3 เซียนปักปากกา SET ปลายเดือนเมษามีเฮ!

SET เดือนเมษายน จะเสี่ยงหรือไปต่อ จะรุ่งหรือร่วง เหล่าโบรกฯมีคำตอบ


SET เดือนเมษายน จะเสี่ยงหรือไปต่อ จะรุ่งหรือร่วง เหล่าโบรกฯมีคำตอบ

 

ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ได้คัดเลือกบทวิเคราะห์แนวทางดัชนีในเดือนเมษายนจากเหล่าบรรดาโบรกเกอร์ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาทิศทางดัชนี ดังนี้

โดยบริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ (30 มี.ค.) มุมมองตลาดเดือน เม.ย. SET มีโอกาสปรับตัวในกรอบ 1,440-1,560 จุด ให้น้ำหนักทางลงก่อน เนื่องจาก 1) การประกาศตัวเลขศก.มีแนวโน้มปรับลง 2) ระดับ Consumer Confidence ที่ปรับลงแรง ทั้งในภาคเศรษฐกิจจริงและตลาดการเงิน

SET บริเวณ 1,440 จุด คือ จุดที่คาดหวัง Relief Rally เป็นโซนที่ 1) ตลาดปรับตัวลงครบ 12% 2) SET จะกลับมาซื้อขายที่บริเวณ Fwd PE 14 เท่า และมีค่าสถิติที่คาดหวังการฟื้นตัว และ 3) เป็นจุดที่มี Upside ของนักลงทุนสถาบันหลังลดพอร์ทบริเวณ 1,540 จุด

กลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้น ยังเน้นรักษา NAV และหาหุ้นที่ Outperform ตลาดรายตัว แต่ยังไม่ใช่จุดที่จะสร้าง Turning Points เพื่อแก้พอร์ท เนื่องจากปริมาณซื้อขายที่หดตัว สะท้อน Liquidity Risk ของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น

Investment Strategy

เน้นเลือกหุ้น High Alpha ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนหรือ Outperform ตลาดได้ดีกว่าหุ้นตัวอื่นในช่วงตลาดปรับตัวลง

หุ้นที่ให้ค่า High Alpha สูงในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ SAMTEL, AUCT, TASCO, OFM, BLA กลุ่มท่องเที่ยว (CENTEL, MINT) และกลุ่ม Food (CBG, MALEE)

หุ้นที่ราคาเข้าสู่โซนที่มี Margin of Safety สูง ที่เราหาโอกาสซื้อกลับ ได้แก่ ADVANC (ซื้อบริเวณ 227-229) AP (ซื้อบริเวณ 6.5-6.8)

 

ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัดระบุในบทวิเคราะห์  (30 มี.ค.)กลยุทธ์การลงทุนประจำเดือน เม.ย. 2558

แนวโน้มตลาดหุ้น ประเมินว่า SET ยังมีความเสี่ยงต่อการปรับฐานตลอดทั้งเดือน เม.ย. โดยคาดกรอบ SET ไว้ที่ 1,460-1,560 จุด จากปัจจัยกดดันในประเทศเป็นหลักด้วย SET ณ ระดับปัจจุบันซื้อขายที่ 21 เท่า Trailing P/E ระดับแพงสุดในรอบ 5 ปี มีความเสี่ยงต่อการปรับพอร์ตของนักลงทุนระยะกลางหลัง หลังมีหุ้นทยอยขึ้น XD ราว 160 ตัวใน เดือน เม.ย. รวมถึงหุ้นกลุ่มธนาคารมีโอกาสถูกปรับลดประมาณการกำไรลงมาในช่วงก่อน/หลังการประกาศงบไตรมาส 1/58 (เริ่มประกาศงบราวกลางเดือน เม.ย.) ผลจากการเติบโตของสินเชื่อค่อนข้างอ่อนแอ

รวมถึงการฟื้นตัวของ GDP ช้ากว่าคาดและมีแนวโน้มถูกปรับลงในระยะต่อไป ขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มที่อิงกับการเติบโตในประเทศ (Domestic Play) อาทิ ค้าปลีก โรงพยาบาล อาหารเครื่องดื่ม ก็มีความเสี่ยงต่อการถูกทบทวนประมาณการเช่นเดียวกัน ด้านภูมิภาคเชื่อว่าช่วงใกล้การประชุม FOMC ครั้งต่อไป 28-29 เม.ย. ความวิตกต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดจะกลับมากดดันความเชื่อมั่นตลาดอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการปรับตัวลงของ SET จะมีโอกาสปรับขึ้นมาได้เป็นระยะๆ จากข่าวการออกกองทุน Trigger Fund ของนักลงทุนสถาบัน รวมถึงความคืบหน้าการทำ QE ของ ECB

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม (1) 3 เม.ย. สหรัฐประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payroll) และอัตราว่างงานเดือนมี.ค. หากดีกว่าเดือนก่อน (การจ้างงานสูงกว่า 2.75 แสนตำแหน่ง หรืออัตราว่างงานต่ำกว่า 5.5% จะสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐในเดือนมิ.ย.) จะเป็นจิตวิทยาเชิงลบต่อตลาด โดยผลการประชุม FOMC วันที่ 29 เม.ย.จะยืนยันมุมมองเฟดต่อการเปลี่ยนนโยบายอัตราดอกเบี้ย และจะมีนัยต่อทิศทางตลาด (2) กลางเดือน เริ่มประกาศงบไตรมาส 1/58 ของกลุ่มธนาคาร ระวังการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มนี้

โดยเฉพาะหลังการขึ้น XD ของหุ้นธนาคารขนาดใหญ่อาจมีการขายทำกำไรของนักลงทุนระยะกลาง (3) ปลายเดือน การประกาศตัวเลขส่งออกไทยเดือนมี.ค. หากยังคงติดลบต่อเนื่อง จะส่งผลต่อคาดการณ์เชิงลบต่อการฟื้นตัวของ GDP และกำไรบริษัทจดทะเบียน (4) ราคาน้ำมันดิบ Brent หากยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่า US$60 ต่อบาร์เรล จะคงกดดันจิตวิทยาการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยความไม่สงบในเยเมนเป็นปัจจัยหนุนทิศทางราคาน้ำมันดิบเพียงระยะสั้น และ (5) ทิศทางกระแสเงินต่างชาติ หากยังอยู่ในฝั่งซื้อสุทธิ รวมถึงเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจะบ่งบอกเงินไหลเข้าจะสนับสนุนจิตวิทยาการลงทุนและหากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรยังคงปรับลดลงจะเป็นบวกต่อ SET

 

บล.เคที ซีมิโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ (30 มี.ค.) สำหรับเดือน เม.ย.

Recommend Stocks: AAV AOT STEC TMB MTLS DEMCO SPALI SEAFCO SMPC CSS โดยลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 50%จาก 80% ละเปิดสัญญา Short 10% ของพอร์ต April Statistic: สถิติย้อนหลัง 10 ปี (ปี 48-57) พบว่ามีโอกาส 80% ที่ดัชนีฯ เดือน เม.ย. ปิดปรับขึ้น ด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +3.02% จากเดือนก่อน โดย Max +13.95% (ปี 52) Min -3.32% (ปี 48) ขณะที่เดือน พ.ค. และมิ.ย. ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +0.1% และ +0.5% จากเดือนก่อนตามลำดับ

Fund Flow: สถิติเดือน เม.ย. ย้อนหลัง 10 ปี (ปี 48-57) พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.95 พันล้านบาท แต่กลับมาขายเดือน พ.ค. -13.6 พันลบ. และเดือน มิ.ย. -7.4 พันล้านบาท Catalysts: 1. จีน-ญี่ปุ่น-ยุโรป-ไทย อาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 2. แรงซื้อจากทริกเกอร์ฟันด์กองใหม่ๆ 3.ระดับราคาหุ้นที่เริ่มเข้าสู่ระดับถูก ตามปัจจัยพื้นฐาน

Outlook: คาดดัชนีฯ เดือน เม.ย. ปรับตัวลดลง แนวรับ 1,450/1,430 จุด แนวต้าน 1,530 จุด ด้วยวอลุ่มชะลอตัว ท่ามกลางเทศกาลหยุดยาว และแรงกดดัน ซึ่งมาจากปัจจัยในประเทศ อาทิ การปรับลดประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจ หลังรายงานเดือน ม.ค.-ก.พ. อ่อนแอกว่าคาด (ส่งผลลบต่อการปรับลดเป้าหมายกำไรบจ. รอบใหม่) ร่างรธน. ฉบับใหม่ จะได้รับการเห็นชอบจากสภาหรือไม่ (เพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือกตั้งใหม่) และ XD effect

ขณะที่ปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ มาจาก 1) ความกังวลต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด จับตาผลประชุมเฟดเดือน เม.ย. หากมีการส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นโลก 2) การประกาศผลประกอบการบจ. โดยตลาดวิตกว่า บจ. สหรัฐจะมีกำไรหดตัวในไตรมาสแรกปีนี้ จากการแข็งค่าของเงินดอลล์และการดิ่งลงของราคาน้ำมันดิบ ส่วนปัจจัยหนุนคาดมาจาก ความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของจีน/ไทย และการออกทริกเกอร์ฟันด์กองใหม่ๆ เมื่อดัชนีฯ ปรับตัวลง

Back to top button