สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 พ.ค. 2563

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 15 พ.ค. 2563


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) หลังการซื้อขายที่ผันผวน โดยตลาดได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐในเดือนนี้ แต่ตลาดปรับตัวขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับความตีงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และตลาดยังถูกกดดันจากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาดด้วย

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,685.42 จุด เพิ่มขึ้น 60.08 จุด หรือ +0.25%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,863.70 จุด เพิ่มขึ้น 11.20 จุด หรือ +0.39% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 9,014.56 จุด เพิ่มขึ้น 70.84 จุด หรือ +0.79%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.)  โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ที่พุ่งขึ้น หลังจากจีนเปิดเผยข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเกินคาด 3.9% ในเดือนเม.ย. แต่ตลาดปรับตัวลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นี้นับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. ขณะที่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐ-จีนได้เพิ่มความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงนานกว่าที่วิตกกัน

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.47% ปิดที่ 328.24 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 10,465.17 จุด เพิ่มขึ้น 128.15 จุด, +1.24%, ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,277.63 จุด เพิ่มขึ้น 4.50 จุด, +0.11% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,799.77 จุด เพิ่มขึ้น 58.23 จุด, +1.01%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่จีนเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตพุ่งขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งได้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ แต่ตลาดปรับตัวลงในรอบสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,799.77 จุด เพิ่มขึ้น 58.23 จุด หรือ +1.01%

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการที่บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา, การผลิตที่ลดลงในสหรัฐ และการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้นหลังหลายประเทศทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 1.87 ดอลลาร์ หรือ 6.8% ปิดที่ 29.43 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. และปรับตัวขึ้น 19% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.37 ดอลลาร์ หรือ 4.4% ปิดที่ 32.50 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวขึ้น 4.9% ในรอบสัปดาห์นี้

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะที่เป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 15.4 ดอลลาร์ หรือ 0.88% ปิดที่ 1,756.3 ดอลลาร์/ออนซ์ และในรอบสัปดาห์นี้ สัญญาทองคำ ปรับตัวขึ้น 2.5%

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 91.4 เซนต์ หรือ 5.66% ปิดที่ 17.07 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 42.1 ดอลลาร์ หรือ 5.43% ปิดที่ 817.1 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 59.70 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 1,857.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายดอลลาร์ หลังรัฐบาลสหรัฐเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกทรุดตัวลงอย่างหนักในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.07% สู่ระดับ 100.4103 เมื่อคืนนี้

ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9722 ฟรังก์ จากระดับ 0.9744 ฟรังก์ แต่หากเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 107.30 เยน จากระดับ 107.23 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.4108 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.4073 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0813 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0782 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าแตะที่ระดับ 1.2118 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2193 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.6417 ดอลลาร์ จากระดับ 0.6430 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button