ได้เวลาทบทวน Minsky Moment

คงต้องพูดเตือนย้ำกันไว้ว่า การขึ้นของหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และอาจจะรวมถึงวานนี้ในบางตลาดหุ้น เป็นแค่ปรากฏการณ์เฉพาะหน้า ที่เกิดจากการรีบาวด์ทางเทคนิค และการทำวินโดว์เดรสซิ่งในท้ายไตรมาสตามปกติของนักลงทุนสถาบัน แต่ยิ่งเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ยิ่งตอกย้ำว่า เศรษฐกิจและตลาดทุนใหญ่ของโลกกำลังย่างเข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกกันว่า Minsky Moment ระยะที่สี่ระยะสุดท้าย อันสุดแสนอันตรายยิ่ง


พลวัตปี 2020 : วิษณุ โชลิตกุล

คงต้องพูดเตือนย้ำกันไว้ว่า การขึ้นของหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา และอาจจะรวมถึงวานนี้ในบางตลาดหุ้น เป็นแค่ปรากฏการณ์เฉพาะหน้า ที่เกิดจากการรีบาวด์ทางเทคนิค และการทำวินโดว์เดรสซิ่งในท้ายไตรมาสตามปกติของนักลงทุนสถาบัน แต่ยิ่งเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ยิ่งตอกย้ำว่า เศรษฐกิจและตลาดทุนใหญ่ของโลกกำลังย่างเข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกกันว่า Minsky Moment ระยะที่สี่ระยะสุดท้าย อันสุดแสนอันตรายยิ่ง

เหตุผลเพราะหากช่วงเวลานี้ผ่านไป จะย่างเข้าสู่ช่วงเวลาที่ห้าซึ่งหมายถึงหายนะเพราะจะเกิดแพนิกที่รุนแรง

ความรุนแรงดังกล่าว มีคนคาดหมายว่าน่าจะรุนแรงกว่ายุค ที่เรียกว่า The Great Depression ในช่วงค.ศ.1929-1935

ภาวะที่ดัชนีและราคาหุ้นโดยเฉพาะดาวโจนส์ เหวี่ยงรุนแรงแบบสลับฟันปลาในแต่ละวัน คือความผิดปกติของสภาวะตลาดที่เข้าสู่ช่วงที่ไฮแมน มินสกี้เรียกว่า profit taking

มินสกี้ นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน เคยเป็นกรรมการธนาคารและเข้าใจกลไก การทํางานของธนาคารมากกว่านักเศรษฐศาสตร์ในห้องแอร์หรือในมหาวิทยาลัย ได้สร้างแบบจำลอง หรือโมเดลของเขาหรือที่เรียกว่า Minsky’s Model เกี่ยวพันกับเรื่องวงจรของเงินกู้หรือตลาดตราสารหนี้ ที่มีความสำคัญในฐานะแกนหลักของระบบทุนนิยมสมัยใหม่โดยในพื้นฐานประกอบด้วย ขั้นตอน หมุนเวียนเป็นวงจร ประกอบด้วย

– ขั้นแรกเรียกว่า Displacement เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนเกิดตื่นเต้นครั้งใหญ่กับบางสิ่งใหม่ เช่น นวัตกรรมใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต หรือสงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงของ นโยบายรัฐบาลจากเดิมอย่างแจ้งชัด ฯลฯ

– ขั้นตอนที่สองคือ Boom นักลงทุนกู้ยืมมาลงทุนกันครั้งใหญ่เพื่อหวังผลตอบแทนสูง

– ขั้นตอนที่สามคือ Euphoria นักลงทุนเกิด ความรู้สึกหลงระเริงในสภาพตลาดกระทิง นายธนาคารให้กู้ยืมไปทั่ว แม้แต่คนที่ไม่สมควรได้กู้ สร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่ขึ้นมาเพื่อเพิ่ม สินเชื่อ (เช่น ตราสารหนี้แบบใหม่ที่มีการให้กู้ยืมซับซ้อนหลักทรัพย์เดิม securitization หรือการใช้รายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาเป็นหลักทรัพย์กู้ยืมได้) เกิดการเก็งกำไรครั้งใหญ่ขึ้น

-ขั้นตอนที่สี่คือ Profit taking หรือการหากำไรบนฟองสบู่ที่ไม่อิงพื้นฐานของกิจการ

– ขั้นตอนที่ห้าคือ Panic หรือการขายอย่างตื่นตระหนก จากข่าวร้ายที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดความไม่แน่นอน เช่น ตราสารหนี้มีค่าลดลง กองทุนเงินกู้ ไม่มีเงินจ่าย ตราสารหนี้มีค่าใกล้สูญ ธุรกิจที่ซื้อตราสารหนี้หรือตราสารการเงิน ซึ่งแขวนไว้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งก็ล้ม อำนาจซื้อของประชาชนหายไป คนว่างงาน ฯลฯ

ถ้ามองจากมุมของมินสกี้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา คือช่วงรอยต่อของขั้นตอนที่สี่และห้าพอดี

การที่ดัชนีตลาดหุ้นฉวยโอกาสเกือบทั่วโลกพุ่งขึ้นทันควัน และรัฐบาลชาติใหญ่ก็ช่วงชิงจังหวะเช่น เพียงแค่ 1 วันหลังจากรัฐสภาสหรัฐฯ อนุมัติเงินกู้พิเศษอัดฉีดธุรกิจต่ออายุ (ความจริงคือช่วยโบอิ้ง อิงค์ ที่ใกล้เจ๊ง) ก็ตามมาติดกันด้วยการที่รัฐสภายุโรปได้อนุมัติกองทุนฉุกเฉินวงเงิน 3.7 หมื่นล้านยูโร (4.05 หมื่นล้านดอลลาร์) รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือสายการบินยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งพูดง่าย ๆ คือช่วยเหลือแอร์บัสให้แข่งกับโบอิ้งได้นั่นเอง เป็นส่วนหนึ่งของภาพสะท้อนความเลวร้ายอันผิดปกติ ที่ตลาดตราสารหนี้โลกต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้

ธุรกิจในระบบทุนนิยมโลกนั้นเน้นการสร้างการเติบโตของสินทรัพย์ด้วยการก่อหนี้ โดยอาศัยตลาดทุนเก็งกำไรเป็นเครื่องมือ เมื่อใดก็ตามที่โอกาสของการก่อหนี้สะดุด ย่อมหมายถึงคุณภาพหนี้ และสินทรัพย์ที่เลวร้ายลงอย่างเลี่ยงไม่พ้น ไม่ว่าคำปลอบโยนแค่ไหนก็ไม่อาจปิดบังข้อเท็จจริงของความผิดปกติของตลาดได้

มาตรการอุ้มธุรกิจยุทธศาสตร์ของสองมหาอำนาจโลกต่อตลาดตราสารหนี้ ทั้งทางตรงผ่านมาตรการทางการคลังและทางอ้อมผ่านมาตรการทางการเงินที่เรียกว่า QE ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความผันผวนของตลาดเก็งกำไร เมื่อทุนเริ่มเคลื่อนย้ายไปตลาดสินทรัพย์ปลอดภัยคือทองคำอย่างรวดเร็ว สวนทางกับตัวเลขการว่างงานที่พุ่งพรวดสูงสุดเป็นประวัติการณ์

การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลังจากเฟด ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0% พร้อมออกมาตรการพิมพ์ธนบัตรไม่อั้นเพื่อช่วยรักษาสภาพคล่องให้ธุรกิจที่มีปัญหาผ่านตลาดตราสารหนี้และสินเชื่อ ส่งสัญญาณว่า การทำดอลลาร์แครี่เทรด (เก็งกำไรค่าเงินโดยขนดอลลาร์ไปหากำไรในสกุลเงินท้องถิ่นอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า) จะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง และอาจนำไปสู่สงครามค่าเงินได้

อ่านต่อฉบับหน้า

Back to top button