหาร The Shoppes ของ Marina Bay Sands ระบุว่า มีการเปิด Marni ร้านแบรนด์หรูจากอิตาลี เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา 

โดยซีอีโอ Luxury Network Singapore ระบุว่า บรรดาแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ กำลังเพิ่มจำนวนกิจกรรมงานขายสำหรับลูกค้าที่ได้รับบัตรเชิญเท่านั้น สะท้อนถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์ของธุรกิจต่าง ๆ มาเป็นการขายแบบเฉพาะเจาะจง

ขณะที่ซีอีโอ Luxurynsight ระบุว่า ความเป็นสิงคโปร์ แสดงความเป็นสถานที่ที่มั่นคงสำหรับเหล่าเศรษฐีและสร้างฐานที่มั่นคงสำหรับตลาดสินค้าหรู โดยมีนโยบายสนับสนุนสินค้าหรู ดึงดูดเหล่าเศรษฐีและสร้างภาคการเงินที่แข็งแกร่ง จนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยอย่างมาก

นอกจากนี้การเมืองที่มีเสถียรภาพและการเติบโต ในเขตท้องถิ่น มีเศรษฐีเงินล้านมากกว่า 2.4 แสนคน มีการเติบโตของรายได้ต่อครัวเรือนโดยเฉลี่ยอย่างต่อเนื่องกว่าห้าปีซ้อน

สำหรับภาคภาคการท่องเที่ยว นับตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย. 2567 สิงคโปร์มียอดใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมถึง 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2566 อยู่ 5% ทำให้อุตสาหกรรมแบรนด์หรูมองนครรัฐแห่งนี้ เป็นทั้งที่หลบภัยและประตูเชิงยุทธศาสตร์ สู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยซีอีโอ RTG Group Asia ชี้ว่า แบรนด์สินค้าหรูต่าง ๆ ที่ถูกดึงดูดเข้ามา กำลังใช้สิงคโปร์เป็นพื้นที่ทดสอบ เปิดร้านค้าเพื่อสังเกตการตอบสนองทางอารมณ์ของลูกค้า

มีประชากรกว่าล้านคนที่ไม่ใช่เศรษฐี ทำให้ภาครัฐกำลังพยายามลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินนี้อยู่ โดยมีการขึ้นภาษีกับเหล่าเศรษฐีเพื่อสนับสนุนชนชั้นแรงงาน แต่มาตรการนี้อาจทำให้เหล่าเศรษฐีอาจย้ายไปประเทศอื่น ๆ และมีเรื่องที่ธนาคารเพิ่มการตรวจสอบลูกค้าที่ร่ำรวย หลังเหตุคดีฟอกเงินเมื่อปีที่ผ่านมา

ฟากซีอีโอ RTG Group Asia ให้ความเห็นว่านโยบายเหล่านี้เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของสิงคโปร์ โดยการแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถใช้งานจริง เป็นสิ่งที่เหล่าเศรษฐีถูกกฎหมายต้องการและความเชื่อมั่นและการตรวจสอบเหล่านี้ เป็นเหตุผลหลักทำให้การจับจ่ายสินค้าหรูในสิงคโปร์ยังคงมั่นคง..

ปัจจุบันมีการใช้จ่ายในอุตสาหกรรมสินค้าหรูทั่วทุกภาคส่วนและแบรนด์ต่าง ๆ พยายามเรียกร้องความสนใจ อย่าง Coach ของ Tapestry ที่ทำการเปิดบาร์แห่งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ให้บริการเครื่องดื่มมาร์ตินี่และของว่างแบบนิวยอร์กในถนนสิงคโปร์ ขณะที่บริษัทนาฬิกา Audemars Piguet Holding เปิดคาเฟ่ในร้านของตน

โดยห้างสรรพสินค้า Raffles City เข้าร่วมกับอุตสาหกรรมสินค้าราคาแพงเมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยการเปิดร้านชั่วคราวจำนวนมากช่วงปีนี้ มีร้านค้ากว่า 21 แบรนด์เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น Armani Beauty YSL Beauty Chanel Dior และ Gucci เป็นต้น

Back to top button