เปิดรายชื่อ 6 หุ้นต้องระวัง! เสี่ยงถูกขายทำกำไรหลังราคาพุ่งเกินพื้นฐาน

เปิดรายชื่อ 6 หุ้นต้องระวัง! เสี่ยงถูกขายทำกำไรหลังราคาพุ่งเกินพื้นฐาน


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากบทวิเคราะห์ที่พิจารณาความเสี่ยงของหุ้นในกลุ่มที่จะถูกขายทำกำไร หลังจากที่หุ้นในกลุ่มดังกล่าวมีการปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จนราคาหุ้นเกินปัจจัยพื้นฐาน จึงคาดว่าจะเป็นกลุ่มที่ถูกขายทำกำไรออกมาในภาวะตลาดที่ยังคงผันผวน จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวในครึ่งปีแรก

โดย บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ (13 ก.พ.63) โดยมองว่าจากเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงขยายตัวต่ำ  เชื่อว่าภาครัฐบาลความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ล่าสุด เตรียมออกมาตรการ”ชิมช้อป ใช้ เฟส 4″ ที่กระทรวงการคลังเข้ากำลังจะเสนอต่อ ที่ประชุม ครม. ในเร็วๆนี้  กระตุ้นการการท่องเที่ยว คือ  การเพิ่มช่วงวันหยุดให้ยาวขึ้น เช่น ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการท่องเที่ยวมากขึ้น และเพิ่มเงินให้กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น  และคาดหวังการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ปี 2563

ทั้งนี้หากพิจารณาความเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไรเป็นรายกลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มการเงิน การลดดอกเบี้ยดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หุ้นในกลุ่มไฟแนนซ์ปรับตัวขึ้นตั้งแต่กลางปี 2562 เป็นต้นมา และ Outperform ตลาดมาก เนื่องจากคาดหวังว่าหุ้นในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับประโยชน์จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง อย่างไรก็ตามจากหุ้นที่อยู่ในการศึกษาของฝ่ายวิจัยพบว่ามีหุ้นที่ปรับตัวขึ้นเกินมูลค่าพื้นฐาน ได้แก่ JMT([email protected]) SINGER([email protected]) SAWAD ([email protected]) และ THANI ([email protected])

ทั้งนี้ หากจำแนกรายธุรกิจ พบว่ายังมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญแตกต่างกัน เริ่มจาก SINGER มีปัจจัยกดดันจาก NPL ที่เพิ่มสูงขึ้นจากที่บริษัทมีธุรกิจที่พึ่งพิงผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก และการตั้งสำรองที่ยังไม่เพียงพอที่น่าจะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มใช้ TFRS9 ในงวดไตรมาส 1/63 ตามมาด้วย THANI ที่อยู่ในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกที่แม้ได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง แต่ยังมีแรงกดดันจากงบประมาณที่เบิกจ่ายล่าช้า และสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งกดดันต่อการเติบโตของสินเชื่อในปี 2563

ส่วน JMT ที่แม้อยู่หุ้นในกลุ่มบริหารหนี้ที่มีความโดดเด่นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่คาดว่าจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยมากนัก ขณะที่ SAWAD แม้ได้รับประโยชน์จากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยอย่างเต็มที่ และคาดว่าจะมีการเติบโตของสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากภาวะที่ประชาชนมีความต้องการใช้เงิน แต่ยังเกินมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยให้ไว้

กลุ่มโรงไฟฟ้า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้นักลงทุนย้ายเงินไปลงทุนให้หุ้นที่มีรายได้มั่นคงผันผวนต่ำ อย่างกลุ่มโรงไฟฟ้าเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2563 ราคาหุ้นปัจจุบันในกลุ่มโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างเต็มมูลค่า หรือมี upside จำกัด อีกทั้ง ณ ราคาหุ้นปัจจุบันมี Dividend Yield ลดลงอย่างมีนัยฯ เหลือเฉลี่ยต่ำกว่า 3% ต่อปี จากในอดีตที่สูงกว่า 5% ต่อปี ดังนั้นจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าบางตัวที่ Valuation ค่อนข้างเต็มมูลค่าพื้นฐาน ทั้ง GULF และ BGRIM ให้รอราคาหุ้นปรับฐานแล้วค่อยเข้าลงทุนจะปลอดภัยกว่า

กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประเด็นไวรัสโคโรนากดดันให้คนงานกลับมาทำงานน้อยอยู่

โดย เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 63 HANA แจ้ง SET ว่าปัจจุบันโรงงานเจียซิง ที่ประเทศจีน (18% ของรายได้รวม) ได้กลับมาดำเนินการผลิตแล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 63 (หลังจากหยุดไปราว 2 สัปดาห์ แบ่งเป็นหยุดตรุษจีนตามปกติราว 1 สัปดาห์ และรัฐบาลจีนสั่งให้หยุดโรงงาน 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันละควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรน่า)

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้ออกกฎระเบียบว่าพนักงานที่อยู่ที่จังหวัดอื่นนอกเมืองที่โรงงานตั้งอยู่ (เจียซิง) หากจะกลับมาทำงานที่โรงงานเจียซิงของ HANA ได้จะต้องถูกกักบริเวณเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งปัจจุบันพนักงานที่อยู่ต่างจังหวัดยังกลับมาได้ไม่ถึง 10% เพราะมีปัญหาด้านการเดินทาง ทำให้ HANA ประเมินว่าในระหว่าง 2 สัปดาห์นี้ (10-24 ก.พ. 63) โรงงานเจียซิงจะดำเนินการผลิตได้ไม่เกิน 30% ของกำลังการผลิตของโรงงานเจียซิง และคาดว่าโรงงานเจียซิงจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิตได้ในสัปดาห์ต่อๆไป ซึ่ง HANA คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 4-5 สัปดาห์กว่าจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้เป็นปกติ หรือราวกลางเดือนมี.ค. 63 เป็นต้นไป โดยในเบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้รวมของ HANA ในปี 2563 ราว 2-3% จากปัจจุบัน

ทั้งนี้ประเมินว่าโรงงานผลิตวัตถุดิบชิ้นส่วนฯ และโรงงานประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในจีน จะได้รับผลกระทบคล้ายกับโรงงานเจียซิงของ HANA ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯ ไทยด้วย แบ่งได้ดังนี้

1) ด้านการจัดหาวัตถุดิบ จะทำให้ผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยสั่งซื้อวัตถุดิบจากจีนได้ลดลง แต่ผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯ ไทยก็จะเร่งหาซื้อวัตถุดิบชิ้นส่วนฯ จากประเทศอื่นแทน

2) ด้านการส่งมอบสินค้า จะส่งผลกระทบให้ลูกค้าในจีนรับมอบสินค้าจากผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯไทยลดลง เพราะไม่สามารถดำเนินการผลิตในโรงงานของตัวเองได้เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้รวมงวดครึ่งปีแรกของปี 63 ของกลุ่มชิ้นส่วนฯไทย ถือเป็น downside ต่อประมาณการกำไรกลุ่มชิ้นส่วนฯ ในปี 2563 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯ ไทยมีเพียง HANA ที่มีโรงงานอยู่ที่จีน โดยผู้ประกอบการชิ้นส่วนฯ ไทยมีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีน ดังนี้ HANA 18% DELTA 14% KCE 10% และ SVI 5%

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ปรับพอร์ตตามพอร์ตจำลองของเอเซียพลัสหรือนักลงทุนสามารถใช้เป็นแนวทางในการลงทุนลงได้ โดยในปี 2563 นี้ พอร์ตจำลองฝ่ายวิจัยฯ ทำผลตอบแทนได้ 7.09% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ชนะกองทุนวมหุ้นทั้งประเทศ) ขณะที่ SET Index -2.53% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน

โดยลักษณะหุ้นลงทุนในพอร์ตเป็นสัดส่วนหุ้นปันผล 55% (MCS, PYLON, KKP, PTTEP) หุ้นผันผวนต่ำ 25% (EASTW, POPF ROBINSรอแปลงเป็น CRC) และหุ้นเติบโต 20% (TU WHA) หวังว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่ดีตามสมควร

 

 

Back to top button