BCH กำไรไตรมาส 2/58 จะยังอ่อนแอมองขาดปัจจัยกระตุ้นกำไรแนะนำขาย

BCH ปี 58 จะเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่ BCH มีกำไรที่หดตัวลง เรามองว่า BCH จะมีอัตราการเติบโตของ EPS ที่ยังคงติดลบ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนในไตรมาส2/58 และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปยังครึ่งหลังปี 58 ขณะที่ช่วงที่เหลือของปี การดำเนินงานของโรงพยาบาลที่มีอยู่ยังคงอ่อนแอ กำไรจากโรงพยาบาลโสธราเวชที่เข้าซื้อล่าสุด ยังไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรได้ เพราะมีขาดทุนจากโรงพยาบาลใหม่ "การุณเวช รัตนาธิเบศร์" เราปรับประมาณการกำไรขึ้น 1-2% ในปี 58-60 สะท้อนการเข้าซื้อโรงพยาบาลโสธราเวช ราคาเป้าหมายตามวิธี DCF ปรับขึ้นเป็น 6.20 บาท จาก 6.10 บาท จากการเติบโตของ EPS ที่ติดลบ 10% เทียบกับการซื้อขายที่ PE ที่ 37.2 เท่าในปี 58 เราจึงมองว่าแพงไปแนะนำ "ขาย"


บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (7 ก.ค. ) ว่า บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH  กำไรใน ไตรมาส1/58 ลดลงมากกว่า 30% ทั้ง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ เทียบไตรมาสก่อนหน้าเราคาดว่ากำไรไตรมาส2/58 จะยังคงอ่อนแอที่ 108 ลบ. ลดลง 2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่เพิ่มขึ้น 14%เทียบไตรมาสก่อนหน้ากำไรที่คาดว่าจะลดลง เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนเพราะ 1) WMC ยังคงขาดทุน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ WMC ยังคงฟื้นตัวในอัตราที่ช้า และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย เราคาดว่าจะมีผลขาดทุน 65 ลบ. ใน ไตรมาส2/58 เทียบกับไตรมาส2/57 ที่ขาดทุน 73 ลบ. จำนวนผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 220 ราย ในไตรมาส2/58 เทียบกับ 175 ราย ในไตรมาส2/57 และ 2) การดำเนินงานของโรงพยาบาลในเครือเกษมราษฎร์ยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะเกษมราษฎร์ประชาชื่น เนื่องจากผู้ป่วยลดลงและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วน EPS ที่เติบโต เทียบไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจาก ตั้งสำรองใหม่ลดลงใน ไตรมาส2/58 เทียบกับ ไตรมาส1/58 ที่ 20 ลบ. 

คาดกำไรครึ่งหลังปี 58 ของ BCH จะดีขึ้นจากครึ่งแรกปี58 เพราะไตรมาส 3 ปกติเป็นช่วงไฮซีซั่น แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของ EPS ในครึ่งหลังปี 58  ยังคงติดลบ เนื่องจาก 1) แม้ว่าจะมีกลยุทธ์ใหม่โดยการกระจายฐานผู้ป่วยของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น จากผู้ป่วยชาวไทยเป็นผู้ป่วยชาวต่างชาติ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ป่วย แต่เราเชื่อว่า BCH น่าจะยังคงต้องใช้เวลากว่าจะประสบความสำเร็จ เราคาดว่าการดำเนินงานของโรงพยาบาลในเครือเกษมราษฎร์จะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า 2) กำไรจากโรงพยาบาลโสธราเวชที่เข้าซื้อล่าสุดไม่สามารถครอบคลุมผลขาดทุนจากโรงพยาบาลใหม่ การุณเวช รัตนาธิเบศร์ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้ และ 3) WMC ยังคงมีผลขาดทุน 

BCH ได้มาซึ่งโรงพยาบาลโสธราเวช ขนาด 200 เตียง ในจ. ฉะเชิงเทรา เมื่อต้นเดือนพ.ค.ปีนี้ และได้เปิดโรงพยาบาลใหม่ การุณเวช รัตนาธิเบศร์ ขนาด 116 เตียง ในช่วงกลางเดือนมิ.ย.15 ทั้งสองโรงพยาบาลให้บริการทั้งผู้ป่วยเงินสดและผู้ป่วยประกันสังคม (SS) เนื่องจาก WMC มีกำไรที่ฟื้นตัวช้าและต่ำกว่าเป้าหมายของผู้บริหาร ผู้บริหารจึงไม่มีแผนที่จะเปิดโรงพยาบาลใหม่เพิ่มเติมในช่วงสองปีข้างหน้านี้ แต่อย่างไรก็ตาม BCH ยังคงมองหาโอกาสที่จะได้มาซึ่งโรงพยาบาลอื่นๆ อยู่

Back to top button