จุดพลุโครงการ CFP

เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมกับโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP หลังจากบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ประกาศเข้าลงทุนหน่วยผลิตไฟฟ้า (Energy Recovery Unit : ERU) มูลค่า 24,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า 250 เมกะวัตต์ ที่ถือเป็นหนึ่งในโครงการ CFP ของไทยออยล์


สำนักข่าวรัชดา

เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมกับโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP หลังจากบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ประกาศเข้าลงทุนหน่วยผลิตไฟฟ้า (Energy Recovery Unit : ERU) มูลค่า 24,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า 250 เมกะวัตต์ ที่ถือเป็นหนึ่งในโครงการ CFP ของไทยออยล์

เอาที่เข้าใจกันง่าย ๆ คือการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อป้อนให้โครงการพลังงานสะอาด (CFP) เพราะโครงการ CFP จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย..หากไม่มีไฟฟ้าจากหน่วยผลิตไฟฟ้า (ERU) ของ GPSC นั่นเอง..!

สำหรับ GPSC นี่คือโอกาสที่ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง TOP หยิบยื่นมาให้..จึงเป็นมูลค่าเพิ่มกับหุ้น GPSC ในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว แต่ด้วยเงื่อนไขการเข้าซื้อบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW จึงเป็นความเสี่ยงเรื่องเงินลงทุนและต้นทุนทางการเงิน

หาก 2 ดีลนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน..เท่ากับเม็ดเงินลงทุนจะสูงกว่า 100,000 ล้านบาท..และนั่นหมายถึง GPSC อาจต้องเผชิญปัญหาเรื่อง “เงินลงทุน” ด้วยเช่นกัน..

แต่เมื่อแลกกับพอร์ตโรงไฟฟ้าที่เพิ่มอีก 250 เมกะวัตต์ (ที่มีลูกค้าคือ TOP อยู่แล้ว) จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1,955 เมกะวัตต์ นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน.!!

ส่วน TOP นี่คือสารตั้งต้นโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project : CFP) ด้วยเป้าหมายเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และขยายกำลังการกลั่นน้ำมัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้มากขึ้นและหลากหลายชนิดยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการประหยัดด้านขนาด (Economies of Scale)

โดย TOP สามารถเพิ่มขีดความสามารถการผลิตน้ำมันดิบ (Crude Oil) หลากหลายมากขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นด้านการผลิต (Flexibility) และต้นทุนลดลง ทำให้ส่วนต่างราคาน้ำมันเบา (Light Crude) กับน้ำมันหนัก (Heavy Crude) มากยิ่งขึ้น และเพิ่มสัดส่วนการใช้ Heavy Crude ประมาณ 40-45%

นั่นหมายถึง..ลดต้นทุนประมาณ 13,000-15,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

ที่สำคัญโครงการ CFP สามารถอัพเกรดการผลิตจากน้ำมันหนัก คือ น้ำมันเตา (HSFO) เป็นน้ำมันเครื่องบิน (Jet Oil) และน้ำมันดีเซล (Diesel) จากปัจจุบันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ (Spread) ระหว่าง Jet Oil กับ HSFO เฉลี่ยประมาณ 15-20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือประมาณ 4,500-6,000 ล้านบาท

อีกจุดเปลี่ยนสำคัญโครงการ CFP จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงกลั่นไทยออยล์ สู่ระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดิมมีกำลังผลิตอยู่ที่ 275,000 บาร์เรลต่อวัน

เอาเป็นว่าทั้ง GPSC และ TOP ต่างได้ประโยชน์จากโครงการนี้ร่วมกัน..

แต่ TOP จะเดินอ้อมมาได้ประโยชน์อีกทาง ผ่านการถือหุ้น GPSC (ทางตรงและอ้อม) ประมาณ 30%

….อิ อิ อิ…

Back to top button