GSTEL ผ่าทางตันสุดท้าย

การยื่นเรื่องต่อศาลล้มละลายกลางของผู้ผลิตเหล็กด้วยระบบ อีเล็กโตร บลาส เฟอร์เนซ ทันสมัยและรายใหญ่สุดของไทยอย่าง บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEL เพื่อหาทางออกจากแรงกดดันจากการถูกฟ้องล้มละลายเพื่อพิทักษ์ทรัพย์ จากเจ้าหนี้ 2 ราย และ 3 รายการ คิดเป็นเงินรวม 8,950.77ล้านบาท มีเหตุผลในตัวเองที่ชัดเจน


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

การยื่นเรื่องต่อศาลล้มละลายกลางของผู้ผลิตเหล็กด้วยระบบ อีเล็กโตร บลาส เฟอร์เนซ ทันสมัยและรายใหญ่สุดของไทยอย่าง บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEL เพื่อหาทางออกจากแรงกดดันจากการถูกฟ้องล้มละลายเพื่อพิทักษ์ทรัพย์ จากเจ้าหนี้ 2 ราย และ 3 รายการ คิดเป็นเงินรวม 8,950.77ล้านบาท มีเหตุผลในตัวเองที่ชัดเจน

แม้งบการเงินสิ้นไตรมาสสามล่าสุด GSTEL จะยังมีส่วนของทุนจะเป็นบวก ไม่สมควรเข้าข่ายล้มละลาย…แต่เมื่อหักกลบหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Contingent liabilities) และหักสินค้า (เศษเหล็ก (Scrap Steel) ที่อาจถูกยักยอก ฉ้อโกง หรือ ลักทรัพย์ …ถือว่า จะมีหนี้สิน มากกว่าทรัพย์สิน 1,781ล้านบาท

GSTEL ระบุถึงหนี้ก้อนใหญ่สุดที่จะถูกฟ้องว่ามาจากกลุ่มกองทุนกลุ่ม SSG Capital Management (ดำเนินการผ่านบริษัทในกลุ่มชื่อ Asia Credit Opportunities I (Mauritius) Limited (“ACO I”)) ที่ทุ่มเงินเจรจาซื้อหนี้การค้าจากเจ้าหนี้การค้าต่างประเทศรายใหญ่จำนวน 7 รายของ GSTEL (ในจำนวนนี้ เป็นของ Cargill ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งเคยชนะในคำฟ้องยึดทรัพย์ตามมูลหนี้ 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่ค้างชำระ จากภาวะเศรษฐกิจวิกฤติปี 2551 รวมจำนวนหนี้ทั้งหมด 226.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 7,810.52 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินต้นจำนวน 127.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,413.22 ล้านบาท และเป็นดอกเบี้ยจำนวน 98.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,397.30 ล้านบาท)

ประเด็นคือ การเข้าซื้อหนี้ดังกล่าว ได้มีการเจรจากับกรรมการของ GSTELไว้ว่า กลุ่ม SSG เสนอแผนการในการปรับโครงสร้างหนี้การค้าของบริษัท โดยแปลงนี้เป็นทุนแทน โดยยินดีรับการจัดสรรและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งจะทำให้บริษัทลดหนี้การค้าสุทธิจำนวน 123,899,729 ดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 4,275,683,281.33 บาท

ประเด็นคือ มีผู้ถือหุ้นบางกลุ่มทำการคัดค้านในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ทำให้ไม่เพียงพอที่จะได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง ตามที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้

ผลลัพธ์ทำให้กลุ่ม SSG ซึ่งกลายเป็นเจ้าหนี้หลัก ได้ติดตามและสอบถามถึงแนวทางอื่น ว่าจะมีข้อเสนออย่างไร

ระหว่างช่วงเวลานั้น…หลังจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น….กรรมการบริษัทได้พยายามหาทางออก 2 ทางเลือกคือ

1) หานักลงทุนรายใหม่เข้ามาช่วยแก้ไขฐานะทางการเงินของบริษัท …แต่จำนวนหนี้ที่สูงมาก และความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีก จึงไม่มีนักลงทุนสนใจ

2) หาแหล่งเงินทุนอื่นๆ แต่…บริษัทมีกำไรปกติติดลบมาตลอด และมีกระแสเงินสดต่ำมากเมื่อเทียบกับหนี้สินรวม แถมมีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องจากบรรดาเจ้าหนี้อื่น ๆ …ก็ถึงทางตันอีก

เมื่อไม่มีความคืบหน้า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560 กลุ่ม SSG ได้ส่งหนังสือทวงถามฉบับแรกและขอให้บริษัทชำระหนี้ หากไม่ได้คำตอบจะดำเนินการทางกฎหมาย รวมถึง การบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย

ต่อมาวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560 กลุ่ม SSG ได้ส่งหนังสือทวงถามฉบับที่ 2 ขอให้ทางบริษัท ชำระหนี้ทั้งจำนวนภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ภายในเวลา 17.00 น. ACO I จะดำเนินการตามกฎหมายทันที (ฟ้องล้มละลาย)

หนี้ส่วนที่เหลือแบ่งเป็นสองรายการ เป็นเจ้าหนี้ที่แจ้งให้ชำระค่าไฟฟ้า พร้อมเบี้ยค่าปรับตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ก้อนแรก เป็นเงินจำนวน 158,238,694.62 บาท (ค้างมาตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2560) ก้อนสองจำนวน 982,011,306.39 บาท (ค้างมาตั้งแต่ ธันวาคม 2554) …ก็ถูกทวงถามในลักษณะเดียวกันกับ SSG

เมื่อจวนตัวตรงมุมอับ เพราะกลุ่ม SSG แสดเจตนาชัดเจนว่า ไม่ยอมเจรจาครั้งใหม่ เพื่อแปลงหนี้เป็นทุนอีก เพราะ…เกรงว่า จะถูกคัดค้านจากผู้ถือหุ้นบางกลุ่มอีก..ทางเลือกเหลือแค่ ….ไฟต์บังคับ

นั่นคือ ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพื่อ “ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกหลายตัว” ประกอบด้วย

1) เพื่อป้องกันมิให้บริษัทตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย รักษาสิทธิและสถานะของผู้ถือหุ้น

2) เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องของ GSTELแล้ว ลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งและคดีล้มละลาย และการงดให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และตัวลูกหนี้เองก็ถูกห้ามมิให้ชำระหนี้หรือก่อหนี้และกระทำการใดๆ ในทางที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินซึ่งลงทุนไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท

3) ทำให้บริษัทสามารถดำเนินการที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจตามปกติของบริษัท โดยในช่วงเวลาพักการชำระหนี้โดยผลของกฎหมาย (Automatic Stay) เปิดโอกาสหาทางแก้ไขร่วมกับเจ้าหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูโดยไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะฟ้องร้องบังคับเพื่อชำระหนี้

ในคำร้องดังกล่าว GSTEL ระบุว่า จะเสนอให้สำนักงาน Grant Thornton  ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม มาบริหารแผนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและโปร่งใสในการดำเนินการ ….โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

ควรมิควร แล้วแต่ศาลจะโปรด…หมดทางเลือกอื่น… ไม่อยากทำก็ต้องทำ

X
Back to top button