SPCG หมูหกเพราะตกใจ

ราคาหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าสะอาด บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG วิ่งลงไปเล็กน้อย รับข่าวดีที่ออกมาจากมติคณะกรรมการบริษัทที่ให้การขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่พันธมิตรในญี่ปุ่น Kyocera Corporation (Kyocera) จำนวน 50 ล้านหุ้น  มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 20.87 บาท รวมเป็นมูลค่าซื้อขายทั้งสิ้น 1,043.50 ล้านบาท (กำหนดวันเสนอขาย จองซื้อ และชำระเงินค่าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนระหว่าง 1-15 กุมภาพันธ์ 2561)


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

ราคาหุ้นบริษัทผลิตไฟฟ้าสะอาด บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG วิ่งลงไปเล็กน้อย รับข่าวดีที่ออกมาจากมติคณะกรรมการบริษัทที่ให้การขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่พันธมิตรในญี่ปุ่น Kyocera Corporation (Kyocera) จำนวน 50 ล้านหุ้น  มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 20.87 บาท รวมเป็นมูลค่าซื้อขายทั้งสิ้น 1,043.50 ล้านบาท (กำหนดวันเสนอขาย จองซื้อ และชำระเงินค่าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนระหว่าง 1-15 กุมภาพันธ์ 2561)

การขายหุ้นแบบบิ๊กล็อตแบบนี้ ในราคาต่ำกว่ากระดานซื้อขายไม่เกิน 10% ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคงไม่มีดีลซื้อขายหุ้นที่คนซื้อยอมซื้อในราคาเท่ากับ/หรือสูงกว่ากระดาน…เว้นแต่ในกรณีพิเศษที่ไม่เกิดบ่อยจำเจ…แต่ที่แปลกคือ ราคาหุ้นที่ร่วงนี่แหละ เพราะหาคำอธิบายไม่ได้เลยว่า….ขายหมูทำไม

รายละเอียดที่ SPCG ชี้แจงออกมานั้น ค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่มีอะไรขาดตกหกหล่นเรี่ยราดให้อายคน มีดังนี้

  • หลังดีลจบลง จะส่งผลให้ Kyocera เป็นผู้ถือหุ้นของ SPCG ในสัดส่วนประมาณ 6.87% จากปัจจุบันที่ถือหุ้นในสัดส่วน 1.46% เท่ากับหุ้นที่ซื้อไป และติดไซเลนต์พีเรียด 1 ปี จะไม่ได้ออกมาหกกะเรี่ยกะราดในท้องตลาด แต่มีไว้ถือเพื่อรับปันผล
  • ราคาซื้อขาย 20.87 บาท เป็นราคาที่คำนวณจากราคาที่ไม่ต่ำกว่า 90% ของราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลังติดต่อกัน 15 วัน (ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 23.19 บาท) ที่มีระเบียบกำกับไว้ชัดเจน

คำถามคือ แล้ว Kyocera Corporation เป็นใคร สำคัญอย่างไรในยุทธศาสตร์ธุรกิจของ SPCG

คำตอบแรกคือ  Kyocera เป็นบริษัทที่ทำมากกว่าขายหรือให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสารระดับโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจบริษัทดังกล่าว แต่ยังเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกเนื้อละเอียด และชิ้นส่วนเซรามิกที่เรียกว่า “นิว เซรามิก” (ที่คนไทยรู้จักดีก็คือมีดเซรามิกอันคมกริบกว่าดาบซามูไร นั่นแหละ)  ที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจผลิตแผงวงจรไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งโมดูลและระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Systems) ระดับนำของโลกในปัจจุบัน

การดึงเอา “คนขายเทคโนโลยี” อย่าง Kyocera มาเป็น “หุ้นส่วนรอง” ด้วยการเสนอขายหุ้นที่มีส่วนเหลื่อมมูลค่าหุ้นสูง จึงเป็น……วรยุทธ์วิสามัญ ที่เหนือชั้นห้ามลอกเลียนแบบด้วยประการทั้งปวง

ข้อดีทันทีของการขายหุ้นครั้งนี้ นอกเหนือจากเงินสดที่เขามาในบริษัทล้วนๆ ไม่ได้เข้ากระเป๋าส่วนตัวกรรมการหรือผู้บริหารคนไหนมากถึง 1,043.50 ล้านบาทแล้ว ยังทำให้เกิดส่วนเหลื่อมมูลค่าหุ้นมากถึง 956.50 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นโป่งพองขึ้น กลายเป็นบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นมากกว่า 10,000 ล้านบาท

ผลพวงที่ตามมานอกเหนือจาก ค่าดี/อี ที่จะลดจากสัดส่วนเดิม 1.5 เท่า ลงเหลือเพียง 1.3 เท่า…แล้ว หากเจาะลงลึกไปอีก จะเห็นชัดว่า จากนี้ไป เลิกห่วงเรื่องสภาพคล่องทางการเงินได้เลย เพราะเหตุว่า….หนี้เดิมที่มีมากกว่า 1.4 หมื่นล้านบาทของ SPCG นั้น กว่า 80% เป็นหนี้ระยะยาว

การขายหุ้นให้กับ Kyocera แล้วได้เงินสดมาจนสามารถปลดเปลื้องภาระได้มากมายหลายทาง จึงเป็นการ “ฉลาดขาย” ที่แท้จริง

ไม่ใช่สตรีเก่งที่ชื่อ ดร.วันดี กุญชรยาคง…ที่ปัจจุบันต้องต่อสร้อยห้อยท้ายนามสกุลว่า …จุลเจริญ เข้าด้วย (ไม่งั้นคุณเธอ มีงอน)…คงทำไม่ได้

ปฏิบัติการ “ไซด์ เฮดล็อก” ของ SPCG ในกรณี “แปลงผู้ขายเทคโนโลยีเป็นหุ้นส่วนธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์” สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริง 3 ข้อของ SPCG ชัดเจน

  • วิสัยทัศน์อันเฉียบคมของ ดร.วันดี ที่แม้ระยะหลังจะปรากฏตัวกับงานสังคมของสามีสุดที่รักถี่ชุกมากขึ้น แต่ยังไม่เคยผิดพลาดที่จะหาทางไขว่คว้าโอกาสในอนาคตให้กับองค์กรธุรกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนมหาชน…เมื่อถึงเวลาที่ต้องการได้
  • บทเรียนจาก “กับดักแห่งหนี้” อันแสนระกำในอดีตเมื่อยุคแรกก่อตั้งตั้งกิจการ จนถึงปี 2557 ทำให้ SPCG มีความระวังระไวในการระดมทุนด้วยหนี้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ไม่หวนกลับไปติดกับดักแบบเดิมอีก การขายหุ้นในราคามีพรีเมียม ถือเป็นการสร้างโอกาส ด้วยทุนมากกว่าหนี้อย่างมีดุลยภาพ โดยไม่ได้สูญเสียอำนาจการนำในกิจการ เพราะสัดส่วนที่ Kyocera ถือนั้น ยังน้อยนิดเกินไป แถมวิน-วิน ทุกฝ่าย
  • การรุกไปลงทุนสร้างโอกาสในต่างประเทศด้วยการมีพันธมิตรที่เข้มแข็งอย่าง Kyocera ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงาน เป็นการสร้างหลักประกันที่ลดความเสี่ยงลงไปมหาศาลตามหลัก “คนเดียวหัวหาย หลายคนกลับบ้านได้ปลอดภัย”

ข้อเท็จจริงและเหตุผลของการขายหุ้นเชิงกลยุทธ์ของ SPCG ล่าสุด….คนที่ดันทะลึ่ง “ทำหมูหก” เพราะดูเพียงแค่ว่า “ขายหุ้นต่ำกว่ากระดาน”….ก็ต้อง “ปล่อยเข้าป่า” ไปตามทาง

ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ “โง่ แล้วยังอยากนอนเตียง”…คงช่วย หรือแนะอะไรไม่ได้

อิ อิ อิ

Back to top button